ข่าวสารเพื่อสมาชิก อ., 25 มี.ค. 68

สมาคมการค้ายาสูบไทย การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2568

เรื่อง ขอเชิญประชุมใหญ่สามัญประจำปี เรียน สมาชิกสมาคมการค้ายาสูบไทยทุกท่าน ตามข้อบังคับที่ 27 และ 28 หมวด 7 ของสมาคมการค้ายาสูบไทย กำหนดให้มีการประชุมใหญ่สำหรับสมาชิกทุกระยะเวลา 12 เดือน ซึ่งเรียกว่า “การประชุมใหญ่สามัญประจำปี” นั้น สมาคมการค้ายาสูบไทยจึงขอเรียนเชิญสมาชิกทุกท่านเข้าร่วมการประชุมใหญ่สามัญประจำปีในวันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2568 ตั้งแต่เวลา 11:00 – 12:00 น. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่สมาชิก สมาคมฯ จะจัดการประชุมในรูปแบบออนไลน์ผ่านทาง Zoom โดยท่านสามารถดาวน์โหลดรายละเอียดต่าง ๆ ได้ที่ เอกสารการประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือสแกนผ่านคิวอาร์โค้ดที่แนบมาพร้อมกันนี้   จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และขอความกรุณาท่านเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน จะเป็นพระคุณยิ่ง

ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อน ศ., 14 มี.ค. 68

ร่วมต้านบุหรี่เถื่อน! กรมสรรพสามิตรับหนังสือแจ้งเบาะแสบุหรี่ผิดกฎหมายจากสมาคมการค้ายาสูบไทย

สมาคมการค้ายาสูบไทย ทำหนังสือถึงกรมสรรพสามิจต เพื่อส่งมอบเอกสารหลักฐานการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการจำหน่ายบุหรี่ผิดกฎหมายที่ได้รับผ่านทางเว็บไซต์ของสมาคมฯ ในเดือนมกราคม 2568 จำนวน  35 รายงาน ซึ่งทุกๆ การรายงานเบาะแสเข้ามาจะไม่มีการเปิดเผยตัวตนผู้เจ้งเบาะแส ขอให้สมาชิกวางใจ ร่วมกันส่งเบาะแสมาได้เสมอ สมาคมฯ จะดำเนินการสรุปและส่งข้อมูลให้กรมสรรพสามิต รวมถึงหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นๆ เป็นประจำทุกเดือน บุหรี่เถื่อนส่งผลกระทบโดยตรงต่อร้านค้าปลีกที่จำหน่ายบุหรี่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้สูญเสียรายได้ อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเข้าถึงของเยาวชน และส่งผลต่อรายได้จากภาษีของรัฐที่ใช้พัฒนาประเทศ ทางสมาคมการค้ายาสูบไทยจึงเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินมาตรการเข้มงวดเพื่อปราบปรามปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง และพร้อมให้ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการเพื่อปราบปรามบุหรี่เถื่อน และบรรเทาความเดือดร้อนของร้านค้ายาสูบที่ถูกกฎหมาย   หากร้านค้าหรือประชาชนท่านใดทราบเบาะแส หรือ พบเห็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับบุหรี่เถื่อน สามารถแจ้งได้ที่กรมสรรพสามิต หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศหรือสายด่วน 1713 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ อีเมล์ excise_hotline@excise.go.th หรือ ช่องทางออนไลน์ของสมาคมการค้ายาสูบไทย https://ttta.or.th/report-form

ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อน จ., 10 มี.ค. 68

เสียงสะท้อนจากโซเชียล ร้านค้าโชห่วยโอดของขายยากเพราะบุหรี่เถื่อนทะลัก

เพจโชห่วยเผยปัญหาบุหรี่เถื่อนระบาดหนักตลอดปี 2567 ทำยอดขายบุหรี่และสินค้าอื่นๆ ของร้านค้าบุหรี่ถูกกฎหมายทั่วไทย โดยเฉพาะร้านค้าขนาดเล็กและโชห่วยรายย่อย ลดฮวบ เนื่องจากผู้บริโภคหันไปซื้อบุหรี่เถื่อนจากร้านค้าออนไลน์ และร้านขายบุหรี่ผิดกฎหมายในท้องถิ่นที่มีราคาถูกกว่า สมาคมการค้ายาสูบไทยย้ำไม่ทอดทิ้งผู้ประกอบการรายย่อย วอนภาครัฐจัดการปัญหาบุหรี่เถื่อนเป็นวาระแห่งชาติ สมาคมการค้ายาสูบไทย สำรวจความคิดเห็นร้านค้าบุหรี่ถูกกฎหมายบนกลุ่มร้านค้า “รวมพลคนโชห่วย-ร้านของชำ” บน Facebook ที่มีสมาชิกกว่า 1.9 แสนคน เกี่ยวกับสถานการณ์บุหรี่เถื่อนพบว่าร้านค้าโชห่วยจำนวนมากแสดงความเห็นตรงกันว่าปัจจุบันบุหรี่ถูกกฎหมายขายได้ลดลงมาก เนื่องจากปัญหาการทะลักของบุหรี่หนีภาษีตลอดทั้งปีที่ผ่านมา และในท้องถิ่นต่างๆ ผู้บริโภคต่างทราบดีว่าสามารถหาซื้อได้จากที่ไหน จึงหันไปซื้อบุหรี่เถื่อนเพราะมีราคาถูกกว่าเป็นเท่าตัว และยังสามารถซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบาย ซ้ำร้าย ร้านค้าถูกกฎหมายบางร้านยังถูกร้านบุหรี่เถื่อนซัดทอดให้ถูกตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่รัฐด้วย เจ้าของบัญชีเฟซบุ๊กรายหนึ่ง แสดงความเห็นว่า “ตอนนี้ขายไม่ดีเหมือนกัน มีบุหรี่เถื่อนเข้ามาเยอะแยะวันนี้ก็มีลูกค้าเพิ่งซื้อเข้ามาก็เลยถามเขาซื้อมาเป็นคอตตอนเลย เขาบอก 280 ตกซองละ 28 บาทเองเราเลยแทบจะไม่ได้ขายเพราะเขาซื้อบุหรี่เถื่อนกันเยอะ” สอดคล้องกับร้านค้าอีกราย ที่ตั้งข้อสังเกตว่า “ตั้งแต่ครั้งปรับราคา บุหรี่เถื่อนก็ทะลักค่ะ แถวบ้านบอกปากต่อปากกัน (ได้ยินลูกค้าคุยกันหน้าร้าน) ราคาต่อซองยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของบุหรี่ที่เราขายด้วยซ้ำ เคยไปแจ้งความเด็กขโมยของ ส่องเฟสยังโพสขายเป็นคอตตอนบอกตำรวจก็ไม่รู้ว่าเขาดำเนินการอย่างไรมั้ยนะคะ” ด้านนางสาวธัญญศรัณ แสงทอง ผู้อำนวยการบริหารสมาคมการค้ายาสูบไทย แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า “สมาคมฯ เห็นใจผู้ประกอบการร้านค้าที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาบุหรี่เถื่อน เนื่องจากส่งผลกระทบต่ออาชีพการค้าขาย หลายคนตั้งคำถามถึงการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานภาครัฐในการปราบปรามบุหรี่เถื่อน เพราะร้านค้าไม่ทราบว่าผู้ขายบุหรี่เถื่อนมีโทษอย่างไร พวกเขาไม่เคยเห็นการดำเนินคดีอย่างเป็นรูปธรรมกับผู้กระทำผิดเหล่านี้ ตลอดปี 2567 สมาคมฯ ได้ประสานความร่วมมือไปยังทุกส่วนราชการแล้ว แต่ปัญหาก็ยังไม่ลดความรุนแรง “สมาคมฯ จึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายมีความชัดเจนในการปราบปรามและสืบสวนสอบสวน หาตัวผู้ผู้บงการ ผู้มีอิทธิพลรายใหญ่ที่อยู่เบื้องหลังขบวนการลักลอบนำเข้าและขายบุหรี่เถื่อนอย่างต่อเนื่อง พร้อมยกระดับปัญหาเป็นวาระแห่งชาติเพราะทำลายคนตัวเล็กๆ อย่างร้านโชห่วย เป็นการบ่อนทำลายเศรษฐกิจชองชาติและยังเป็นปัญหาเศรษฐกิจใต้ดินที่รัฐบาลประกาศว่าจะจัดการด้วย” การสำรวจของอุตสาหกรรมพบว่าอัตราการบริโภคบุหรี่เถื่อนในไทยยังคงตัวที่ราว 25.5% เพราะแม้จะมีการปราบปรามต่อเนื่อง แต่ช่องโหว่ของกฎหมายก็ยังมีอยู่และเปิดช่องให้เกิดการลักลอบนำเข้าได้เรื่อยๆ จนเป็นที่น่าสงสัยว่ามีการใช้ช่องว่างการเป็นสินค้าผ่านแดนและสินค้าเข้าเขตปลอดอากรที่เข้ามาในประเทศไทยหรือไม่ และภาครัฐควรเร่งแก้กฎหมายอุดช่องว่างเหล่านี้ ขอบคุณที่มา บทความและภพประกอบ https://siamrath.co.th/

ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อน อ., 7 ม.ค. 68

บุหรี่เถื่อนเติบโต ทำร้ายร้านค้าบุหรี่ถูกกฎหมาย

การค้าบุหรี่ผิดกฎหมายในประเทศไทยยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ด้วยสาเหตุมากมาย เช่น ราคาบุหรี่ถูกกฎหมายที่สูงขึ้น การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เข้มงวด และการเข้าถึงบุหรี่เถื่อนที่ง่ายขึ้น โดยสามารถซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์พร้อมบริการจัดส่งถึงที่ ส่งผลให้สัดส่วนการบริโภคบุหรี่เถื่อนในต้นปี 2567 เพิ่มขึ้นเป็น 25% หรือเท่ากับทุก 4 ซองของการบริโภค จะมี 1 ซองเป็นบุหรี่เถื่อน ซึ่งการเพิ่มขึ้นนี้มากกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 ที่สัดส่วนการบริโภคบุหรี่เถื่อนอยู่ที่ประมาณ 10% บุหรี่เถื่อนเหล่านี้สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เนื่องจากบุหรี่เถื่อนมีราคาถูกกว่า ไม่มีภาพหรือข้อความเตือนถึงอันตรายต่อสุขภาพ และยังไม่สามารถตรวจสอบอายุของผู้ซื้อได้ ซึ่งเป็นเหตุให้มาตรการควบคุมการสูบบุหรี่ของรัฐไม่ได้ผล นอกขากนี้ ยังทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้จากภาษีสรรพสามิตและภาษีอื่นๆ ไปอีกกว่า 23,000 ล้านบาทต่อปี หากสามารถนำรายได้ภาษีที่สูญเสียไปนี้กลับเข้าสู่ประเทศได้ เราจะมีงบประมาณเพียงพอสำหรับการสร้างโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 800-1,000 เตียงได้ถึง 2 แห่ง หรือสามารถนำไปพัฒนาโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนได้อีกมากมาย ที่สำคัญกว่านั้น การขยายตัวของบุหรี่เถื่อนยังส่งผลโดยตรงต่อร้านค้าจำหน่ายบุหรี่ถูกกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 500,000 แห่งทั่วประเทศ เนื่องจากลูกค้าหันไปซื้อบุหรี่เถื่อน ทำให้ยอดขายบุหรี่ของร้านค้าลดลงกว่า 50% เมื่อยอดขายบุหรี่ลดลง ร้านค้าก็สูญเสียโอกาสขายสินค้าชนิดอื่นไปด้วย แม้รายได้จากการขายบุหรี่คิดเป็นประมาณ 20-30% ของรายได้รวมต่อวัน แต่เมื่อรวมกับรายได้อื่นๆ ที่ร้านค้าเสียโอกาสในการขายไป ก็ส่งผลให้ร้านค้ามีรายได้ลดลงเฉลี่ยนประมาณ 700-1,400 บาทต่อวัน รวมเป็นความเสียหายถึง 2,200 ล้านบาทต่อปี ผลกระทบทางตรงอีกประการที่ร้านค้าพบเจอเป็นประจำคือการที่ขบวนการค้าบุหรี่เถื่อนมักนำบุหรี่ปลอมมาหลอกขายให้ร้านค้ารับซื้อไว้ ซึ่งหากร้านค้าไม่สามารถตรวจสอบได้ ก็อาจซื้อบุหรี่ปลอมมาโดยไม่รู้ตัว ทำให้ต้องรับโทษทางกฎหมายและเสียเงินซื้อสินค้าที่ไม่สามารถขายได้ ช่องทางการแจ้งเบาะแสบุหรี่ผิดกฎหมายแจ้งเบาะแสผ่านสมาคมการค้ายาสูบไทย http://ttta.or.th/report-formสายด่วนกรมสรรพสามิต 1713 หรืออีเมล์ excise_hotline@excise.go.thWebsite แจ้งเบาะแส กรมสรรพสามิต แจ้งเบาะแส กรมสรรพสามิตศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย สายด่วนโทร 1567 

ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อน อ., 7 ม.ค. 68

รู้ได้ไง บุหรี่ซองไหนเป็นบุหรี่ผิดกฎหมายและบุหรี่ปลอม

บุหรี่ไม่เสียภาษี (Untaxed Cigarette) คือบุหรี่ที่ถูกลักลอบนำเข้าเพื่อจำหน่ายในประเทศไทย ถือเป็นสินค้าที่ผิดกฎหมาย เพราะไม่ได้มีการชำระภาษีอากรตามที่กฎหมายไทยกำหนด บุหรี่ไม่เสียภาษี (untaxed cigarette) ที่พบมากในประเทศไทย สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ บุหรี่เถื่อน (Illicit Whites) คือ บุหรี่ที่ถูกลักลอบนำเข้ามาขายในประเทศโดยไม่ผ่านการชำระภาษีศุลกากรหรือภาษีสรรพสามิตตามกฎหมายของประเทศไทย บุหรี่เหล่านี้อาจจะเป็นสินค้าจริงที่ถูกผลิตจากต่างประเทศ เพื่อใช้บริโภคในต่างประเทศ แต่ถูกลักลอบนำเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่เสียภาษี หรืออาจจะเป็นบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานที่ไม่ได้มาตรฐาน ปัจจุบัน คิดเป็นสัดส่วนราว 24.8% ของการบริโภคบุหรี่ในประเทศทั้งหมด บุหรี่ปลอม (Counterfeit) คือ บุหรี่ที่ผลิตขึ้นโดยปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าและบรรจุภัณฑ์ให้ดูเหมือนแบรนด์ที่มีชื่อเสียง บุหรี่ปลอมพวกนี้ถูกผลิตขึ้นโดยไม่มีมาตรฐาน คิดเป็นสัดส่วนราว 0.8% ของการบริโภคบุหรี่ในประเทศทั้งหมด การจะแยกแยะว่าบุหรี่ซองใดเป็นบุหรี่ที่ถูกกฎหมายหรือบุหรี่ปลอมอาจเป็นเรื่องยาก ทำให้ร้านค้าอาจตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้าบุหรี่เถื่อนที่นำสินค้าไม่ถูกกฎหมายมาจำหน่าย ซึ่งนอกจากร้านค้าจะต้องเสียเงินจากการรับสินค้าผิดกฎหมายเอาไว้แต่ไม่สามารถจำหน่ายต่อได้แล้ว ยังมีความผิดตาม มีโทษจำคุก 1 เดือน หรือโทษปรับเป็นจำนวนเงิน 5 ถึง 15 เท่าของจำนวนภาษีสรรพสามิตที่ต้องชำระ หรือทั้งจำทั้งปรับ ร้านค้าสามารถหลีกเลี่ยงการทำผิดกฎหมายโดยปฏิบัติตามคำแนะนำง่ายๆ ดังต่อไปนี้ ไม่ซื้อบุหรี่จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น ผู้ขายที่ไม่ใช่ตัวแทนของบริษัท ร้านค้าออนไลน์ รถเร่ขายสินค้าเป็นครั้งคราว  ตั้งข้อสงสัยเมื่อ ผู้ขายเหล่านี้เสนอราคาพิเศษที่แตกต่างจากราคาในท้องตลาด และขอตรวจสอบบัตรพนักงานตรวจสอบการปลอมแปลงบุหรี่เบื้องต้นได้โดยการสแกน QR CODE จากแสตมป์บนซองบุหรี่เพื่อดูรายละเอียดสินค้าและข้อมูลการชำระภาษีว่าตรงกับสินค้าหรือไม่กรณีมีข้อมูลเกี่ยวกับการค้าบุหรี่ผิดกฎหมาย แจ้งหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ สายด่วนกรมสรรพสามิต 1713 ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย สายด่วนโทร 1567 หรือช่องทางการแจ้งเบาะแสของสมาคมการค้ายาสูบไทย http://ttta.or.th/report-form ช่องทางการแจ้งเบาะแสบุหรีผิดกฎหมายแจ้งเบาะแสผ่านสมาคมการค้ายาสูบไทย http://ttta.or.th/report-form

ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อน อ., 7 ม.ค. 68

ปฏิบัติการ ดับควันเมืองโนราห์ บุกทลายเครือข่ายบุหรี่เถื่อน กลางเมืองพัทลุง

เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง ปฏิบัติการ “ดับควันเมืองโนราห์ นำหมายค้นบุกทลายเครือข่ายบุหรี่เถื่อนกลางเมืองพัทลุง พร้อมกัน 7 จุดยึดของกลางจำนวนมาก เผยจังหวัดพัทลุงเป็นเครือข่ายค้าบุหรี่เถื่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้และยัง 1 ใน 3 อันดับแรกเมืองหลวงบุหรี่เถื่อนของประเทศไทย วันที่ 18 ธันวาคม 2567 ที่จังหวัดพัทลุงนายเรืองลักษณ์ เรืองยังมี ผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ นายอิสรา เจริญชาศรี ผู้อำนวยการกองอาสารักษาดินแดน และนายศักดิ์ชัย โรจน์รัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายพนักงานฝ่ายปกครอง นำกำลังเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน รวมกว่า 50 นาย ปูพรมเมืองพัทลุงบุกจับร้านขายบุหรี่เถื่อนและขบวนการลักลอบขนส่งบุหรี่เถื่อนทั้งหมด 7 จุด ได้แก่ เป็นร้านขายบุหรี่เถื่อน จำนวน 3 จุด โกดังเก็บบุหรี่เถื่อน จำนวน 4 จุดยึดของกลางเป็นบุหรี่หนีภาษียี่ห้อต่างทั้งของไทย และของต่างประเทศ จำนวน 400 ลัง สุรายี่ห้อต่างจำนวน 50 ลัง ไพ่ อีกจำนวนหนึ่ง นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่ยังสามารถจับกุมผู้ต้องหาที่อยู่ประจำร้ายจำหน่าย และเฝ้าโกดังได้อีก จำนวน 7 ราย พร้อมโพยรายการจ่ายเงินให้กับเจ้าหน้าที่หลายชุด สำหรับพฤติการณ์ของขบวนการขายบุหรี่เถื่อนดังกล่าว เป็นการเปิดหน้าร้านขายของชำบังหน้าและลักลอบขายบุหรี่เถื่อนให้กับลูกค้าซึ่งเป็นผู้บริโภคบุหรี่เถื่อนโดยตรง อีกทั้งยังทำการค้าส่งบุหรี่เถื่อนให้กับเครือข่ายร้านค้าในพื้นที่อีกจำนวนหลายแห่ง นอกจากนี้ยังมีการกระจายสินค้าบุหรี่เถื่อนไปยังลูกค้าทั่วประเทศ โดยขายผ่านช่องทางออนไลน์และส่งสินค้าผ่านทางบริษัทขนส่งเอกชน สำหรับการปฏิบัติการครั้งนี้เจ้าหน้าที่บอกว่า เริ่มต้นมาจาก กรมการปกครอง ได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวพัทลุง ว่ามีการลักลอบจำหน่ายและขนส่งบุหรี่เถื่อนเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน เพราะลูกหลานเข้าถึงบุหรี่เถื่อนได้โดยง่าย โดยจากการสืบสวนข้อมูลเชิงลึก พบว่าจังหวัดพัทลุงคือ 1 ใน 3 อันดับแรกของเมืองหลวงบุหรี่เถื่อนของประเทศไทย โดยข้อมูลสถิติชี้ว่า กว่า 75% หรือ 3 ใน 4 ซอง ของการบริโภคบุหรี่ในจังหวัดพัทลุง เป็นการบริโภคบุหรี่เถื่อน ซึ่งทำให้ท้องถิ่นในจังหวัดพัทลุงต้องสูญรายได้จากการจัดเก็บภาษีกว่าหลายสิบล้านบาทต่อปี จากแหล่งข่าว พบว่าผู้ค้าบุหรี่เถื่อนกลุ่มนี้ ลักลอบนำเข้าบุหรี่เถื่อนมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจากการตรวจสอบแล้วพบเป็นสินค้าที่แจ้งขนส่งไปยังประเทศที่สามโดยผ่านประเทศไทย แต่กลับถูกลักลอบขนถ่ายจากเรือขนส่งสินค้าแล้วนำสินค้ามาพักไว้ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง เพื่อกระจายไปยังพื้นที่อื่น ๆ นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าขบวนการดังกล่าวน่าจะมีผู้มีอิทธิพลในพื้นที่อยู่เบื้องหลัง เนื่องจากได้รับข้อมูลมาว่า เมื่อต้นปีมีการจับกุมกลุ่มผู้ลักลอบค้าบุหรี่เถื่อนรายใหญ่ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง แต่มีการแอบอ้างเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อไม่ให้ถูกดำเนินคดี และกลุ่มผู้ค้าเหล่านี้ยังคงกลับมาค้าขายได้ตามปกติ ซึ่งจากการสืบสวนของชุดจับกุมก็พบว่าขบวนการดังกล่าวมีการลักลอบขนถ่ายบุหรี่เถื่อนจากโกดังหลายแห่งไปยังร้านค้าต่างๆ ในช่วงกลางวันแสกๆ โดยไม่เกรงกลัวกฎหมายและสายตาเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด โอกาสนี้นายเรืองลักษณ์ เรืองยังมี ผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ ฝากถึงประชาชนผู้ที่คิดจะซื้อบุหรี่เถื่อนว่า บุหรี่ที่เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจยึดมาทั้งหมดนั้น เป็นบุหรี่ปลอมเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งบุหรี่ปลอมเป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งตัวผู้สูบเองและผู้คนรอบข้างเป็นอย่างมาก เพราะไม่รู้ว่ากระบวนการผลิตเป็นอย่างไรมีสารอื่นใดผสมเจือปนอยู่บ้างหรือไม่ ขอบคุณที่มา: https://www.naewna.com

ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อน จ., 30 ธ.ค. 67

ศรชล. ภาค 2 เปิดปฏิบัติการปราบปราม 'บุหรี่เถื่อน' แนะรัฐอุดช่องโหว่กฎหมาย

ศรชล. ภาค 2 เผยขบวนการบุหรี่เถื่อน พลิกกติกาฟอกดำเป็นขาว จับได้บิ๊กล็อต แต่ติดข้อกฎหมายเอาผิดไม่ได้เต็มที่ ทำรัฐสูญรายได้มหาศาล แนะรัฐบาลเร่งสังคายนาอุดช่องโหว่  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ศรชล.ภาค 2 ซึ่งรับผิดชอบดูแลพื้นที่อ่าวไทยตอนล่าง เปิดเผยสถานการณ์การลักลอบนำเข้าบุหรี่เถื่อนทางทะเลว่า บุหรี่เถื่อนเป็นสินค้าผิดกฎหมาย ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามประเภทหนึ่งตามกรอบภัยคุกคามทางทะเล 9 ด้าน ของ ศรชล. และเป็นหน้าที่ของ ศรชล. ภาค 2 อยู่แล้วในการป้องกันและปราบปรามทางทะเลโดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้เน้นการปราบปรามอย่างเข้มข้น ภายหลังขบวนการลักลอบนำเข้าบุหรี่เถื่อนได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบ จากอดีตเป็นการลำเลียงในลักษณะกองทัพมด ใช้เส้นทางธรรมชาติตามแนวชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน แต่ปัจจุบันได้ลุกลามมาตามแนวทะเลภาคใต้และขนกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการขนถ่ายทางทะเลแบบล็อตใหญ่ ผ่านเทคนิคการสำแดงว่าเป็นสินค้าที่กำลังส่งไปยังประเทศที่ 3 แต่กลับมีการขนย้ายใส่เรือประมงขนาดเล็กกลางทะเล เพื่อลักลอบนำกลับเข้ามาขายในประเทศไทย ส่งผลให้การแพร่ระบาดของบุหรี่ขยายเป็นวงกว้างขึ้น ทั้งนี้ สถิติการจับกุมเรือเมื่อเดือน ส.ค. ปี 2566 ศรชล. ภาค 2 ได้ตรวจพบบุหรี่ผิดกฎหมายล็อตใหญ่ จำนวน 1,000 ลัง รวม 10 ล้านมวน และเมื่อ ต.ค. ปี 2567 มีการจับกุมได้อีกจำนวน 528 ลัง หรือกว่า 5,280,000 มวน (ในใบสำแดง 1,050 ลัง หายไปจากใบสำแดง 522 ลัง) ซึ่งรูปแบบการลักลอบนำเข้าบุหรี่เถื่อนที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้การติดตามจับกุมทำได้ยากกว่าอดีต โดยทำในลักษณะสินค้าผ่านแดนจากประเทศต้นทางมาทางบก ก่อนขนลงเรือโดยผ่าน 2 ท่าเรือหลัก เพื่อไปยังประเทศปลายทาง ในระหว่างที่ขนส่งบนบกจะมีเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่สามารถเอาผิดได้ แต่หลังจากที่นำลงเรือและเรือแล่นออกไปแล้ว สินค้าจะไปถึงปลายทางหรือไม่ ไม่มีหน่วยงานไหนจะตรวจสอบได้ การจับกุมจึงยากขึ้น เพราะพื้นที่การตรวจสอบไม่ใช่เพียงแค่บริเวณท่าเรือ แต่เรือที่บรรทุกสินค้าออกไป สามารถขนสินค้าได้ตลอดชายฝั่ง สำหรับการจับบุหรี่เถื่อนล็อตใหญ่เมื่อปี 2566 ของ ศรชล. ภาค 2 นั้น เป็นเพราะเรือได้แล่นเข้าสู่ท่าเรือ จึงควบคุมเรือได้ทั้งลำ การจับกุมทางทะเลถือว่ายากกว่าทางบกค่อนข้างมาก เพราะการที่เรือแล่นอยู่ในทะเล หากผู้กระทำความผิดทราบเบาะแสว่า มีเรือของทหารเรือแล่นออกมาสามารถหลบหลีกได้ เนื่องจากเรือแล่นในทะเลเป็นไดนามิก เลยทำให้การขนถ่ายทำได้ง่าย และสามารถขนได้คราวละมากๆ ส่งผลให้อัตราการเติบโตของบุหรี่เถื่อนมีมากขึ้น แม้ว่าทางทหารเรือจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้จับกุม หรือใช้เครื่องมือที่มีในการตรวจจับ แต่อีกฝ่ายก็มีวิธีการที่จะหลบหลีกอยู่เสมอ ทั้งโดยการใช้เครื่องมือหรือวิธีการต่างๆ ขณะที่ประเด็นการติดตามเอาผิดกับกระบวนการลักลอบนำเข้าบุหรี่เถื่อนนั้น ก่อนที่จะมีการขนถ่ายบุหรี่เถื่อนทุกครั้ง ทางศรชล. ภาค 2 จะมีข้อมูลว่า เรือลำนี้มีสินค้าประเภทใดบ้างและต้องรู้วงรอบของการเดินเรือ ที่สำคัญต้องคำนวณความเร็วของเรือแต่ละลำที่จะแล่นไปยังประเทศที่ 3 แต่หากไม่สอดคล้องกับเวลาที่คำนวณ เบื้องต้นให้สันนิษฐานว่า เรือลำนี้กระทำความผิด มีการขนถ่ายสินค้าระหว่างทางแน่นอน ทั้งนี้ ยังต้องพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ ข้อมูลบริษัท ข้อมูลเจ้าของเรือว่ามีเรือในสังกัดกี่ลำ ตลอดจนธุรกิจเครือญาติ เพื่อประกอบการพิจารณาในการปฏิบัติภารกิจในแต่ละครั้ง ในส่วนของอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ คือ กฎหมายบางฉบับยังมีช่องโหว่ ทำให้ไม่สามารถเอาผิดได้ เช่น กรณีที่จับกุมบุหรี่เถื่อน 1,000 ลัง พร้อมรถที่กำลังจะขนย้ายบุหรี่ 8 คัน โดยมีการขนบุหรี่ขึ้นรถคันแรกแล้ว 30 ลัง ที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการยังไม่ได้ขนขึ้นรถ ปรากฏว่า บุหรี่ที่อยู่ในเรือทั้งหมดไม่สามารถเอาผิดได้ ในส่วนนี้ไม่ทราบเช่นกันว่า จะสามารถบังคับใช้กฎหมายได้อีกหรือไม่ อีกทั้งยังสามารถประกันเรือของกลางออกไปได้ด้วย ทำให้ผู้กระทำผิดอาจสามารถเอาเรือออกไปกระทำความผิดต่อได้ทั้งที่คดียังไม่สิ้นสุด ถือเป็นช่องว่างทางกฎหมาย ซึ่งหากมีการดำเนินคดีกับกรณีนี้ได้ จะมีโทษปรับถึงสี่พันกว่าล้านบาท ในอนาคตจึงอยากให้มีการแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง หรือเจตนาของผู้กระทำความผิด อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ผู้กระทำความผิดก็ทำทุกทาง เพื่ออาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย ทำให้สิ่งที่ผิดเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย ซึ่งศรชล. ภาค 2 เป็นหน่วยงานใหม่ การดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดรายใหญ่ต้องทำเอง แต่ยอมรับว่า ความชำนาญในการดำเนินการบนชั้นศาลยังไม่มีความชำนาญเท่ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ในส่วนของการประสานงานกับหน่วยงานอื่นในการจับกุมบุหรี่เถื่อนที่ผ่านมา ยังมีปัญหาเรื่องการจับกุมร่วม เพราะต่างคนต่างก็มีอำนาจของตัวเอง หากมี พ.ร.บ. หรือคำสั่งการใดๆ ที่กำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามบุหรี่ในพื้นที่ต้องให้ความร่วมมือตั้งแต่ต้นจนถึงขั้นการดำเนินคดีในชั้นศาล จะทำให้การปราบปรามมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะเดียวกันต้องการให้มีงบประมาณในด้านการข่าว เพื่อหาข้อมูลเชิงลึกด้วย หากมองว่าบุหรี่เถื่อนเป็นปัญหาระหว่างประเทศ เพราะเป็นการลักลอบนำสินค้าเข้ามาจากต่างประเทศ ในขณะที่ประเทศไทยเป็นเพียงประเทศทางผ่านไปยังประเทศปลายทาง ศรชล. ยืนยันว่า ได้มีการประสานความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งเคยทำหนังสือไปยังศูนย์ประสานงานชายแดนไทย-มาเลเซีย เคยประสานผ่านสำนักงานผู้ช่วยทูตที่อยู่ในประเทศปลายทาง เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าประเภทบุหรี่ ซึ่งได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากส่วนหนึ่ง ในปี 2568 ศรชล. ภาค 2 มีแนวทางในการป้องกันและปราบปรามบุหรี่เถื่อน โดยจะยังคงมุ่งเน้นไปในพื้นที่ที่ได้รับข่าวสารสำคัญเป็นพิเศษตามที่หน่วยข่าวได้แจ้งมา ก่อนออกเรือไปค้นหาและจับกุม และจะมีการเพิ่มวงรอบการออกเรือตรวจสอบที่มากขึ้น เพื่อเป็นการป้องปรามสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ ด้วย ซึ่งคาดว่าการปฏิบัติหน้าที่ของ ศรชล. ในภาพรวมจะมีประสิทธิภาพและมีผลงานเพิ่มขึ้นจากปี 2567 ขอบคุณภาพและที่มา https://www.thairath.co.th/ https://www.thansettakij.com/

ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อน พ., 11 ธ.ค. 67

สรรพสามิตเปิด "QR โค้ด” เช็คบุหรี่เถื่อน

นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง เปิดเผยว่า กรมสรรพสามิตได้เปิดตัวระบบคิวอาร์โค้ด “QR บุหรี่” ทำให้สามารถติดตามและแกะรอย (Track & Trace) ผลิตภัณฑ์ยาสูบว่าเป็นสินค้าที่ได้เสียภาษีถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งการนำระบบตรวจสอบติดตามและแกะรอย (Track & Trace) หรือ “QR บุหรี่” มาใช้นั้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี และยกระดับการดำเนินงานที่โปร่งใสสอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากล สำหรับ QR บุหรี่ ผู้ประกอบการในประเทศเริ่มใช้ได้เลย ส่วนผู้ประกอบการต่างประเทศให้ระยะเวลาปรับตัว 1 ปี และระยะต่อไปจะใช้ QR ในสุราส่วนเทคโนโลยีนี้จะเป็นการติดตามข้อมูลตั้งแต่ ณ สถานที่ผลิต ไปจนถึงผู้บริโภค และนำข้อมูลทั้งหมดมาสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อมูลการเสียภาษีและแหล่งที่มาของบุหรี่ว่าเป็นบุหรี่ที่ผ่านการตรวจวิเคราะห์โดยกรมสรรพสามิตแล้วหรือไม่ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเป็นบุหรี่ที่ได้มาตรฐานและไม่เป็นของปลอม ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภค  “แสตมป์สรรพสามิตในปัจจุบันนั้น มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อป้องกันการปลอมแปลงที่ทันสมัยใกล้เคียงกับการพิมพ์ธนบัตร และยังมี Unique QR code และ Unique Serial Number ที่มีรหัสไม่ซ้ำกันบนดวงแสตมป์ในแต่ละดวงแสตมป์เพื่อให้เจ้าหน้าที่และประชาชนตรวจสอบข้อมูลบนดวงแสตมป์นั้นได้ โดยในการตรวจสอบว่าเป็นสินค้าบุหรี่ซิกาแรตที่ชำระภาษีถูกต้องตามกฎหมาย ประชาชนทำได้โดยการนำโทรศัพท์มือถือสแกน QR Code บนดวงแสตมป์สรรพสามิต ซึ่งจะแสดงข้อมูลต่าง ๆ ปรากฎขึ้น อาทิ ตราสินค้า รายละเอียดสินค้า ชื่อผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้า วันที่ชำระภาษี สถานที่จัดส่ง และราคาสินค้า หากเช็คว่าข้อมูลเหล่านี้ ตรงตามกับสินค้าที่กำลังจะซื้อหรือไม่หากพบว่าข้อมูลของสินค้ากับข้อมูลที่ปรากฎไม่ตรงกัน ผู้ซื้อก็ควรหลีกเลี่ยงการซื้อ เพราะเป็นสินค้าที่ไม่ได้เสียภาษีสรรพสามิต” ช่องทางการแจ้งเบาะแสบุหรีผิดกฎหมาย 👉 แจ้งเบาะแสผ่านสมาคมการค้ายาสูบไทย http://ttta.or.th/report-form   ขอบคุณที่มา https://www.thairath.co.th/

ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อน พ., 11 ธ.ค. 67

ความร่วมมือจากพวกเราเป็นส่วนช่วยแก้ปัญหาบุหรี่เถื่อนได้

ปัญหาบุหรี่ผิดกฎหมายหรือบุหรี่เถื่อนในประเทศไทยไม่ใช่แค่เรื่องภายในประเทศเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่มีความเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและการค้าระหว่างประเทศ การกวดขันจับกุมในประเทศจึงไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากบุหรี่ผิดกฎหมายที่วางขายในประเทศไทย เช่น บุหรี่หนีภาษีและบุหรี่ปลอม ส่วนใหญ่ถูกลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศใกล้เคียง เช่น เวียดนามและมาเลเซีย บุหรี่เหล่านี้มักถูกนำเข้ามาทางเส้นทางชายแดนทางบกและทะเล รวมถึงการซุกซ่อนและสำแดงข้อมูลการนำเข้าเป็นเท็จ หรือแม้กระทั่งใช้วิธีการนำเข้าในรูปแบบสินค้าผ่านแดนเพื่อหลบเลี่ยงการตรวจสอบ ก่อนจะกระจายไปทั่วประเทศเพื่อจำหน่ายให้กับผู้สูบบุหรี่ ผ่านช่องทางออนไลน์ และร้านค้าบุหรี่ผิดกฎหมาย การแก้ไขปัญหานี้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระดับภูมิภาคและความร่วมมือระหว่างประเทศในหลายระดับ เช่น การสร้างข้อตกลงในการสกัดกั้นการส่งออกสินค้าบุหรี่ผิดกฎหมายจากประเทศต้นทาง และการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งผลิตและเส้นทางลักลอบนำเข้าเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบ ทางออกของการแก้ปัญหาบุหรี่เถื่อน จึงจำเป็นต้องจัดการกับประเทศต้นทาง ร่วมมือกับรัฐบาลที่เป็นต้นทางของบุหรี่เถื่อนเหล่านี้ สร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อเพื่อป้องกันและจำกัดการเคลื่อนย้ายสินค้าผิดกฎหมายตั้งแต่ต้นทาง ร่วมกับการเพิ่มความเข้มงวดในการจับกุมปราบปราม สกัดกั้นการกระจายสินค้า ทลายเครือข่ายลักลอบนำเข้า โกดังสินค้า และร้านค้าบุหรี่ผิดกฎหมายทั้งที่ขายออนไลน์และเปิดหน้าร้านขายสินค้า และที่สำคัญที่สุดคือการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ-เอกชน-ประชาชน ในการสะท้อนปัญหา แจ้งเบาะแส เพื่อสนับสนุนข้อมูลในการทำงานด้านการจับกุมปราบปรามให้กับเจ้าหน้าที่   ดังนั้น ความร่วมมือจากร้านค้าจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการต่อต้านการค้าบุหรี่เถื่อน หากพบเห็นหรือมีข้อมูลเกี่ยวกับการค้าบุหรี่ผิดกฎหมาย ท่านสามารถแจ้งข้อมูลได้ที่ 👉 ช่องทางการแจ้งเบาะแสของสมาคมการค้ายาสูบไทย http://ttta.or.th/report-form 👉 สายด่วนกรมสรรพสามิต 1713 หรืออีเมล์ excise_hotline@excise.go.th 👉 Website แจ้งเบาะแส กรมสรรพสามิต แจ้งเบาะแส กรมสรรพสามิต 👉 ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย สายด่วนโทร 1567   

ข่าวสารเพื่อสมาชิก อ., 13 ส.ค. 67

ถึงเวลาแล้วที่เราต้องช่วยกัน .... แจ้งเบาะแส “การซื้อขายบุหรี่ผิดกฎหมาย”

ปัญหาการลักลอบนำเข้าและจำหน่ายบุหรี่ผิดกฎหมาย ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังแก้ไม่ตก นอกจากรัฐบาลจะสูญเสียรายได้จากภาษีนำเข้าแล้ว ยังกระทบต่อรายได้ของร้านค้าปลีกที่ขายบุหรี่ถูกกฎหมาย  สมาคมการค้ายาสูบไทย (สคยท.) ได้เปิดช่องทางรับแจ้งเบาะแส “การซื้อขายบุหรี่ผิดกฎหมาย” ทั้งนี้ หากประชาชนท่านใดทราบเบาะแสหรือพบเห็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับ “การซื้อขายบุหรี่ผิดกฎหมาย” สามารถแจ้งเบาะแสผ่านช่องทางออนไลน์ที่ https://ttta.or.th/report-form ข้อมูลที่ประชาชนแจ้งเบาะแสเข้ามานั้น จะถูกนำไปประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขยายผล เพื่อนำไปสู่การจับกุมผู้กระทำความผิดในอนาคตต่อไป สำหรับช่องทางดังกล่าวถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทางสมาคมฯหวังว่าจะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของร้านค้าปลีกที่ขายบุหรี่ถูกกฎหมายลงได้ไม่มากก็น้อย 

ข่าวสารเพื่อสมาชิก อา., 16 มิ.ย. 67

ปิดสวิตซ์บุหรี่เถื่อน! อุตสาหกรรมยาสูบผนึกกำลังร้องนายกเศรษฐาเร่งปราบปราม เผยบุหรี่เถื่อนสูงถึง 25% ทำรัฐเสียหายกว่า 3 หมื่นล้านบาท

