ชี้ปัญหาใต้พรมของการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่
ในโอกาสวันงดสูบบุหรี่โลก วันที่ 31 พฤษภาคม ในปีนี้ ขอขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่และการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับอันตรายจากควันยาสูบเพื่อพัฒนาสุขภาวะของผู้สูบบุหรี่ บุคคลรอบข้าง รวมถึงผู้ไม่สูบบุหรี่ในประเทศไทยผ่านมาตรการที่เข้มงวดเสมอมา เพราะบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นตัวแปรสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (Non-Communicable Disease หรือ NCD) ที่คร่าชีวิตคนไทยปีละกว่า 72,000 คน โดยโรคที่เป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญ
อันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพที่เห็นเป็นที่ประจักษ์นี้ทำให้มาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบได้รับการยอมรับและถูกบังคับใช้อย่างเข้มงวด โดยเฉพาะกับบุหรี่มวนที่ผลิตจากโรงงานทั้งในประเทศและผ่านการนำเข้าอย่างถูกกฎหมายจากผู้ผลิตต่างชาติ ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ที่มีผลให้บุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานต้องปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์และมีภาพคำเตือนเกี่ยวกับอันตรายด้านสุขภาพ รวมถึงห้ามมีการสื่อสารและโฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบ ในส่วนของร้านค้าปลีก มีการกำหนดอายุผู้ซื้อและผู้ขาย การตั้งแสดงผลิตภัณฑ์ยาสูบที่หน้าร้านและการแบ่งมวนขายแบบในอดีตก็ไม่สามารถทำได้อีกต่อไป นอกจากนี้ยังมีมาตรการที่มุ่งเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้สูบบุหรี่ เช่น การห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ การให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของบุหรี่ และตัวผู้สูบเองก็ต้องแบกรับภาระด้านราคาที่เพิ่มสูงขึ้นจากการปรับขึ้นภาษีอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลจากการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร ปี 2564 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่าในประเทศไทยมีผู้บริโภคยาสูบที่อายุ 15 ปีขึ้นไปทั้งหมดกว่า 9.9 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้บริโภคยาเส้น 4,608,837 คน คิดเป็นกว่าครึ่งของจำนวนทั้งหมด ซึ่งยาเส้นนั้นมีอันตรายไม่ต่างจากบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานเพราะจำเป็นต้องมีการจุดไฟเผาเพื่อการบริโภคอยู่ แต่มาตรการต่างๆ ที่มีต่อผู้ผลิต ผู้นำเข้า ร้านค้าปลีก รวมถึงผู้บริโภคบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานกลับไม่ได้ถูกนำไปใช้กับยาเส้นในมาตรฐานเดียวกัน
ยาเส้นถูกจัดเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย ทำให้มีการเก็บภาษีต่ำกว่าบุหรี่มาก ราคาของยาเส้นจึงถูกกว่าบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานมาก และมีการวางขายได้ทั่วไปอย่างอิสระตามร้านค้าชุมชนเพราะความเข้มงวดของกฎระเบียบยังไม่เท่าเทียมกับบุหรี่มวน สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มุ่งจะยกระดับสุขภาวะของคนไทยถูกบังคับใช้กับการบริโภคยาสูบเพียง 50% ของประเทศเท่านั้น
นอกจากนี้ ตามรายงานประจำปีฉบับล่าสุดของการยาสูบแห่งประเทศไทยปี 2565 ระบุว่าจำนวนบุหรี่ผิดกฎหมายในตลาดเพิ่มขึ้นถึง 70% โดยคิดเป็นสัดส่วนการบริโภคกว่า 10.3% ในปี 2564 ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากบุหรี่เถื่อนจะถูกพบได้ทั่วไปตามหน้าร้านที่ไม่ได้มีใบอนุญาตแล้ว ยังแพร่ระบาดบนเว็บไซต์ออนไลน์ และโซเชียลมีเดียด้วย โดยการสำรวจในเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2565 ที่ผ่านมา พบบทสนทนาเกี่ยวกับการซื้อขายบุหรี่เถื่อนบนโซเชียลมีเดียโตขึ้นถึง 97% ซึ่งการแพร่ระบาดของบุหรี่เถื่อนนี้เป็นบ่อนทำลายประสิทธิผลของมาตรการควบคุมยาสูบทั้งมาตรการด้านภาษีและมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี
ชัดเจนว่ามาตรการควบคุมที่เข้มงวดกับบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานอย่างถูกกฎหมายและร้านค้าที่ขายบุหรี่อย่างถูกกฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้เลยกับยาเส้นและบุหรี่ที่ผิดกฎหมาย ตอกย้ำถึงปัญหาที่ซ่อนเร้นของมาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ไม่ตอบโจทย์ภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน
ปัญหาบุหรี่เถื่อนไม่ได้เป็นความท้าทายต่ออุตสาหกรรมยาสูบไทยเพียงประเทศเดียว แต่เป็นความท้าทายต่อนานาประเทศที่ใช้กลไกด้านภาษีมาลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ตามแนวทางที่ได้รับจากกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (Framework Conventional on Tobacco Control: FCTC) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เช่นกัน โดยในปีนี้จะมีการจัดประชุมรัฐภาคี (Conference of the Parties หรือ COP) ของกรอบอนุสัญญาครั้งที่ 10 ขึ้นที่ประเทศปานามา รวมถึงการประชุมประเทศสมาชิกของพิธีสารเพื่อกำจัดการค้าที่ผิดกฎหมายในผลิตภัณฑ์ยาสูบ ครั้งที่ 3 เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการปราบปรามบุหรี่เถื่อนให้มีประสิทธิภาพด้วย
การเลือกประเทศปานามาเป็นสถานที่จัดประชุมระดับโลกครั้งนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่นที่จะนำปัญหาบุหรี่เถื่อนขึ้นมาถกเถียงกันอย่างเปิดเผยเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายหลักในการลดจำนวนผู้สูบบุหรี่อย่างเป็นรูปธรรมให้กับกรอบอนุสัญญาฯ มากกว่าการลงนามที่ไม่มีข้อผูกมัดเช่นในอดีต La Estrella สื่อท้องถิ่นของปานามารายงานว่าปานามาเปรียบเสมือนศูนย์กลางของการส่งออกบุหรี่เถื่อนไปสู่ตลาดใต้ดินทั่วโลก ในปี 2022 การบริโภคยาสูบกว่า 92% ของปานามาเป็นการบริโภคบุหรี่เถื่อน ซึ่งคิดเป็น 9 ใน 10 ส่วนของการบริโภคยาสูบทั้งหมดของประเทศ นอกจากนี้ปานามายังส่งออกบุหรี่เถื่อนไปยังประเทศเพื่อนบ้านในทวีปอเมริกาและประเทศอื่นๆ ถึงกว่า 8 พันล้านมวนต่อปี
เมื่อมีการขับเคลื่อนจากองค์กรระดับโลกแล้วก็คงถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องตอบรับและปรับมาตรการควบคุมยาสูบให้เหมาะกับบริบทภายในประเทศด้วยมาตรฐานที่เท่าเทียมกับทุกผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มีความอันตรายไม่ต่างกัน รวมถึงขยายการบังคับใช้สู่บุหรี่เถื่อนที่มีสัดส่วนการบริโภคมากกว่า 10% ด้วย เพราะชัดเจนแล้วว่าการบังคับใช้มาตรการแบบสองมาตรฐานส่งผลเสียกับการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานเท่านั้น ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งของอุตสาหกรรมไม่ได้อยู่ภายใต้มาตรการควบคุมใดๆ และไม่เคยถูกหยิบยกขึ้นมานำเสนอแม้จะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้จำนวนผู้บริโภคยาสูบของไทยคงที่มานาน การลงนามในพิธีสารเกี่ยวกับการต่อต้านการค้าบุหรี่ผิดกฎหมาย หรือความพยายามในการสร้างระบบแกะรอยติดตามจึงอาจจะยังไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด เพราะเป็นการบังคับใช้แต่ผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบ ขณะที่การลักลอบค้าบุหรี่ผิดกฎหมายไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายใดๆ แต่สามารถตีตลาดของการยาสูบแห่งประเทศไทยได้อย่างง่ายดาย เมื่อไม่พูดถึงปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่ใต้พรมก็คงไม่อาจบรรลุเป้าหมายทางสาธารณสุขของประเทศในระยะยาวได้
ขอบคุณที่มา: https://www.khaosod.co.th/
