ค้นหา
ข่าวสารเพื่อสมาชิก
...
ขายบุหรี่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ผิดกฎหมาย!! มีโทษทั้งจำคุกและปรับ
ข่าวเด่น

พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ได้มีการปรับปรุงข้อกำหนดใน พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2530 เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการควบคุมดูแลมากขึ้น โดยมีเนื้อหาหลักดังนี้ ห้ามขายหรือให้บุหรี่แก่บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปี และห้ามผู้ใดใช้ จ้าง วาน หรือยินยอมให้บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี ขายหรือให้บุหรี่ หากฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 30,000 บาท ทางออกสำหรับเรื่องนี้ คือ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอายุของผู้ซื้อบุหรี่ ให้ผู้ขายแจ้งบุคคลดังกล่าวให้แสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นที่แสดงอายุของบุคคลนั้นก่อน ห้ามแบ่งขายบุหรี่แบบแยกมวน ต้องขายแบบทั้งซอง เนื่องจากการขายบุหรี่แบบแบ่งมวนนั้น ทำให้วัยรุ่นและเยาวชนซื้อหาได้ง่ายขึ้น หากฝ่าฝืนเรื่องนี้มีดทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท ห้ามผู้ขายปลีก ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบโดยวิธีการ ดังนี้ ขายโดยใช้เครื่องขาย ขายผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และขายนอกสถานที่ ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 30,000 บาท มีการลดแลกแจกแถม ให้สิทธิประโยชน์ชิงโชค ชิงรางวัล และแสดงราคา ณ จุดขาย จูงใจให้ผู้บริโภค ปรับไม่เกิน 40,000 บาท และ เร่ขาย ปรับไม่เกิน 20,000 บาท ห้ามตั้งโชว์หรือแสดงผลิตภัณฑ์ยาสูบ ณ สถานที่ขายให้ผู้ซื้อหรือประชาชนมองเห็น ปรับไม่เกิน 40,000 บาท สถานที่ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ มีการกำหนด 4 สถานที่คือ วัด สถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา สถานพยาบาล ร้านขายยา สถานศึกษาทุกระดับ และสวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 40,000 บาท

อ่านต่อ
...
ธัญญศรัณ แสงทอง ผู้บริหารใหม่ไฟแรง พร้อมลุยแก้ไขปัญหาบุหรี่เถื่อน
ข่าวเด่น

ผู้บริหารใหม่ที่น่าจับตามอง "ธัญญศรัณ แสงทอง" เข้ารับตำแหน่ง ผู้อำนวยการบริหารสมาคมการค้ายาสูบไทย โดยเข้ารับตำแหน่งตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2565  โดยมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะดำเนินงานตามภารกิจหลักของสมาคมฯ คือ การเป็นตัวแทนในการแสดงความคิดเห็นของสมาชิกร้านค้า ทั้งผู้ค้าส่งและค้าปลีกรวมถึงผู้จัดจำหน่าย และผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบโดยมุ่งเน้นด้านปัญหาที่ส่งผลกับธุรกิจยาสูบ นางสาวธัญญศรัณ แสงทอง ผู้อำนวยการบริหารสมาคมการค้ายาสูบไทย เป็นผู้มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ภาษีและกฎระเบียบจากองค์กรสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ที่ได้คลุกคลีในวงการธุรกิจการค้า ในการช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมและวิสาหกิจ ตลอดจนประสานงานระหว่างผู้ประกอบการ นักธุรกิจ ภาครัฐบาลของไทย เป็นเวลานานเกือบ 30 ปี  ที่พร้อมเป็นกระบอกเสียงให้กับร้านโซห่วย เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาผลกระทบจากปัญหาบุหรี่เถื่อนและช่วยเฝ้าระวังให้มีการขายบุหรี่ให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ซึ่งส่งผลกระทบเรื้อรังเพื่อช่วยเหลือร้านค้าอย่างเร่งด่วน คือ การระบาดของบุหรี่เถื่อน หลังพบมีร้านค้าขายบุหรี่หนีภาษีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในภาคใต้  โดยเตรียมผลักดันให้หน่วนงานที่เกี่ยวข้องเร่งปราบปรามอย่างจริงจัง เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ นางสาวธัญญศรัณ แสงทอง โดยสมาคมฯ พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือสมาชิกที่ได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับปัญหาบุหรี่เถื่อน และหากสมาชิกมีข้อเสนอแนะหรือข้อสงสัยใดๆ สามารถแจ้งผ่านช่องทางต่างๆ ของทางสมาคมฯ 