อุตสาหกรรมยาสูบผนึกกำลังร้องนายกรัฐมนตรีแก้ปัญหาบุหรี่เถื่อนโดยด่วน ชี้ตลาดตอนนี้เป็นบุหรี่เถื่อนไปแล้วกว่า 1 ใน 4 เดือดร้อนกันถ้วนหน้า ร้านค้า แรงงาน เกษตรกรทุกข์หนัก โอดต้องให้อดตายไร้หนทางทำกินก่อนหรือไม่รัฐบาลถึงจะรับรู้ปัญหา ขอใช้ 31 พฤษภาคมเป็นวันงดสูบบุหรี่เถื่อน เพื่อให้สังคมน่าอยู่และปลอดภัย สมาคมการค้ายาสูบไทย ร่วมกับภาคีเครือข่ายชาวไร่ยาสูบแห่งประเทศไทย และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจยาสูบ การยาสูบแห่งประเทศไทย จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “รวมพลังปราบปรามบุหรี่ผิดกฎหมาย: เศรษฐกิจมั่นคง สังคมปลอดภัย” ขึ้นในวันที่ 29 พฤษภาคม 2567 ยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลยกปัญหาบุหรี่เถื่อนเป็นวาระแห่งชาติ ประกาศแนวทางการปราบปรามและเพิ่มโทษให้รุนแรง เพราะกระทบความเป็นอยู่ชาวไร่ยาสูบมานานหลายปี ภายในงาน นายสุเทพ ทิมศิลป์ รักษาการประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจยาสูบได้เปิดเผยสถิติที่น่าตกใจจากการสำรวจการบริโภคบุหรี่ผิดกฎหมายล่าสุด ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2567 ที่แสดงว่าประเทศไทยมีสัดส่วนการบริโภคบุหรี่ผิดกฎหมายถึง 25.5% หรือ 1 ใน 4 ของตลาด สูงที่สุดเท่าที่เคยมีการสำรวจมา คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า 30,000 ล้านบาทต่อปี สมาคมการค้ายาสูบไทย โดย นางสาวธัญญศรัณ แสงทอง ผู้อำนวยการบริหาร ชี้บุหรี่เถื่อนจะลดได้หากปิดช่องโหว่ของกฎหมาย เรียกร้องให้รัฐกวดขันกับ 3 ช่องทางลักลอบนำเข้าหลัก ได้แก่ 1) ช่องทางธรรมชาติตามแนวชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน และส่งต่อไปยังโกดังรวมของจุดใหญ่ ๆ ตามภูมิภาคผ่านรถและพัสดุไปรษณีย์ 2) ทางทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ขนถ่ายจากเรือใหญ่สู่เรือประมงขนาดเล็ก มีต้นทางหลักคือเวียดนาม กัมพูชา และอินโดนีเซีย และ 3) ขนส่งผ่านเขตฟรีโซน เช่น แหลมฉบัง อาศัยช่องว่างทางกฎหมายศุลกากร โดยระบุปลายทางสินค้าเป็นประเทศที่ 3 เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ และนำกลับเข้ามากระจายในประเทศไทย หากจัดการได้จะเป็นการลดการทุจริตภายในประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในท่อน้ำเลี้ยงของการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติในภูมิภาคอาเซียนด้วย ด้านภาคีเครือข่ายชาวไร่ยาสูบแห่งประเทศไทย กล่าวว่า พวกตนเรียกร้องให้รัฐจัดการบุหรี่ผิดกฎหมายมานานหลายปี เพราะชาวไร่ยาสูบเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับความเดือดร้อนโดนตัดโควตาการปลูกจากการยาสูบฯ แม้ในปัจจุบันจะได้โควตาคืนมาบ้าง แต่ก็ไม่มีอะไรการันตีได้เลยว่าการยาสูบฯ จะสามารถรับซื้อใบยาและปรับราคาเพิ่มได้เหมือนในฤดูกาลปลูกนี้อีก เพราะธุรกิจบุหรี่ซึ่งเป็นธุรกิจหลักได้ถูกบุหรี่ผิดกฎหมายช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดไปแล้วถึง 1 ใน 4 คิดเป็นกว่า 8,000 – 9,000 ล้านมวน หากเปลี่ยนเป็นบุหรี่ถูกกฎหมายจะเทียบเท่ากับใบยา กว่า 6.4 – 7.2 ล้านกิโลกรัม หรือกว่าครึ่งของใบยาที่เราขายให้กับการยาสูบฯ ในปัจจุบัน  “พวกเราประกอบอาชีพทำยามากว่า 3 ชั่วอายุคน ยาสูบทำให้ครอบครัวมีรายได้ที่มั่นคงมาตลอด แต่ยุคนี้เรามองไม่เห็นว่าอนาคตในอีก 3 ปี 5 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เพราะไม่มีแนวทางแน่ชัดอะไรจากรัฐบาลในการปราบปรามบุหรี่เถื่อนที่เป็นปัญหาหลักของอุตสาหกรรมตอนนี้นอกเหนือจากการไล่จับร้านค้ารายย่อย แต่ไม่เคยสาวไปถึงต้นตอของขบวนการ ไม่เคยจับได้คาตู้คอนเทนเนอร์  พวกเราเชื่อว่าบุหรี่เถื่อนลดได้หากทุกฝ่ายร่วมมือกัน แต่ควรมีนโยบายที่ชัดเจนจากนายกรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติเพื่อทำให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายปราบปรามอย่างจริงจัง และเร่งประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นต้นทางอีกด้วย”

ข่าวสารเพื่อสมาชิก จ., 3 มิ.ย. 67

สมาคมการค้ายาสูบไทย ปลื้มมหาดไทยเอาจริงปราบบุหรี่เถื่อน เผยจังหวัดชายแดนใต้บุหรี่เถื่อนยังหนัก กระทบภาษีมหาดไทย

สมาคมการค้ายาสูบไทยขอบคุณหน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทยที่เป็นกำลังสำคัญในการปราบบุหรี่เถื่อนในภาคใต้ ทั้งการบุกทลายร้านขายบุหรี่เถื่อน 3 ร้านดังในเมืองหาดใหญ่ รวมถึงการร่วมจับบุหรี่เถื่อนที่อยู่ระหว่างการลักลอบนำเข้าทางทะเลกว่า 1,000 ลัง มูลค่ากว่า 31 ล้านบาทเมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พร้อมเรียกร้องให้ขยายผลการดำเนินคดีอย่างต่อเนื่องจากทุกหน่วยงานต่อไป นางสาวธัญญศรัณ แสงทอง ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมการค้ายาสูบไทย เปิดเผย สถานการณ์บุหรี่เถื่อนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงรุนแรง การจับกุมและยึดของกลางที่ปรากฏตามหน้าสื่อเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของจำนวนบุหรี่เถื่อนทั้งหมดในประเทศไทยเท่านั้น โดยเดือนกรกฎาคม 2566 ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิต พบคดีเกี่ยวกับยาสูบมากถึง 641 คดี ของกลาง 154,305 ซอง ปรับไปทั้งสิ้น 18.37 ล้านบาท และเข้าสู่เดือนสิงหาคมเพียงไม่กี่วันก็ยึดบุหรี่เถื่อนจากทะเลใต้ได้อีกกว่า 1,000 ลัง คิดเป็นค่าปรับกว่า 31 ล้านบาท มากกว่าเดือนกรกฎาคมทั้งเดือน หากดูข้อมูลย้อนหลังในปีงบประมาณ 64 – 65 ทั้งปี มีคดีการจับกุมเพิ่มขึ้นกว่า 32% และจำนวนซองที่จับกุมได้มีมากขึ้นถึง 460% จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่สัดส่วนการบริโภคบุหรี่เถื่อนของไทยในปัจจุบันจะหยุดอยู่แค่ 10.3% ซึ่งเป็นตัวเลขจากการสำรวจในปี 2564 ด้วยเหตุนี้ สมาคมฯ จึงพยายามเรียกร้องอย่างต่อเนื่อง ขอให้ภาครัฐโดยเฉพาะหน่วยงานที่สูญเสียรายได้โดยตรงจากการจัดเก็บภาษีของการค้าขายบุหรี่ถูกกฎหมาย จริงจังกับการปราบปรามบุหรี่หนีภาษีเพราะกระทบต่อรายได้ของร้านค้าโชห่วยจำนวนมาก และสมาคมฯ ขอเรียกร้องให้ขยายผลดำเนินคดีสืบสาวถึงต้นตอของขบวนการ ส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมาย  เพิ่มบทลงโทษ ปิดช่องโหว่การกระทำผิด ให้ความรู้แก่เยาวชน และพัฒนาระบบการเฝ้าระวังบุหรี่เถื่อนในพื้นที่ เพื่อลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่หลีกเลี่ยงภาษี มิเช่นนั้น จำนวนการดำเนินคดีที่เพิ่มขึ้นจะไม่สะท้อนถึงความสำเร็จและความพยายามของเจ้าหน้าที่รัฐแต่อย่างใด เพราะแนวโน้มการบริโภคบุหรี่เถื่อนในไทยไม่มีทีท่าว่าจะลดลงเลยในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา “ทราบกันดีว่าภาษีจากบุหรี่ถูกนำไปพัฒนาสังคมในด้านต่างๆ เช่น กีฬา สุขภาพ และสื่อมวลชน แต่น้อยคนจะรู้ว่ามีอีก 10% ที่ถูกนำส่งให้กระทรวงมหาดไทยเพื่อจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย จึงเป็นเรื่องน่าชื่นชมที่กระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญกับปัญหาบุหรี่เถื่อนเพราะกระทบรายได้ของกระทรวงมหาดไทยและท้องถิ่นโดยตรง เพราะหากปล่อยให้สถานการณ์บุหรี่เถื่อนทวีความรุนแรงขึ้นทุกวันเช่นนี้ย่อมส่งผลถึงการพัฒนาส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”

ข่าวเด่น จ., 3 มิ.ย. 67

ส.ค้ายาสูบไทยหนุนรัฐขึ้นบัญชีผู้ค้า หลังพบ “บุหรี่เถื่อน” เกลื่อนออนไลน์ เพิ่มขึ้น 181% จี้รัฐจัดการภัยออนไลน์ และขยายผลเครือข่ายทั่วประเทศ

สมาคมการค้ายาสูบไทย จี้หน่วยงานภาครัฐและแพลตฟอร์มออนไลน์ขึ้นบัญชีเฝ้าระวังการกระทำผิดกฎหมายทางสื่อออนไลน์อย่างเข้มงวด เชื่อเทคโนโลยีสาวถึงต้นทางได้ หลังผลสำรวจบุหรี่เถื่อนออนไลน์ พบการสนทนาซื้อ-ขายเติบโตถึง 181% ในช่วง 6 เดือน ปัจจัยหลักเน้นที่ราคาถูก รสชาติดี มีลูกเล่น และหาซื้อง่าย ชี้ปัจจุบันร้านบุหรี่เถื่อนออนไลน์ทั้ง เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ ยูทูป เว็บบอร์ด เว็บไซต์ และขยายไปขายบน “ติ๊กต็อก” ตามเทรนด์ชาวเน็ตไทย หวั่นกระทบร้านค้าปลีกถูกกฎหมาย เยาวชนเข้าถึงง่าย ชี้การขายบุหรี่เถื่อนออนไลน์ได้ไม่คุ้มเสีย นางสาวธัญญศรัณ แสงทอง ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมการค้ายาสูบไทย กล่าวว่า การขายบุหรี่เถื่อนบนช่องทางออนไลน์มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะบน “X (ทวิตเตอร์)” ที่ผู้ขายมีการลงโพสต์สินค้าเพื่อสั่งซื้อผ่านข้อความส่วนตัว (Direct Message) และไลน์ นอกจากนี้ ร้านค้าเหล่านี้ยังระบุว่าได้ขยายหน้าร้านไปบน “ติ๊กต็อก” ด้วย แม้ว่าพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 จะห้ามขายทางช่องทางออนไลน์อย่างชัดเจน มีโทษทั้งจำทั้งปรับ “สมาคมฯ สำรวจพบบทสนทนาเกี่ยวกับบุหรี่เถื่อนบนช่องทางออนไลน์ ในระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - เดือนธันวาคม 2566 พบมีบทสนทนาเพิ่มขึ้นกว่า 181% โดยช่องทางที่พูดถึงเรื่องบุหรี่เถื่อนมากที่สุด คือ X (ทวิตเตอร์) 93% เฟซบุ๊ก 5% และยูทูป 2 % ตามลำดับ คีย์เวิร์ดที่ถูกใช้มากที่สุด ได้แก่ ราคาถูก กลิ่นและรสชาติ ลูกเล่นของสินค้า นอกจากนี้เว็บไซต์ขายบุหรี่เถื่อนยังถูกค้นหาบน Google มากที่สุดจากจังหวัดสมุทรปราการ นครราชสีมา นนทบุรี ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร สอดคล้องกับผลสำรวจการบริโภคบุหรี่เถื่อนของอุตสาหกรรมยาสูบ ไตรมาส 4 ปี 2566 ที่ระบุว่ามีอัตราการบริโภคบุหรี่เถื่อนที่เติบโตมากกว่าเท่าตัวในกรุงเทพและปริมณฑล” สำหรับปัจจัยด้านราคานั้นยังคงพบว่าราคาขายถูกกว่าบุหรี่ถูกกฎหมายมากสะท้อนให้เห็นว่าหน้าร้านออนไลน์มีผลอย่างยิ่งกับการบริโภคบุหรี่เถื่อนของคนไทย ที่ปัจจุบันในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 เพิ่มขึ้นถึง 22.6% แล้ว ที่สำคัญการซื้อบุหรี่เถื่อนบนโลกออนไลน์ ทำให้เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ผู้ขายก็ไม่มีการตรวจสอบอายุผู้ซื้อก่อนขายให้ “สมาคมฯ ขอเป็นตัวแทนร้านค้าบุหรี่ถูกกฎหมายกว่า 500,000 ร้านทั่วประเทศไทย เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงดิจิทัลฯ สำรวจและขึ้นบัญชีร้านค้าออนไลน์ และเร่งบังคับใช้กฎหมายกับการขายบุหรี่เถื่อนทั้งที่มีหน้าร้านและร้านค้าออนไลน์อย่างเข้มงวด รวมถึงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่ต้องมีนโยบายปกป้องสังคมจากการขายสินค้าผิดกฎหมาย เพราะร้านค้าบุหรี่ถูกกฎหมาย ไม่ควรจะมาสูญเสียรายได้ให้กับเครือข่ายบุหรี่เถื่อนออนไลน์ที่เติบโตอย่างมากทั่วประเทศ หากปล่อยไว้เช่นนี้จะทำให้ไม่สามารถปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชน ไม่สามารถลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ได้ และสะท้อนปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งการทุจริตคอรัปชันอีกด้วย”

เรื่องเด่นประเด็นใหม่ ทั้งหมด
...
ร่วมต้านบุหรี่เถื่อน! กรมสรรพสามิตรับหนังสือแจ้งเบาะแสบุหรี่ผิดกฎหมายจากสมาคมการค้ายาสูบไทย
ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อน

สมาคมการค้ายาสูบไทย ทำหนังสือถึงกรมสรรพสามิจต เพื่อส่งมอบเอกสารหลักฐานการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการจำหน่ายบุหรี่ผิดกฎหมายที่ได้รับผ่านทางเว็บไซต์ของสมาคมฯ ในเดือนมกราคม 2568 จำนวน  35 รายงาน ซึ่งทุกๆ การรายงานเบาะแสเข้ามาจะไม่มีการเปิดเผยตัวตนผู้เจ้งเบาะแส ขอให้สมาชิกวางใจ ร่วมกันส่งเบาะแสมาได้เสมอ สมาคมฯ จะดำเนินการสรุปและส่งข้อมูลให้กรมสรรพสามิต รวมถึงหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นๆ เป็นประจำทุกเดือน บุหรี่เถื่อนส่งผลกระทบโดยตรงต่อร้านค้าปลีกที่จำหน่ายบุหรี่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้สูญเสียรายได้ อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเข้าถึงของเยาวชน และส่งผลต่อรายได้จากภาษีของรัฐที่ใช้พัฒนาประเทศ ทางสมาคมการค้ายาสูบไทยจึงเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินมาตรการเข้มงวดเพื่อปราบปรามปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง และพร้อมให้ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการเพื่อปราบปรามบุหรี่เถื่อน และบรรเทาความเดือดร้อนของร้านค้ายาสูบที่ถูกกฎหมาย   หากร้านค้าหรือประชาชนท่านใดทราบเบาะแส หรือ พบเห็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับบุหรี่เถื่อน สามารถแจ้งได้ที่กรมสรรพสามิต หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศหรือสายด่วน 1713 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ อีเมล์ excise_hotline@excise.go.th หรือ ช่องทางออนไลน์ของสมาคมการค้ายาสูบไทย https://ttta.or.th/report-form