ข่าวน่าสนใจ
สรรพสามิตเปิด "QR โค้ด” เช็คบุหรี่เถื่อน
ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อนนายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง เปิดเผยว่า กรมสรรพสามิตได้เปิดตัวระบบคิวอาร์โค้ด “QR บุหรี่” ทำให้สามารถติดตามและแกะรอย (Track & Trace) ผลิตภัณฑ์ยาสูบว่าเป็นสินค้าที่ได้เสียภาษีถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งการนำระบบตรวจสอบติดตามและแกะรอย (Track & Trace) หรือ “QR บุหรี่” มาใช้นั้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี และยกระดับการดำเนินงานที่โปร่งใสสอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากล สำหรับ QR บุหรี่ ผู้ประกอบการในประเทศเริ่มใช้ได้เลย ส่วนผู้ประกอบการต่างประเทศให้ระยะเวลาปรับตัว 1 ปี และระยะต่อไปจะใช้ QR ในสุราส่วนเทคโนโลยีนี้จะเป็นการติดตามข้อมูลตั้งแต่ ณ สถานที่ผลิต ไปจนถึงผู้บริโภค และนำข้อมูลทั้งหมดมาสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อมูลการเสียภาษีและแหล่งที่มาของบุหรี่ว่าเป็นบุหรี่ที่ผ่านการตรวจวิเคราะห์โดยกรมสรรพสามิตแล้วหรือไม่ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเป็นบุหรี่ที่ได้มาตรฐานและไม่เป็นของปลอม ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภค “แสตมป์สรรพสามิตในปัจจุบันนั้น มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อป้องกันการปลอมแปลงที่ทันสมัยใกล้เคียงกับการพิมพ์ธนบัตร และยังมี Unique QR code และ Unique Serial Number ที่มีรหัสไม่ซ้ำกันบนดวงแสตมป์ในแต่ละดวงแสตมป์เพื่อให้เจ้าหน้าที่และประชาชนตรวจสอบข้อมูลบนดวงแสตมป์นั้นได้ โดยในการตรวจสอบว่าเป็นสินค้าบุหรี่ซิกาแรตที่ชำระภาษีถูกต้องตามกฎหมาย ประชาชนทำได้โดยการนำโทรศัพท์มือถือสแกน QR Code บนดวงแสตมป์สรรพสามิต ซึ่งจะแสดงข้อมูลต่าง ๆ ปรากฎขึ้น อาทิ ตราสินค้า รายละเอียดสินค้า ชื่อผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้า วันที่ชำระภาษี สถานที่จัดส่ง และราคาสินค้า หากเช็คว่าข้อมูลเหล่านี้ ตรงตามกับสินค้าที่กำลังจะซื้อหรือไม่หากพบว่าข้อมูลของสินค้ากับข้อมูลที่ปรากฎไม่ตรงกัน ผู้ซื้อก็ควรหลีกเลี่ยงการซื้อ เพราะเป็นสินค้าที่ไม่ได้เสียภาษีสรรพสามิต” ช่องทางการแจ้งเบาะแสบุหรีผิดกฎหมาย 👉 แจ้งเบาะแสผ่านสมาคมการค้ายาสูบไทย http://ttta.or.th/report-form ขอบคุณที่มา https://www.thairath.co.th/
อ่านต่อความร่วมมือจากพวกเราเป็นส่วนช่วยแก้ปัญหาบุหรี่เถื่อนได้
ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อนปัญหาบุหรี่ผิดกฎหมายหรือบุหรี่เถื่อนในประเทศไทยไม่ใช่แค่เรื่องภายในประเทศเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่มีความเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและการค้าระหว่างประเทศ การกวดขันจับกุมในประเทศจึงไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากบุหรี่ผิดกฎหมายที่วางขายในประเทศไทย เช่น บุหรี่หนีภาษีและบุหรี่ปลอม ส่วนใหญ่ถูกลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศใกล้เคียง เช่น เวียดนามและมาเลเซีย บุหรี่เหล่านี้มักถูกนำเข้ามาทางเส้นทางชายแดนทางบกและทะเล รวมถึงการซุกซ่อนและสำแดงข้อมูลการนำเข้าเป็นเท็จ หรือแม้กระทั่งใช้วิธีการนำเข้าในรูปแบบสินค้าผ่านแดนเพื่อหลบเลี่ยงการตรวจสอบ ก่อนจะกระจายไปทั่วประเทศเพื่อจำหน่ายให้กับผู้สูบบุหรี่ ผ่านช่องทางออนไลน์ และร้านค้าบุหรี่ผิดกฎหมาย การแก้ไขปัญหานี้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระดับภูมิภาคและความร่วมมือระหว่างประเทศในหลายระดับ เช่น การสร้างข้อตกลงในการสกัดกั้นการส่งออกสินค้าบุหรี่ผิดกฎหมายจากประเทศต้นทาง และการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งผลิตและเส้นทางลักลอบนำเข้าเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบ ทางออกของการแก้ปัญหาบุหรี่เถื่อน จึงจำเป็นต้องจัดการกับประเทศต้นทาง ร่วมมือกับรัฐบาลที่เป็นต้นทางของบุหรี่เถื่อนเหล่านี้ สร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อเพื่อป้องกันและจำกัดการเคลื่อนย้ายสินค้าผิดกฎหมายตั้งแต่ต้นทาง ร่วมกับการเพิ่มความเข้มงวดในการจับกุมปราบปราม สกัดกั้นการกระจายสินค้า ทลายเครือข่ายลักลอบนำเข้า โกดังสินค้า และร้านค้าบุหรี่ผิดกฎหมายทั้งที่ขายออนไลน์และเปิดหน้าร้านขายสินค้า และที่สำคัญที่สุดคือการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ-เอกชน-ประชาชน ในการสะท้อนปัญหา แจ้งเบาะแส เพื่อสนับสนุนข้อมูลในการทำงานด้านการจับกุมปราบปรามให้กับเจ้าหน้าที่ ดังนั้น ความร่วมมือจากร้านค้าจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการต่อต้านการค้าบุหรี่เถื่อน หากพบเห็นหรือมีข้อมูลเกี่ยวกับการค้าบุหรี่ผิดกฎหมาย ท่านสามารถแจ้งข้อมูลได้ที่ 👉 ช่องทางการแจ้งเบาะแสของสมาคมการค้ายาสูบไทย http://ttta.or.th/report-form 👉 สายด่วนกรมสรรพสามิต 1713 หรืออีเมล์ excise_hotline@excise.go.th 👉 Website แจ้งเบาะแส กรมสรรพสามิต แจ้งเบาะแส กรมสรรพสามิต 👉 ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย สายด่วนโทร 1567
อ่านต่อวันนวมินทรมหาราช
วันสำคัญ13 ตุลาคม "วันนวมินทรมหาราช" วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สถิตในใจตราบนิจนิรันดร์ น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สมาคมการค้ายาสูบไทย
อ่านต่อถึงเวลาแล้วที่เราต้องช่วยกัน .... แจ้งเบาะแส “การซื้อขายบุหรี่ผิดกฎหมาย”
ข่าวสารเพื่อสมาชิกปัญหาการลักลอบนำเข้าและจำหน่ายบุหรี่ผิดกฎหมาย ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังแก้ไม่ตก นอกจากรัฐบาลจะสูญเสียรายได้จากภาษีนำเข้าแล้ว ยังกระทบต่อรายได้ของร้านค้าปลีกที่ขายบุหรี่ถูกกฎหมาย สมาคมการค้ายาสูบไทย (สคยท.) ได้เปิดช่องทางรับแจ้งเบาะแส “การซื้อขายบุหรี่ผิดกฎหมาย” ทั้งนี้ หากประชาชนท่านใดทราบเบาะแสหรือพบเห็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับ “การซื้อขายบุหรี่ผิดกฎหมาย” สามารถแจ้งเบาะแสผ่านช่องทางออนไลน์ที่ https://ttta.or.th/report-form ข้อมูลที่ประชาชนแจ้งเบาะแสเข้ามานั้น จะถูกนำไปประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขยายผล เพื่อนำไปสู่การจับกุมผู้กระทำความผิดในอนาคตต่อไป สำหรับช่องทางดังกล่าวถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทางสมาคมฯหวังว่าจะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของร้านค้าปลีกที่ขายบุหรี่ถูกกฎหมายลงได้ไม่มากก็น้อย
อ่านต่อสมัครสมาชิก
สำหรับผู้ประกอบกิจการการค้าผลิตภัณฑ์ยาสูบ และ หรือวิสาหกิจ ในทางการค้าอื่นที่เกี่ยวข้องกับการค้า ผลิตภัณฑ์ยาสูบโดยตรง อัตราค่าลงทะเบียนแรกเข้า 200 บาท และค่าบำรุงสมาคม 100 บาท / 2 ปี (ปีละ 50 บาท เก็บทุกๆ สองปี)สมาชิกประเภทวิสามัญ สำหรับผู้มีความสนใจหรือมีความรู้เกี่ยวกับยาสูบหรือ ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือ ผู้ประกอบวิสาหกิจในทางการค้า อุตสาหกรรม หรือการเงิน การขนส่งยาสูบ หรือผลิตภัณฑ์ยาสูบ หรือธุรกิจใดๆ อันเกี่ยวเนื่องกับยาสูบ หรือ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ อัตราค่าลงทะเบียนแรกเข้า 1,000 บาท และค่าบำรุงสมาคม 1,000 ต่อปี
แจ้งเบาะแสบุหรี่ผิดกฎหมาย
พบเห็นการซื้อขายบุหรี่ผิดกฎหมาย สามารถแจ้งผ่านช่องทางออนไลน์ของทางสมาคม และสมาคมจะนำข้อมูลเหล่านี้ยื่นต่อหน่อยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ผู้ที่แจ้งเบาะแสสามารถติดตามผลการแจ้งได้โดยใส่รหัสอ้างอิงที่ได้รับแจ้ง
เบาะแส