อ่านต่อ
...
เสียงสะท้อนจากโซเชียล ร้านค้าโชห่วยโอดของขายยากเพราะบุหรี่เถื่อนทะลัก
ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อน

เพจโชห่วยเผยปัญหาบุหรี่เถื่อนระบาดหนักตลอดปี 2567 ทำยอดขายบุหรี่และสินค้าอื่นๆ ของร้านค้าบุหรี่ถูกกฎหมายทั่วไทย โดยเฉพาะร้านค้าขนาดเล็กและโชห่วยรายย่อย ลดฮวบ เนื่องจากผู้บริโภคหันไปซื้อบุหรี่เถื่อนจากร้านค้าออนไลน์ และร้านขายบุหรี่ผิดกฎหมายในท้องถิ่นที่มีราคาถูกกว่า สมาคมการค้ายาสูบไทยย้ำไม่ทอดทิ้งผู้ประกอบการรายย่อย วอนภาครัฐจัดการปัญหาบุหรี่เถื่อนเป็นวาระแห่งชาติ สมาคมการค้ายาสูบไทย สำรวจความคิดเห็นร้านค้าบุหรี่ถูกกฎหมายบนกลุ่มร้านค้า “รวมพลคนโชห่วย-ร้านของชำ” บน Facebook ที่มีสมาชิกกว่า 1.9 แสนคน เกี่ยวกับสถานการณ์บุหรี่เถื่อนพบว่าร้านค้าโชห่วยจำนวนมากแสดงความเห็นตรงกันว่าปัจจุบันบุหรี่ถูกกฎหมายขายได้ลดลงมาก เนื่องจากปัญหาการทะลักของบุหรี่หนีภาษีตลอดทั้งปีที่ผ่านมา และในท้องถิ่นต่างๆ ผู้บริโภคต่างทราบดีว่าสามารถหาซื้อได้จากที่ไหน จึงหันไปซื้อบุหรี่เถื่อนเพราะมีราคาถูกกว่าเป็นเท่าตัว และยังสามารถซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบาย ซ้ำร้าย ร้านค้าถูกกฎหมายบางร้านยังถูกร้านบุหรี่เถื่อนซัดทอดให้ถูกตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่รัฐด้วย เจ้าของบัญชีเฟซบุ๊กรายหนึ่ง แสดงความเห็นว่า “ตอนนี้ขายไม่ดีเหมือนกัน มีบุหรี่เถื่อนเข้ามาเยอะแยะวันนี้ก็มีลูกค้าเพิ่งซื้อเข้ามาก็เลยถามเขาซื้อมาเป็นคอตตอนเลย เขาบอก 280 ตกซองละ 28 บาทเองเราเลยแทบจะไม่ได้ขายเพราะเขาซื้อบุหรี่เถื่อนกันเยอะ” สอดคล้องกับร้านค้าอีกราย ที่ตั้งข้อสังเกตว่า “ตั้งแต่ครั้งปรับราคา บุหรี่เถื่อนก็ทะลักค่ะ แถวบ้านบอกปากต่อปากกัน (ได้ยินลูกค้าคุยกันหน้าร้าน) ราคาต่อซองยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของบุหรี่ที่เราขายด้วยซ้ำ เคยไปแจ้งความเด็กขโมยของ ส่องเฟสยังโพสขายเป็นคอตตอนบอกตำรวจก็ไม่รู้ว่าเขาดำเนินการอย่างไรมั้ยนะคะ” ด้านนางสาวธัญญศรัณ แสงทอง ผู้อำนวยการบริหารสมาคมการค้ายาสูบไทย แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า “สมาคมฯ เห็นใจผู้ประกอบการร้านค้าที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาบุหรี่เถื่อน เนื่องจากส่งผลกระทบต่ออาชีพการค้าขาย หลายคนตั้งคำถามถึงการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานภาครัฐในการปราบปรามบุหรี่เถื่อน เพราะร้านค้าไม่ทราบว่าผู้ขายบุหรี่เถื่อนมีโทษอย่างไร พวกเขาไม่เคยเห็นการดำเนินคดีอย่างเป็นรูปธรรมกับผู้กระทำผิดเหล่านี้ ตลอดปี 2567 สมาคมฯ ได้ประสานความร่วมมือไปยังทุกส่วนราชการแล้ว แต่ปัญหาก็ยังไม่ลดความรุนแรง “สมาคมฯ จึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายมีความชัดเจนในการปราบปรามและสืบสวนสอบสวน หาตัวผู้ผู้บงการ ผู้มีอิทธิพลรายใหญ่ที่อยู่เบื้องหลังขบวนการลักลอบนำเข้าและขายบุหรี่เถื่อนอย่างต่อเนื่อง พร้อมยกระดับปัญหาเป็นวาระแห่งชาติเพราะทำลายคนตัวเล็กๆ อย่างร้านโชห่วย เป็นการบ่อนทำลายเศรษฐกิจชองชาติและยังเป็นปัญหาเศรษฐกิจใต้ดินที่รัฐบาลประกาศว่าจะจัดการด้วย” การสำรวจของอุตสาหกรรมพบว่าอัตราการบริโภคบุหรี่เถื่อนในไทยยังคงตัวที่ราว 25.5% เพราะแม้จะมีการปราบปรามต่อเนื่อง แต่ช่องโหว่ของกฎหมายก็ยังมีอยู่และเปิดช่องให้เกิดการลักลอบนำเข้าได้เรื่อยๆ จนเป็นที่น่าสงสัยว่ามีการใช้ช่องว่างการเป็นสินค้าผ่านแดนและสินค้าเข้าเขตปลอดอากรที่เข้ามาในประเทศไทยหรือไม่ และภาครัฐควรเร่งแก้กฎหมายอุดช่องว่างเหล่านี้ ขอบคุณที่มา บทความและภพประกอบ https://siamrath.co.th/

อ่านต่อ
...
รู้ได้ไง บุหรี่ซองไหนเป็นบุหรี่ผิดกฎหมายและบุหรี่ปลอม
ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อน

บุหรี่ไม่เสียภาษี (Untaxed Cigarette) คือบุหรี่ที่ถูกลักลอบนำเข้าเพื่อจำหน่ายในประเทศไทย ถือเป็นสินค้าที่ผิดกฎหมาย เพราะไม่ได้มีการชำระภาษีอากรตามที่กฎหมายไทยกำหนด บุหรี่ไม่เสียภาษี (untaxed cigarette) ที่พบมากในประเทศไทย สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ บุหรี่เถื่อน (Illicit Whites) คือ บุหรี่ที่ถูกลักลอบนำเข้ามาขายในประเทศโดยไม่ผ่านการชำระภาษีศุลกากรหรือภาษีสรรพสามิตตามกฎหมายของประเทศไทย บุหรี่เหล่านี้อาจจะเป็นสินค้าจริงที่ถูกผลิตจากต่างประเทศ เพื่อใช้บริโภคในต่างประเทศ แต่ถูกลักลอบนำเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่เสียภาษี หรืออาจจะเป็นบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานที่ไม่ได้มาตรฐาน ปัจจุบัน คิดเป็นสัดส่วนราว 24.8% ของการบริโภคบุหรี่ในประเทศทั้งหมด บุหรี่ปลอม (Counterfeit) คือ บุหรี่ที่ผลิตขึ้นโดยปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าและบรรจุภัณฑ์ให้ดูเหมือนแบรนด์ที่มีชื่อเสียง บุหรี่ปลอมพวกนี้ถูกผลิตขึ้นโดยไม่มีมาตรฐาน คิดเป็นสัดส่วนราว 0.8% ของการบริโภคบุหรี่ในประเทศทั้งหมด การจะแยกแยะว่าบุหรี่ซองใดเป็นบุหรี่ที่ถูกกฎหมายหรือบุหรี่ปลอมอาจเป็นเรื่องยาก ทำให้ร้านค้าอาจตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้าบุหรี่เถื่อนที่นำสินค้าไม่ถูกกฎหมายมาจำหน่าย ซึ่งนอกจากร้านค้าจะต้องเสียเงินจากการรับสินค้าผิดกฎหมายเอาไว้แต่ไม่สามารถจำหน่ายต่อได้แล้ว ยังมีความผิดตาม มีโทษจำคุก 1 เดือน หรือโทษปรับเป็นจำนวนเงิน 5 ถึง 15 เท่าของจำนวนภาษีสรรพสามิตที่ต้องชำระ หรือทั้งจำทั้งปรับ ร้านค้าสามารถหลีกเลี่ยงการทำผิดกฎหมายโดยปฏิบัติตามคำแนะนำง่ายๆ ดังต่อไปนี้ ไม่ซื้อบุหรี่จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น ผู้ขายที่ไม่ใช่ตัวแทนของบริษัท ร้านค้าออนไลน์ รถเร่ขายสินค้าเป็นครั้งคราว  ตั้งข้อสงสัยเมื่อ ผู้ขายเหล่านี้เสนอราคาพิเศษที่แตกต่างจากราคาในท้องตลาด และขอตรวจสอบบัตรพนักงานตรวจสอบการปลอมแปลงบุหรี่เบื้องต้นได้โดยการสแกน QR CODE จากแสตมป์บนซองบุหรี่เพื่อดูรายละเอียดสินค้าและข้อมูลการชำระภาษีว่าตรงกับสินค้าหรือไม่กรณีมีข้อมูลเกี่ยวกับการค้าบุหรี่ผิดกฎหมาย แจ้งหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ สายด่วนกรมสรรพสามิต 1713 ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย สายด่วนโทร 1567 หรือช่องทางการแจ้งเบาะแสของสมาคมการค้ายาสูบไทย http://ttta.or.th/report-form ช่องทางการแจ้งเบาะแสบุหรีผิดกฎหมายแจ้งเบาะแสผ่านสมาคมการค้ายาสูบไทย http://ttta.or.th/report-form

อ่านต่อ
...
ปฏิบัติการ ดับควันเมืองโนราห์ บุกทลายเครือข่ายบุหรี่เถื่อน กลางเมืองพัทลุง
ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อน

เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง ปฏิบัติการ “ดับควันเมืองโนราห์ นำหมายค้นบุกทลายเครือข่ายบุหรี่เถื่อนกลางเมืองพัทลุง พร้อมกัน 7 จุดยึดของกลางจำนวนมาก เผยจังหวัดพัทลุงเป็นเครือข่ายค้าบุหรี่เถื่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้และยัง 1 ใน 3 อันดับแรกเมืองหลวงบุหรี่เถื่อนของประเทศไทย วันที่ 18 ธันวาคม 2567 ที่จังหวัดพัทลุงนายเรืองลักษณ์ เรืองยังมี ผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ นายอิสรา เจริญชาศรี ผู้อำนวยการกองอาสารักษาดินแดน และนายศักดิ์ชัย โรจน์รัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายพนักงานฝ่ายปกครอง นำกำลังเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน รวมกว่า 50 นาย ปูพรมเมืองพัทลุงบุกจับร้านขายบุหรี่เถื่อนและขบวนการลักลอบขนส่งบุหรี่เถื่อนทั้งหมด 7 จุด ได้แก่ เป็นร้านขายบุหรี่เถื่อน จำนวน 3 จุด โกดังเก็บบุหรี่เถื่อน จำนวน 4 จุดยึดของกลางเป็นบุหรี่หนีภาษียี่ห้อต่างทั้งของไทย และของต่างประเทศ จำนวน 400 ลัง สุรายี่ห้อต่างจำนวน 50 ลัง ไพ่ อีกจำนวนหนึ่ง นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่ยังสามารถจับกุมผู้ต้องหาที่อยู่ประจำร้ายจำหน่าย และเฝ้าโกดังได้อีก จำนวน 7 ราย พร้อมโพยรายการจ่ายเงินให้กับเจ้าหน้าที่หลายชุด สำหรับพฤติการณ์ของขบวนการขายบุหรี่เถื่อนดังกล่าว เป็นการเปิดหน้าร้านขายของชำบังหน้าและลักลอบขายบุหรี่เถื่อนให้กับลูกค้าซึ่งเป็นผู้บริโภคบุหรี่เถื่อนโดยตรง อีกทั้งยังทำการค้าส่งบุหรี่เถื่อนให้กับเครือข่ายร้านค้าในพื้นที่อีกจำนวนหลายแห่ง นอกจากนี้ยังมีการกระจายสินค้าบุหรี่เถื่อนไปยังลูกค้าทั่วประเทศ โดยขายผ่านช่องทางออนไลน์และส่งสินค้าผ่านทางบริษัทขนส่งเอกชน สำหรับการปฏิบัติการครั้งนี้เจ้าหน้าที่บอกว่า เริ่มต้นมาจาก กรมการปกครอง ได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวพัทลุง ว่ามีการลักลอบจำหน่ายและขนส่งบุหรี่เถื่อนเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน เพราะลูกหลานเข้าถึงบุหรี่เถื่อนได้โดยง่าย โดยจากการสืบสวนข้อมูลเชิงลึก พบว่าจังหวัดพัทลุงคือ 1 ใน 3 อันดับแรกของเมืองหลวงบุหรี่เถื่อนของประเทศไทย โดยข้อมูลสถิติชี้ว่า กว่า 75% หรือ 3 ใน 4 ซอง ของการบริโภคบุหรี่ในจังหวัดพัทลุง เป็นการบริโภคบุหรี่เถื่อน ซึ่งทำให้ท้องถิ่นในจังหวัดพัทลุงต้องสูญรายได้จากการจัดเก็บภาษีกว่าหลายสิบล้านบาทต่อปี จากแหล่งข่าว พบว่าผู้ค้าบุหรี่เถื่อนกลุ่มนี้ ลักลอบนำเข้าบุหรี่เถื่อนมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจากการตรวจสอบแล้วพบเป็นสินค้าที่แจ้งขนส่งไปยังประเทศที่สามโดยผ่านประเทศไทย แต่กลับถูกลักลอบขนถ่ายจากเรือขนส่งสินค้าแล้วนำสินค้ามาพักไว้ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง เพื่อกระจายไปยังพื้นที่อื่น ๆ นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าขบวนการดังกล่าวน่าจะมีผู้มีอิทธิพลในพื้นที่อยู่เบื้องหลัง เนื่องจากได้รับข้อมูลมาว่า เมื่อต้นปีมีการจับกุมกลุ่มผู้ลักลอบค้าบุหรี่เถื่อนรายใหญ่ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง แต่มีการแอบอ้างเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อไม่ให้ถูกดำเนินคดี และกลุ่มผู้ค้าเหล่านี้ยังคงกลับมาค้าขายได้ตามปกติ ซึ่งจากการสืบสวนของชุดจับกุมก็พบว่าขบวนการดังกล่าวมีการลักลอบขนถ่ายบุหรี่เถื่อนจากโกดังหลายแห่งไปยังร้านค้าต่างๆ ในช่วงกลางวันแสกๆ โดยไม่เกรงกลัวกฎหมายและสายตาเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด โอกาสนี้นายเรืองลักษณ์ เรืองยังมี ผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ ฝากถึงประชาชนผู้ที่คิดจะซื้อบุหรี่เถื่อนว่า บุหรี่ที่เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจยึดมาทั้งหมดนั้น เป็นบุหรี่ปลอมเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งบุหรี่ปลอมเป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งตัวผู้สูบเองและผู้คนรอบข้างเป็นอย่างมาก เพราะไม่รู้ว่ากระบวนการผลิตเป็นอย่างไรมีสารอื่นใดผสมเจือปนอยู่บ้างหรือไม่ ขอบคุณที่มา: https://www.naewna.com

อ่านต่อ
...
ศรชล. ภาค 2 เปิดปฏิบัติการปราบปราม 'บุหรี่เถื่อน' แนะรัฐอุดช่องโหว่กฎหมาย
ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อน

ศรชล. ภาค 2 เผยขบวนการบุหรี่เถื่อน พลิกกติกาฟอกดำเป็นขาว จับได้บิ๊กล็อต แต่ติดข้อกฎหมายเอาผิดไม่ได้เต็มที่ ทำรัฐสูญรายได้มหาศาล แนะรัฐบาลเร่งสังคายนาอุดช่องโหว่  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ศรชล.ภาค 2 ซึ่งรับผิดชอบดูแลพื้นที่อ่าวไทยตอนล่าง เปิดเผยสถานการณ์การลักลอบนำเข้าบุหรี่เถื่อนทางทะเลว่า บุหรี่เถื่อนเป็นสินค้าผิดกฎหมาย ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามประเภทหนึ่งตามกรอบภัยคุกคามทางทะเล 9 ด้าน ของ ศรชล. และเป็นหน้าที่ของ ศรชล. ภาค 2 อยู่แล้วในการป้องกันและปราบปรามทางทะเลโดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้เน้นการปราบปรามอย่างเข้มข้น ภายหลังขบวนการลักลอบนำเข้าบุหรี่เถื่อนได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบ จากอดีตเป็นการลำเลียงในลักษณะกองทัพมด ใช้เส้นทางธรรมชาติตามแนวชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน แต่ปัจจุบันได้ลุกลามมาตามแนวทะเลภาคใต้และขนกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการขนถ่ายทางทะเลแบบล็อตใหญ่ ผ่านเทคนิคการสำแดงว่าเป็นสินค้าที่กำลังส่งไปยังประเทศที่ 3 แต่กลับมีการขนย้ายใส่เรือประมงขนาดเล็กกลางทะเล เพื่อลักลอบนำกลับเข้ามาขายในประเทศไทย ส่งผลให้การแพร่ระบาดของบุหรี่ขยายเป็นวงกว้างขึ้น ทั้งนี้ สถิติการจับกุมเรือเมื่อเดือน ส.ค. ปี 2566 ศรชล. ภาค 2 ได้ตรวจพบบุหรี่ผิดกฎหมายล็อตใหญ่ จำนวน 1,000 ลัง รวม 10 ล้านมวน และเมื่อ ต.ค. ปี 2567 มีการจับกุมได้อีกจำนวน 528 ลัง หรือกว่า 5,280,000 มวน (ในใบสำแดง 1,050 ลัง หายไปจากใบสำแดง 522 ลัง) ซึ่งรูปแบบการลักลอบนำเข้าบุหรี่เถื่อนที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้การติดตามจับกุมทำได้ยากกว่าอดีต โดยทำในลักษณะสินค้าผ่านแดนจากประเทศต้นทางมาทางบก ก่อนขนลงเรือโดยผ่าน 2 ท่าเรือหลัก เพื่อไปยังประเทศปลายทาง ในระหว่างที่ขนส่งบนบกจะมีเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่สามารถเอาผิดได้ แต่หลังจากที่นำลงเรือและเรือแล่นออกไปแล้ว สินค้าจะไปถึงปลายทางหรือไม่ ไม่มีหน่วยงานไหนจะตรวจสอบได้ การจับกุมจึงยากขึ้น เพราะพื้นที่การตรวจสอบไม่ใช่เพียงแค่บริเวณท่าเรือ แต่เรือที่บรรทุกสินค้าออกไป สามารถขนสินค้าได้ตลอดชายฝั่ง สำหรับการจับบุหรี่เถื่อนล็อตใหญ่เมื่อปี 2566 ของ ศรชล. ภาค 2 นั้น เป็นเพราะเรือได้แล่นเข้าสู่ท่าเรือ จึงควบคุมเรือได้ทั้งลำ การจับกุมทางทะเลถือว่ายากกว่าทางบกค่อนข้างมาก เพราะการที่เรือแล่นอยู่ในทะเล หากผู้กระทำความผิดทราบเบาะแสว่า มีเรือของทหารเรือแล่นออกมาสามารถหลบหลีกได้ เนื่องจากเรือแล่นในทะเลเป็นไดนามิก เลยทำให้การขนถ่ายทำได้ง่าย และสามารถขนได้คราวละมากๆ ส่งผลให้อัตราการเติบโตของบุหรี่เถื่อนมีมากขึ้น แม้ว่าทางทหารเรือจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้จับกุม หรือใช้เครื่องมือที่มีในการตรวจจับ แต่อีกฝ่ายก็มีวิธีการที่จะหลบหลีกอยู่เสมอ ทั้งโดยการใช้เครื่องมือหรือวิธีการต่างๆ ขณะที่ประเด็นการติดตามเอาผิดกับกระบวนการลักลอบนำเข้าบุหรี่เถื่อนนั้น ก่อนที่จะมีการขนถ่ายบุหรี่เถื่อนทุกครั้ง ทางศรชล. ภาค 2 จะมีข้อมูลว่า เรือลำนี้มีสินค้าประเภทใดบ้างและต้องรู้วงรอบของการเดินเรือ ที่สำคัญต้องคำนวณความเร็วของเรือแต่ละลำที่จะแล่นไปยังประเทศที่ 3 แต่หากไม่สอดคล้องกับเวลาที่คำนวณ เบื้องต้นให้สันนิษฐานว่า เรือลำนี้กระทำความผิด มีการขนถ่ายสินค้าระหว่างทางแน่นอน ทั้งนี้ ยังต้องพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ ข้อมูลบริษัท ข้อมูลเจ้าของเรือว่ามีเรือในสังกัดกี่ลำ ตลอดจนธุรกิจเครือญาติ เพื่อประกอบการพิจารณาในการปฏิบัติภารกิจในแต่ละครั้ง ในส่วนของอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ คือ กฎหมายบางฉบับยังมีช่องโหว่ ทำให้ไม่สามารถเอาผิดได้ เช่น กรณีที่จับกุมบุหรี่เถื่อน 1,000 ลัง พร้อมรถที่กำลังจะขนย้ายบุหรี่ 8 คัน โดยมีการขนบุหรี่ขึ้นรถคันแรกแล้ว 30 ลัง ที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการยังไม่ได้ขนขึ้นรถ ปรากฏว่า บุหรี่ที่อยู่ในเรือทั้งหมดไม่สามารถเอาผิดได้ ในส่วนนี้ไม่ทราบเช่นกันว่า จะสามารถบังคับใช้กฎหมายได้อีกหรือไม่ อีกทั้งยังสามารถประกันเรือของกลางออกไปได้ด้วย ทำให้ผู้กระทำผิดอาจสามารถเอาเรือออกไปกระทำความผิดต่อได้ทั้งที่คดียังไม่สิ้นสุด ถือเป็นช่องว่างทางกฎหมาย ซึ่งหากมีการดำเนินคดีกับกรณีนี้ได้ จะมีโทษปรับถึงสี่พันกว่าล้านบาท ในอนาคตจึงอยากให้มีการแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง หรือเจตนาของผู้กระทำความผิด อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ผู้กระทำความผิดก็ทำทุกทาง เพื่ออาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย ทำให้สิ่งที่ผิดเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย ซึ่งศรชล. ภาค 2 เป็นหน่วยงานใหม่ การดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดรายใหญ่ต้องทำเอง แต่ยอมรับว่า ความชำนาญในการดำเนินการบนชั้นศาลยังไม่มีความชำนาญเท่ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ในส่วนของการประสานงานกับหน่วยงานอื่นในการจับกุมบุหรี่เถื่อนที่ผ่านมา ยังมีปัญหาเรื่องการจับกุมร่วม เพราะต่างคนต่างก็มีอำนาจของตัวเอง หากมี พ.ร.บ. หรือคำสั่งการใดๆ ที่กำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามบุหรี่ในพื้นที่ต้องให้ความร่วมมือตั้งแต่ต้นจนถึงขั้นการดำเนินคดีในชั้นศาล จะทำให้การปราบปรามมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะเดียวกันต้องการให้มีงบประมาณในด้านการข่าว เพื่อหาข้อมูลเชิงลึกด้วย หากมองว่าบุหรี่เถื่อนเป็นปัญหาระหว่างประเทศ เพราะเป็นการลักลอบนำสินค้าเข้ามาจากต่างประเทศ ในขณะที่ประเทศไทยเป็นเพียงประเทศทางผ่านไปยังประเทศปลายทาง ศรชล. ยืนยันว่า ได้มีการประสานความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งเคยทำหนังสือไปยังศูนย์ประสานงานชายแดนไทย-มาเลเซีย เคยประสานผ่านสำนักงานผู้ช่วยทูตที่อยู่ในประเทศปลายทาง เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าประเภทบุหรี่ ซึ่งได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากส่วนหนึ่ง ในปี 2568 ศรชล. ภาค 2 มีแนวทางในการป้องกันและปราบปรามบุหรี่เถื่อน โดยจะยังคงมุ่งเน้นไปในพื้นที่ที่ได้รับข่าวสารสำคัญเป็นพิเศษตามที่หน่วยข่าวได้แจ้งมา ก่อนออกเรือไปค้นหาและจับกุม และจะมีการเพิ่มวงรอบการออกเรือตรวจสอบที่มากขึ้น เพื่อเป็นการป้องปรามสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ ด้วย ซึ่งคาดว่าการปฏิบัติหน้าที่ของ ศรชล. ในภาพรวมจะมีประสิทธิภาพและมีผลงานเพิ่มขึ้นจากปี 2567 ขอบคุณภาพและที่มา https://www.thairath.co.th/ https://www.thansettakij.com/

อ่านต่อ
...
สรรพสามิตเปิด "QR โค้ด” เช็คบุหรี่เถื่อน
ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อน

นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง เปิดเผยว่า กรมสรรพสามิตได้เปิดตัวระบบคิวอาร์โค้ด “QR บุหรี่” ทำให้สามารถติดตามและแกะรอย (Track & Trace) ผลิตภัณฑ์ยาสูบว่าเป็นสินค้าที่ได้เสียภาษีถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งการนำระบบตรวจสอบติดตามและแกะรอย (Track & Trace) หรือ “QR บุหรี่” มาใช้นั้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี และยกระดับการดำเนินงานที่โปร่งใสสอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากล สำหรับ QR บุหรี่ ผู้ประกอบการในประเทศเริ่มใช้ได้เลย ส่วนผู้ประกอบการต่างประเทศให้ระยะเวลาปรับตัว 1 ปี และระยะต่อไปจะใช้ QR ในสุราส่วนเทคโนโลยีนี้จะเป็นการติดตามข้อมูลตั้งแต่ ณ สถานที่ผลิต ไปจนถึงผู้บริโภค และนำข้อมูลทั้งหมดมาสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อมูลการเสียภาษีและแหล่งที่มาของบุหรี่ว่าเป็นบุหรี่ที่ผ่านการตรวจวิเคราะห์โดยกรมสรรพสามิตแล้วหรือไม่ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเป็นบุหรี่ที่ได้มาตรฐานและไม่เป็นของปลอม ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภค  “แสตมป์สรรพสามิตในปัจจุบันนั้น มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อป้องกันการปลอมแปลงที่ทันสมัยใกล้เคียงกับการพิมพ์ธนบัตร และยังมี Unique QR code และ Unique Serial Number ที่มีรหัสไม่ซ้ำกันบนดวงแสตมป์ในแต่ละดวงแสตมป์เพื่อให้เจ้าหน้าที่และประชาชนตรวจสอบข้อมูลบนดวงแสตมป์นั้นได้ โดยในการตรวจสอบว่าเป็นสินค้าบุหรี่ซิกาแรตที่ชำระภาษีถูกต้องตามกฎหมาย ประชาชนทำได้โดยการนำโทรศัพท์มือถือสแกน QR Code บนดวงแสตมป์สรรพสามิต ซึ่งจะแสดงข้อมูลต่าง ๆ ปรากฎขึ้น อาทิ ตราสินค้า รายละเอียดสินค้า ชื่อผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้า วันที่ชำระภาษี สถานที่จัดส่ง และราคาสินค้า หากเช็คว่าข้อมูลเหล่านี้ ตรงตามกับสินค้าที่กำลังจะซื้อหรือไม่หากพบว่าข้อมูลของสินค้ากับข้อมูลที่ปรากฎไม่ตรงกัน ผู้ซื้อก็ควรหลีกเลี่ยงการซื้อ เพราะเป็นสินค้าที่ไม่ได้เสียภาษีสรรพสามิต” ช่องทางการแจ้งเบาะแสบุหรีผิดกฎหมาย 👉 แจ้งเบาะแสผ่านสมาคมการค้ายาสูบไทย http://ttta.or.th/report-form   ขอบคุณที่มา https://www.thairath.co.th/

อ่านต่อ
...
ถึงเวลาแล้วที่เราต้องช่วยกัน .... แจ้งเบาะแส “การซื้อขายบุหรี่ผิดกฎหมาย”
ข่าวสารเพื่อสมาชิก

ปัญหาการลักลอบนำเข้าและจำหน่ายบุหรี่ผิดกฎหมาย ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังแก้ไม่ตก นอกจากรัฐบาลจะสูญเสียรายได้จากภาษีนำเข้าแล้ว ยังกระทบต่อรายได้ของร้านค้าปลีกที่ขายบุหรี่ถูกกฎหมาย  สมาคมการค้ายาสูบไทย (สคยท.) ได้เปิดช่องทางรับแจ้งเบาะแส “การซื้อขายบุหรี่ผิดกฎหมาย” ทั้งนี้ หากประชาชนท่านใดทราบเบาะแสหรือพบเห็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับ “การซื้อขายบุหรี่ผิดกฎหมาย” สามารถแจ้งเบาะแสผ่านช่องทางออนไลน์ที่ https://ttta.or.th/report-form ข้อมูลที่ประชาชนแจ้งเบาะแสเข้ามานั้น จะถูกนำไปประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขยายผล เพื่อนำไปสู่การจับกุมผู้กระทำความผิดในอนาคตต่อไป สำหรับช่องทางดังกล่าวถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทางสมาคมฯหวังว่าจะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของร้านค้าปลีกที่ขายบุหรี่ถูกกฎหมายลงได้ไม่มากก็น้อย 

อ่านต่อ
...
ปิดสวิตซ์บุหรี่เถื่อน! อุตสาหกรรมยาสูบผนึกกำลังร้องนายกเศรษฐาเร่งปราบปราม เผยบุหรี่เถื่อนสูงถึง 25% ทำรัฐเสียหายกว่า 3 หมื่นล้านบาท
ข่าวสารเพื่อสมาชิก

อุตสาหกรรมยาสูบผนึกกำลังร้องนายกรัฐมนตรีแก้ปัญหาบุหรี่เถื่อนโดยด่วน ชี้ตลาดตอนนี้เป็นบุหรี่เถื่อนไปแล้วกว่า 1 ใน 4 เดือดร้อนกันถ้วนหน้า ร้านค้า แรงงาน เกษตรกรทุกข์หนัก โอดต้องให้อดตายไร้หนทางทำกินก่อนหรือไม่รัฐบาลถึงจะรับรู้ปัญหา ขอใช้ 31 พฤษภาคมเป็นวันงดสูบบุหรี่เถื่อน เพื่อให้สังคมน่าอยู่และปลอดภัย สมาคมการค้ายาสูบไทย ร่วมกับภาคีเครือข่ายชาวไร่ยาสูบแห่งประเทศไทย และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจยาสูบ การยาสูบแห่งประเทศไทย จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “รวมพลังปราบปรามบุหรี่ผิดกฎหมาย: เศรษฐกิจมั่นคง สังคมปลอดภัย” ขึ้นในวันที่ 29 พฤษภาคม 2567 ยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลยกปัญหาบุหรี่เถื่อนเป็นวาระแห่งชาติ ประกาศแนวทางการปราบปรามและเพิ่มโทษให้รุนแรง เพราะกระทบความเป็นอยู่ชาวไร่ยาสูบมานานหลายปี ภายในงาน นายสุเทพ ทิมศิลป์ รักษาการประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจยาสูบได้เปิดเผยสถิติที่น่าตกใจจากการสำรวจการบริโภคบุหรี่ผิดกฎหมายล่าสุด ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2567 ที่แสดงว่าประเทศไทยมีสัดส่วนการบริโภคบุหรี่ผิดกฎหมายถึง 25.5% หรือ 1 ใน 4 ของตลาด สูงที่สุดเท่าที่เคยมีการสำรวจมา คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า 30,000 ล้านบาทต่อปี สมาคมการค้ายาสูบไทย โดย นางสาวธัญญศรัณ แสงทอง ผู้อำนวยการบริหาร ชี้บุหรี่เถื่อนจะลดได้หากปิดช่องโหว่ของกฎหมาย เรียกร้องให้รัฐกวดขันกับ 3 ช่องทางลักลอบนำเข้าหลัก ได้แก่ 1) ช่องทางธรรมชาติตามแนวชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน และส่งต่อไปยังโกดังรวมของจุดใหญ่ ๆ ตามภูมิภาคผ่านรถและพัสดุไปรษณีย์ 2) ทางทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ขนถ่ายจากเรือใหญ่สู่เรือประมงขนาดเล็ก มีต้นทางหลักคือเวียดนาม กัมพูชา และอินโดนีเซีย และ 3) ขนส่งผ่านเขตฟรีโซน เช่น แหลมฉบัง อาศัยช่องว่างทางกฎหมายศุลกากร โดยระบุปลายทางสินค้าเป็นประเทศที่ 3 เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ และนำกลับเข้ามากระจายในประเทศไทย หากจัดการได้จะเป็นการลดการทุจริตภายในประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในท่อน้ำเลี้ยงของการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติในภูมิภาคอาเซียนด้วย ด้านภาคีเครือข่ายชาวไร่ยาสูบแห่งประเทศไทย กล่าวว่า พวกตนเรียกร้องให้รัฐจัดการบุหรี่ผิดกฎหมายมานานหลายปี เพราะชาวไร่ยาสูบเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับความเดือดร้อนโดนตัดโควตาการปลูกจากการยาสูบฯ แม้ในปัจจุบันจะได้โควตาคืนมาบ้าง แต่ก็ไม่มีอะไรการันตีได้เลยว่าการยาสูบฯ จะสามารถรับซื้อใบยาและปรับราคาเพิ่มได้เหมือนในฤดูกาลปลูกนี้อีก เพราะธุรกิจบุหรี่ซึ่งเป็นธุรกิจหลักได้ถูกบุหรี่ผิดกฎหมายช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดไปแล้วถึง 1 ใน 4 คิดเป็นกว่า 8,000 – 9,000 ล้านมวน หากเปลี่ยนเป็นบุหรี่ถูกกฎหมายจะเทียบเท่ากับใบยา กว่า 6.4 – 7.2 ล้านกิโลกรัม หรือกว่าครึ่งของใบยาที่เราขายให้กับการยาสูบฯ ในปัจจุบัน  “พวกเราประกอบอาชีพทำยามากว่า 3 ชั่วอายุคน ยาสูบทำให้ครอบครัวมีรายได้ที่มั่นคงมาตลอด แต่ยุคนี้เรามองไม่เห็นว่าอนาคตในอีก 3 ปี 5 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เพราะไม่มีแนวทางแน่ชัดอะไรจากรัฐบาลในการปราบปรามบุหรี่เถื่อนที่เป็นปัญหาหลักของอุตสาหกรรมตอนนี้นอกเหนือจากการไล่จับร้านค้ารายย่อย แต่ไม่เคยสาวไปถึงต้นตอของขบวนการ ไม่เคยจับได้คาตู้คอนเทนเนอร์  พวกเราเชื่อว่าบุหรี่เถื่อนลดได้หากทุกฝ่ายร่วมมือกัน แต่ควรมีนโยบายที่ชัดเจนจากนายกรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติเพื่อทำให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายปราบปรามอย่างจริงจัง และเร่งประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นต้นทางอีกด้วย”

อ่านต่อ
ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อนทั้งหมด
...
ร่วมต้านบุหรี่เถื่อน! กรมสรรพสามิตรับหนังสือแจ้งเบาะแสบุหรี่ผิดกฎหมายจากสมาคมการค้ายาสูบไทย
ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อน

สมาคมการค้ายาสูบไทย ทำหนังสือถึงกรมสรรพสามิจต เพื่อส่งมอบเอกสารหลักฐานการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการจำหน่ายบุหรี่ผิดกฎหมายที่ได้รับผ่านทางเว็บไซต์ของสมาคมฯ ในเดือนมกราคม 2568 จำนวน  35 รายงาน ซึ่งทุกๆ การรายงานเบาะแสเข้ามาจะไม่มีการเปิดเผยตัวตนผู้เจ้งเบาะแส ขอให้สมาชิกวางใจ ร่วมกันส่งเบาะแสมาได้เสมอ สมาคมฯ จะดำเนินการสรุปและส่งข้อมูลให้กรมสรรพสามิต รวมถึงหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นๆ เป็นประจำทุกเดือน บุหรี่เถื่อนส่งผลกระทบโดยตรงต่อร้านค้าปลีกที่จำหน่ายบุหรี่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้สูญเสียรายได้ อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเข้าถึงของเยาวชน และส่งผลต่อรายได้จากภาษีของรัฐที่ใช้พัฒนาประเทศ ทางสมาคมการค้ายาสูบไทยจึงเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินมาตรการเข้มงวดเพื่อปราบปรามปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง และพร้อมให้ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการเพื่อปราบปรามบุหรี่เถื่อน และบรรเทาความเดือดร้อนของร้านค้ายาสูบที่ถูกกฎหมาย   หากร้านค้าหรือประชาชนท่านใดทราบเบาะแส หรือ พบเห็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับบุหรี่เถื่อน สามารถแจ้งได้ที่กรมสรรพสามิต หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศหรือสายด่วน 1713 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ อีเมล์ excise_hotline@excise.go.th หรือ ช่องทางออนไลน์ของสมาคมการค้ายาสูบไทย https://ttta.or.th/report-form

อ่านต่อ
...
บุหรี่เถื่อนยังรุนแรง! สหภาพยาสูบวอนรัฐซีลชายแดน จับเข่าคุยประเทศต้นทาง
ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อน

ผลการสำรวจซองบุหรี่เปล่า ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 เพื่อดูแนวโน้มอัตราการบริโภคบุหรี่ผิดกฎหมายของประเทศไทยพบว่า อัตราการบริโภคบุหรี่ที่มิได้เสียภาษีอยู่ที่ 25.4% ซึ่งทรงตัวจากการสำรวจในไตรมาสที่ 1 ของปีเดียวกันที่อยู่ที่ 25.5% โดยพบว่า จังหวัดที่มีอัตราการบริโภคบุหรี่ที่มิได้เสียภาษีสูงที่สุดในประเทศไทยยังคงกระจุกตัวอยู่ในภาคใต้ตอนล่าง พบมากที่สุดใน จังหวัดสตูล (97%) สงขลา (88%) พัทลุง (78%) ภูเก็ต (72%) นครศรีธรรมราช (68%)  ระนอง (65%)   ตามด้วยจังหวัดในภาคกลางอย่าง นนทบุรี (49%)   สมุทรปราการ (43%) กรุงเทพมหานคร (39%)   "สตูล"แชมป์อันดับหนึ่งบุหรี่เถื่อนสูงสุด การสำรวจในครั้งนี้พบว่าจังหวัดสตูลมีการเติบโตของการบริโภคบุหรี่ผิดกฎหมายที่รุนแรงมากขึ้น โดยขยับแซงหน้าสงขลาขึ้นมาครองอันดับหนึ่งพื้นที่ที่มีการบริโภคบุหรี่ผิดกฎหมายที่สูงที่สุดของประเทศไทย และยังพบการเติบโตอย่างต่อเนื่องในพื้นที่เมืองหลวงและเขตพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งมีการกระจายตัวของการบริโภคบุหรี่ผิดกฎหมายที่เข้มข้นอยู่ สิ่งที่น่าสนใจของการสำรวจในครั้งนี้คือ การทะลักของบุหรี่ผิดกฎหมายในภาคตะวันตกของประเทศไทย โดยการสำรวจพบว่าจังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี มีแนวโน้มการบริโภคบุหรี่จากต่างประเทศที่มิได้เสียภาษีเพิ่มมากขึ้นกว่า 300% จากการสำรวจครั้งก่อน นายสุเทพ ทิมศิลป์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจยาสูบ กล่าวว่า ขอเป็นตัวแทนอุตสาหกรรมยาสูบขอบคุณหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานที่ปราบปรามบุหรี่ผิดกฎหมายอย่างเข้มข้นตลอดปี 2567 แม้ผลที่ออกมาจะยังทรงตัวและบุหรี่ที่มิได้เสียภาษียังอยู่ในระดับที่สูงมาก แต่เชื่อว่าทุกหน่วยงานพร้อมจะเดินหน้าสู้กับบุหรี่เถื่อนไปด้วยกันต่อในปี 2568 นี้ ผลที่ออกมายืนยันได้อย่างหนึ่งว่าการปราบปรามในประเทศเพียงอย่างเดียวยังไม่พอ เพราะยังคงมีช่องว่างใหม่ๆ ที่ทำให้บุหรี่เถื่อนทะลักเข้ามาในประเทศไทยได้ วอนรัฐบาลซีลชายแดนอย่างเข้มข้น นายสุเทพ กล่าวเสริมว่ามีข้อมูลว่ามีการทะลักของบุหรี่เถื่อนตามแนวชายแดนภาคตะวันออกที่ติดกับประเทศกัมพูชา เช่น จันทบุรี ตราด สระแก้ว บุหรี่เถื่อนเข้ามาทางภาคใต้ และยังมีบุหรี่ผ่านแดนที่มาใช้ไทยเป็นทางผ่านไปประเทศที่สามแต่กลับนำสินค้าวกกลับเข้ามาขายในประเทศหลังผ่านพิธีการศุลกากรในภาคใต้ บุหรี่เถื่อนจึงเป็นเรื่องระดับภูมิภาค ใหญ่เกินกว่าที่เราจะจัดการเองในประเทศเพียงอย่างเดียว จึงอยากขอร้องรัฐบาลซีลชายแดนอย่างเข้มข้น ยกระดับการปรามปรามในประเทศอย่างจริงจัง และจัดการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐ เพื่อหยุดยั้งการทะลักของบุหรี่เถื่อนที่ไหลเวียนอยู่ในภูมิภาค เช่นเดียวกับกรณีแก็งค์คอลเซ็นเตอร์ที่มีฐานอยู่นอกประเทศ ขอบคุณที่มา บทความและภาพประกอบ https://www.bangkokbiznews.com

อ่านต่อ
ข่าวเด่นทั้งหมด
...
ส.ค้ายาสูบไทยหนุนรัฐขึ้นบัญชีผู้ค้า หลังพบ “บุหรี่เถื่อน” เกลื่อนออนไลน์ เพิ่มขึ้น 181% จี้รัฐจัดการภัยออนไลน์ และขยายผลเครือข่ายทั่วประเทศ
ข่าวเด่น

สมาคมการค้ายาสูบไทย จี้หน่วยงานภาครัฐและแพลตฟอร์มออนไลน์ขึ้นบัญชีเฝ้าระวังการกระทำผิดกฎหมายทางสื่อออนไลน์อย่างเข้มงวด เชื่อเทคโนโลยีสาวถึงต้นทางได้ หลังผลสำรวจบุหรี่เถื่อนออนไลน์ พบการสนทนาซื้อ-ขายเติบโตถึง 181% ในช่วง 6 เดือน ปัจจัยหลักเน้นที่ราคาถูก รสชาติดี มีลูกเล่น และหาซื้อง่าย ชี้ปัจจุบันร้านบุหรี่เถื่อนออนไลน์ทั้ง เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ ยูทูป เว็บบอร์ด เว็บไซต์ และขยายไปขายบน “ติ๊กต็อก” ตามเทรนด์ชาวเน็ตไทย หวั่นกระทบร้านค้าปลีกถูกกฎหมาย เยาวชนเข้าถึงง่าย ชี้การขายบุหรี่เถื่อนออนไลน์ได้ไม่คุ้มเสีย นางสาวธัญญศรัณ แสงทอง ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมการค้ายาสูบไทย กล่าวว่า การขายบุหรี่เถื่อนบนช่องทางออนไลน์มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะบน “X (ทวิตเตอร์)” ที่ผู้ขายมีการลงโพสต์สินค้าเพื่อสั่งซื้อผ่านข้อความส่วนตัว (Direct Message) และไลน์ นอกจากนี้ ร้านค้าเหล่านี้ยังระบุว่าได้ขยายหน้าร้านไปบน “ติ๊กต็อก” ด้วย แม้ว่าพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 จะห้ามขายทางช่องทางออนไลน์อย่างชัดเจน มีโทษทั้งจำทั้งปรับ “สมาคมฯ สำรวจพบบทสนทนาเกี่ยวกับบุหรี่เถื่อนบนช่องทางออนไลน์ ในระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - เดือนธันวาคม 2566 พบมีบทสนทนาเพิ่มขึ้นกว่า 181% โดยช่องทางที่พูดถึงเรื่องบุหรี่เถื่อนมากที่สุด คือ X (ทวิตเตอร์) 93% เฟซบุ๊ก 5% และยูทูป 2 % ตามลำดับ คีย์เวิร์ดที่ถูกใช้มากที่สุด ได้แก่ ราคาถูก กลิ่นและรสชาติ ลูกเล่นของสินค้า นอกจากนี้เว็บไซต์ขายบุหรี่เถื่อนยังถูกค้นหาบน Google มากที่สุดจากจังหวัดสมุทรปราการ นครราชสีมา นนทบุรี ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร สอดคล้องกับผลสำรวจการบริโภคบุหรี่เถื่อนของอุตสาหกรรมยาสูบ ไตรมาส 4 ปี 2566 ที่ระบุว่ามีอัตราการบริโภคบุหรี่เถื่อนที่เติบโตมากกว่าเท่าตัวในกรุงเทพและปริมณฑล” สำหรับปัจจัยด้านราคานั้นยังคงพบว่าราคาขายถูกกว่าบุหรี่ถูกกฎหมายมากสะท้อนให้เห็นว่าหน้าร้านออนไลน์มีผลอย่างยิ่งกับการบริโภคบุหรี่เถื่อนของคนไทย ที่ปัจจุบันในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 เพิ่มขึ้นถึง 22.6% แล้ว ที่สำคัญการซื้อบุหรี่เถื่อนบนโลกออนไลน์ ทำให้เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ผู้ขายก็ไม่มีการตรวจสอบอายุผู้ซื้อก่อนขายให้ “สมาคมฯ ขอเป็นตัวแทนร้านค้าบุหรี่ถูกกฎหมายกว่า 500,000 ร้านทั่วประเทศไทย เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงดิจิทัลฯ สำรวจและขึ้นบัญชีร้านค้าออนไลน์ และเร่งบังคับใช้กฎหมายกับการขายบุหรี่เถื่อนทั้งที่มีหน้าร้านและร้านค้าออนไลน์อย่างเข้มงวด รวมถึงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่ต้องมีนโยบายปกป้องสังคมจากการขายสินค้าผิดกฎหมาย เพราะร้านค้าบุหรี่ถูกกฎหมาย ไม่ควรจะมาสูญเสียรายได้ให้กับเครือข่ายบุหรี่เถื่อนออนไลน์ที่เติบโตอย่างมากทั่วประเทศ หากปล่อยไว้เช่นนี้จะทำให้ไม่สามารถปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชน ไม่สามารถลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ได้ และสะท้อนปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งการทุจริตคอรัปชันอีกด้วย”

อ่านต่อ
...
ชี้ปัญหาใต้พรมของการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่
ข่าวเด่น

ในโอกาสวันงดสูบบุหรี่โลก วันที่ 31 พฤษภาคม ในปีนี้ ขอขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่และการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับอันตรายจากควันยาสูบเพื่อพัฒนาสุขภาวะของผู้สูบบุหรี่ บุคคลรอบข้าง รวมถึงผู้ไม่สูบบุหรี่ในประเทศไทยผ่านมาตรการที่เข้มงวดเสมอมา เพราะบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นตัวแปรสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (Non-Communicable Disease หรือ NCD) ที่คร่าชีวิตคนไทยปีละกว่า 72,000 คน โดยโรคที่เป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญ อันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพที่เห็นเป็นที่ประจักษ์นี้ทำให้มาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบได้รับการยอมรับและถูกบังคับใช้อย่างเข้มงวด โดยเฉพาะกับบุหรี่มวนที่ผลิตจากโรงงานทั้งในประเทศและผ่านการนำเข้าอย่างถูกกฎหมายจากผู้ผลิตต่างชาติ ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ที่มีผลให้บุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานต้องปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์และมีภาพคำเตือนเกี่ยวกับอันตรายด้านสุขภาพ รวมถึงห้ามมีการสื่อสารและโฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบ ในส่วนของร้านค้าปลีก มีการกำหนดอายุผู้ซื้อและผู้ขาย การตั้งแสดงผลิตภัณฑ์ยาสูบที่หน้าร้านและการแบ่งมวนขายแบบในอดีตก็ไม่สามารถทำได้อีกต่อไป นอกจากนี้ยังมีมาตรการที่มุ่งเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้สูบบุหรี่ เช่น การห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ การให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของบุหรี่ และตัวผู้สูบเองก็ต้องแบกรับภาระด้านราคาที่เพิ่มสูงขึ้นจากการปรับขึ้นภาษีอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร ปี 2564 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่าในประเทศไทยมีผู้บริโภคยาสูบที่อายุ 15 ปีขึ้นไปทั้งหมดกว่า 9.9 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้บริโภคยาเส้น 4,608,837 คน คิดเป็นกว่าครึ่งของจำนวนทั้งหมด ซึ่งยาเส้นนั้นมีอันตรายไม่ต่างจากบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานเพราะจำเป็นต้องมีการจุดไฟเผาเพื่อการบริโภคอยู่ แต่มาตรการต่างๆ ที่มีต่อผู้ผลิต ผู้นำเข้า ร้านค้าปลีก รวมถึงผู้บริโภคบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานกลับไม่ได้ถูกนำไปใช้กับยาเส้นในมาตรฐานเดียวกัน ยาเส้นถูกจัดเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย ทำให้มีการเก็บภาษีต่ำกว่าบุหรี่มาก ราคาของยาเส้นจึงถูกกว่าบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานมาก และมีการวางขายได้ทั่วไปอย่างอิสระตามร้านค้าชุมชนเพราะความเข้มงวดของกฎระเบียบยังไม่เท่าเทียมกับบุหรี่มวน สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มุ่งจะยกระดับสุขภาวะของคนไทยถูกบังคับใช้กับการบริโภคยาสูบเพียง 50% ของประเทศเท่านั้น นอกจากนี้ ตามรายงานประจำปีฉบับล่าสุดของการยาสูบแห่งประเทศไทยปี 2565 ระบุว่าจำนวนบุหรี่ผิดกฎหมายในตลาดเพิ่มขึ้นถึง 70% โดยคิดเป็นสัดส่วนการบริโภคกว่า 10.3% ในปี 2564 ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากบุหรี่เถื่อนจะถูกพบได้ทั่วไปตามหน้าร้านที่ไม่ได้มีใบอนุญาตแล้ว ยังแพร่ระบาดบนเว็บไซต์ออนไลน์ และโซเชียลมีเดียด้วย โดยการสำรวจในเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2565 ที่ผ่านมา พบบทสนทนาเกี่ยวกับการซื้อขายบุหรี่เถื่อนบนโซเชียลมีเดียโตขึ้นถึง 97% ซึ่งการแพร่ระบาดของบุหรี่เถื่อนนี้เป็นบ่อนทำลายประสิทธิผลของมาตรการควบคุมยาสูบทั้งมาตรการด้านภาษีและมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี ชัดเจนว่ามาตรการควบคุมที่เข้มงวดกับบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานอย่างถูกกฎหมายและร้านค้าที่ขายบุหรี่อย่างถูกกฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้เลยกับยาเส้นและบุหรี่ที่ผิดกฎหมาย ตอกย้ำถึงปัญหาที่ซ่อนเร้นของมาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ไม่ตอบโจทย์ภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ปัญหาบุหรี่เถื่อนไม่ได้เป็นความท้าทายต่ออุตสาหกรรมยาสูบไทยเพียงประเทศเดียว แต่เป็นความท้าทายต่อนานาประเทศที่ใช้กลไกด้านภาษีมาลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ตามแนวทางที่ได้รับจากกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (Framework Conventional on Tobacco Control: FCTC) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เช่นกัน โดยในปีนี้จะมีการจัดประชุมรัฐภาคี (Conference of the Parties หรือ COP) ของกรอบอนุสัญญาครั้งที่ 10 ขึ้นที่ประเทศปานามา รวมถึงการประชุมประเทศสมาชิกของพิธีสารเพื่อกำจัดการค้าที่ผิดกฎหมายในผลิตภัณฑ์ยาสูบ ครั้งที่ 3 เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการปราบปรามบุหรี่เถื่อนให้มีประสิทธิภาพด้วย การเลือกประเทศปานามาเป็นสถานที่จัดประชุมระดับโลกครั้งนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่นที่จะนำปัญหาบุหรี่เถื่อนขึ้นมาถกเถียงกันอย่างเปิดเผยเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายหลักในการลดจำนวนผู้สูบบุหรี่อย่างเป็นรูปธรรมให้กับกรอบอนุสัญญาฯ มากกว่าการลงนามที่ไม่มีข้อผูกมัดเช่นในอดีต La Estrella สื่อท้องถิ่นของปานามารายงานว่าปานามาเปรียบเสมือนศูนย์กลางของการส่งออกบุหรี่เถื่อนไปสู่ตลาดใต้ดินทั่วโลก ในปี 2022 การบริโภคยาสูบกว่า 92% ของปานามาเป็นการบริโภคบุหรี่เถื่อน ซึ่งคิดเป็น 9 ใน 10 ส่วนของการบริโภคยาสูบทั้งหมดของประเทศ นอกจากนี้ปานามายังส่งออกบุหรี่เถื่อนไปยังประเทศเพื่อนบ้านในทวีปอเมริกาและประเทศอื่นๆ ถึงกว่า 8 พันล้านมวนต่อปี เมื่อมีการขับเคลื่อนจากองค์กรระดับโลกแล้วก็คงถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องตอบรับและปรับมาตรการควบคุมยาสูบให้เหมาะกับบริบทภายในประเทศด้วยมาตรฐานที่เท่าเทียมกับทุกผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มีความอันตรายไม่ต่างกัน รวมถึงขยายการบังคับใช้สู่บุหรี่เถื่อนที่มีสัดส่วนการบริโภคมากกว่า 10% ด้วย เพราะชัดเจนแล้วว่าการบังคับใช้มาตรการแบบสองมาตรฐานส่งผลเสียกับการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานเท่านั้น ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งของอุตสาหกรรมไม่ได้อยู่ภายใต้มาตรการควบคุมใดๆ และไม่เคยถูกหยิบยกขึ้นมานำเสนอแม้จะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้จำนวนผู้บริโภคยาสูบของไทยคงที่มานาน การลงนามในพิธีสารเกี่ยวกับการต่อต้านการค้าบุหรี่ผิดกฎหมาย หรือความพยายามในการสร้างระบบแกะรอยติดตามจึงอาจจะยังไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด เพราะเป็นการบังคับใช้แต่ผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบ ขณะที่การลักลอบค้าบุหรี่ผิดกฎหมายไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายใดๆ แต่สามารถตีตลาดของการยาสูบแห่งประเทศไทยได้อย่างง่ายดาย เมื่อไม่พูดถึงปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่ใต้พรมก็คงไม่อาจบรรลุเป้าหมายทางสาธารณสุขของประเทศในระยะยาวได้ ขอบคุณที่มา: https://www.khaosod.co.th/

อ่านต่อ
ความรู้และงานวิจัย ทั้งหมด
  • ซื้อ 20 + ขาย 18 + อ่านต่อ
  • ข้อควรรู้กับการป้องกันเยาวชนจากการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบ อ่านต่อ
  • ป้องกันเยาวชนจากการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบ กับโครงการ โชว์การ์ด อ่านต่อ
  • ข้อควรรู้และหลักปฎิบัติ สำหรับร้านค้า เกี่ยวกับ พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 อ่านต่อ

สมัครสมาชิก

สำหรับผู้ประกอบกิจการการค้าผลิตภัณฑ์ยาสูบ และ หรือวิสาหกิจ ในทางการค้าอื่นที่เกี่ยวข้องกับการค้า ผลิตภัณฑ์ยาสูบโดยตรง อัตราค่าลงทะเบียนแรกเข้า 200 บาท และค่าบำรุงสมาคม 100 บาท / 2 ปี (ปีละ 50 บาท เก็บทุกๆ สองปี)

สมาชิกประเภทวิสามัญ สำหรับผู้มีความสนใจหรือมีความรู้เกี่ยวกับยาสูบหรือ ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือ ผู้ประกอบวิสาหกิจในทางการค้า อุตสาหกรรม หรือการเงิน การขนส่งยาสูบ หรือผลิตภัณฑ์ยาสูบ หรือธุรกิจใดๆ อันเกี่ยวเนื่องกับยาสูบ หรือ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ อัตราค่าลงทะเบียนแรกเข้า 1,000 บาท และค่าบำรุงสมาคม 1,000 ต่อปี

แจ้งเบาะแสบุหรี่ผิดกฎหมาย

พบเห็นการซื้อขายบุหรี่ผิดกฎหมาย สามารถแจ้งผ่านช่องทางออนไลน์ของทางสมาคม และสมาคมจะนำข้อมูลเหล่านี้ยื่นต่อหน่อยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ผู้ที่แจ้งเบาะแสสามารถติดตามผลการแจ้งได้โดยใส่รหัสอ้างอิงที่ได้รับ

แจ้ง
เบาะแส