อ่านต่อ
...
ภาษีป้ายอัตราใหม่ อะไรเสียเท่าไหร่บ้าง
ข่าวเด่น

ภาษีป้ายอัตราใหม่ กำหนดให้อัตราภาษีป้ายมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ หลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่ง ส่านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วด่าเนินการต่อไปได้ ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว เป็นการแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 ( พ.ศ. 2535 ) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 โดยปรับปรุงอัตราภาษีป้ายที่มีอักษรไทยล้วน หรือป้ายที่มีตัวอักษรภาษาไทยปนกับอักษรต่างประเทศและปนกับภาพหรือเครื่องหมายอื่น หรือป้ายที่ ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ และกำหนดอัตรา ภาษีป้ายขึ้นใหม่ส่าหรับป้ายที่ใช้เครื่องจักรกล ป้ายอักษรวิ่ง และป้ายจออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการโฆษณามากกว่าหนึ่งภาพในหกสิบวินาทีโดยกำหนดให้ อัตราภาษีป้ายมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเพื่อให้การ จัดเก็บภาษีป้ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาการหารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 1. ให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 2. กำหนดอัตราภาษีป้ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ดังนี้   ประเภทป้าย อัตราตามบัญชีท้าย พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 อัตราปัจจุบัน อัตราตามร่างกฎกระทรวง 1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน 10 บาท / 500 ตร.ซม. 3 บาท / 500 ตร.ซม. 5 บาท / 500 ตร.ซม. 2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ และหรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมายอื่น 100 บาท / 500 ตร.ซม. 20 บาท / 500 ตร.ซม. 26 บาท / 500 ตร.ซม. 3. ป้ายดังต่อไปนี้ (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือ เครื่องหมายใด ๆ หรือไม่ (ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้ หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ 200 บาท / 500 ตร.ซม. 200 บาท / 500 ตร.ซม 40 บาท / 500 ตร.ซม. 40 บาท / 500 ตร.ซม. 50 บาท / 500 ตร.ซม. 40 บาท / 500 ตร.ซม. 4. ป้ายตามข้อ 1-3 ต่อไปนี้ (ก) มีข้อความ เครอื่ งหมายหรือภาพปรากฏอยู่ ในป้ายไม่เกิน 3 เดือน (ข) มีข้อความ เครอื่ งหมายหรือภาพปรากฏอยู่ ในป้ายเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน (ค) มีข้อความ เครอื่ งหมายหรือภาพปรากฏอยู่ ในป้ายเกิน 6 เดือน แต่ไม่เกิน 9 เดือน (ง) มีข้อความ เครอื่ งหมายหรือภาพปรากฏอยู่ ในป้ายเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน     1,010 บาท / 500 ตร.ซม. 1,020 บาท / 500 ตร.ซม. 1,030 บาท / 500 ตร.ซม. 1,040 บาท / 500 ตร.ซม.     *อัตราภาษีป้ายขั้นต่ำ หากคิดแล้วภาษีป้ายไม่ถึง 200 บาท ให้เก็บขั้นต่ำที่ 200 บาท *ป้ายที่ไม่เสียภาษี - ป้ายล้อเลื่อน (ต้องเลื่อนเก็บทุกวัน), ป้ายที่ติดในอาคาร, ป้ายชั่วคราว, ป้ายของราชการ, ป้ายของสถานศึกษา, ป้ายของวัด สมาคมฯ มูลนิธิ

อ่านต่อ
...
วันมีผลบังคับใช้ซองบุหรี่รูปแบบใหม่
ข่าวเด่น

ตามที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับใหม่ ซึ่งกำหนดให้ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าบุหรี่ซิกาแรตเพื่อขายในประเทศไทย ต้องปรับเปลี่ยนซองบุหรี่ซิกาแรตให้มีรูปแบบใหม่ตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับบุหรี่ซิกาแรตที่บรรจุอยู่ในซองหรือหีบห่อรูปแบบเก่ายังคงสามารถขายได้ต่อไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2565 เท่านั้น ทั้งนี้ สำหรับผู้ประกอบการร้านค้าปลีก ผู้จำหน่ายบุหรี่ซิกาแรตรายย่อย ที่ยังมีบุหรี่ที่บรรจุอยู่ในซองรูปแบบเก่าคงค้างอยู่ ร้านค้าปลีกยังสามารถขายได้ถึงวันที่ 10 เมษายน 2565 เท่านั้น หรือหากมีความกังวลว่า จะไม่สามารถขายหมดได้ตามกำหนดเวลา ขอให้ร้านค้าปลีกติดต่อตัวแทนผู้ค้าส่ง ผู้นำเข้า ผู้ผลิต เพื่อส่งคืนบุหรี่ซิกาแรตซองรูปแบบเก่าต่อไป   กรมควบคุมโรค ขอเน้นย้ำไปยังร้านค้าปลีกทั่วประเทศ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมาย โดยพนักงานเจ้าหน้าที่จะมีการลงตรวจบังคับใช้กฎหมายในทุกจังหวัดทั่วประเทศ หากพบร้านค้าฝ่าฝืนขายบุหรี่  ซิกาแรตซองรูปแบบเก่า หลังจากวันที่ 10 เมษายน 2565 จะมีความผิดฐานขายผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มิได้จัดให้มี  หีบห่อตามที่กฎหมายกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท ตามมาตรา 38 พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 กรณีมีข้อสงสัยเพิ่มเติมในการปฏิบัติตามกฎหมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค โทร. 02 590 3852 ข้อมูลจาก : กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค

อ่านต่อ
...
สมาคมการค้ายาสูบไทย ร้องหน่วยงานรัฐ พรรคการเมือง แก้ไขปัญหาบุหรี่เถื่อนเร่งด่วน
ข่าวเด่น

สมาคมการค้ายาสูบไทย กระตุ้นการแก้ปัญหาบุหรี่เถื่อน ประสานหน่วยงานภาครัฐ กระตุ้นให้เกิดการกวดขันและจับกุมมากขึ้น พร้อมร่อนจดหมายร้องพรรคการเมืองหวังเห็นนโยบายช่วยร้านค้าโชห่วยรายย่อย ชูประเด็นรายได้ลดฮวบเพราะบุหรี่เถื่อนเกลื่อนเมืองทั้งหน้าร้านและบนสังคมออนไลน์ในขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อร้านค้าในชุมชนที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่น รวมถึงการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตบุหรี่ ทำรัฐสูญรายได้มหาศาล  นางสาวธัญญศรัณ แสงทอง ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมการค้ายาสูบไทย เผยถึงสถานการณ์บุหรี่เถื่อนในปัจจุบัน ว่า “สมาคมการค้ายาสูบไทยรับทราบถึงสถานการณ์บุหรี่เถื่อนที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้และการซื้อขายบนโลกออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นสูงกว่า 97% ซึ่งสัดส่วนการบริโภคบุหรี่ผิดกฎหมายเพิ่มจาก 6.2% ในปี 2563 เป็น 10.3% ในปี 2564 สูงสุดในรอบ 10 ปี ทำรัฐสูญเสียรายได้กว่า 7,000 ล้านบาทต่อปี และร้านค้าที่จำหน่ายบุหรี่ถูกกฎหมายต้องขาดรายได้และกำไรหายไปกว่าร้อยละ 50 ต่อเดือน จึงเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องรีบแก้ไข  นางสาวธัญญศรัณเสริมว่า การขายบุหรี่มีต้นทุนสูงเนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนสำหรับการสต็อกสินค้า ขณะที่กำไรจากการขายบุหรี่ได้เพียงซองละ 3-4 บาทเท่านั้น แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของเงินหมุนเวียนในระดับชุมชนเพราะมีร้านค้ากว่า 500,000 รายทั่วประเทศที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับมหภาค การที่ปัญหาบุหรี่เถื่อนที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากจะกระทบกับรายได้ของร้านค้าแล้ว ยังทำให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีบุหรี่ได้น้อยลง ส่งผลให้จัดเก็บรายได้เข้าประเทศได้น้อยลงตามไปด้วย  “สมาคมฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจและมุ่งมั่นดำเนินงานในการประสานความร่วมมือเสมอมา โดยในปี 2565 สมาคมฯ ส่งหนังสือไปยังภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือในการปราบปรามบุหรี่เถื่อน แม้หน่วยงานภาครัฐจะเพิ่มความพยายามในการจับกุม แต่ปัญหาก็ยังคงรุนแรง สำหรับในปีนี้ สมาคมฯ มองเห็นโอกาสในการเร่งผลักดันให้การทำงานของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเรียกร้องให้พรรคการเมืองที่กำลังสู้ศึกเลือกตั้งในขณะนี้ นำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบาดของบุหรี่เถื่อนที่มีต่อร้านค้าระดับชุมชน กระตุ้นให้เกิดนโยบายที่เป็นรูปธรรมในการจับกุมปราบปราม ขจัดปัญหาคอรัปชั่นในพื้นที่” “สมาคมฯ และสมาชิกร้านโชห่วยกว่า 1 พันรายติดตามนโยบายพรรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้า ธุรกิจขนาดเล็ก และเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในการเลือกตั้ง 2566 แต่ก็ยังไม่เห็นว่ามีพรรคการเมืองไหนที่มีการออกนโยบายที่ชัดเจนกับเรื่องของการปราบปรามสินค้าผิดกฎหมายอย่างเช่นการปราบปรามบุหรี่เถื่อน บุหรี่หนีภาษี รวมไปถึงสินค้าอื่นๆ เช่นเหล้าหนีภาษี สมาคมฯ จึงอยากเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐและพรรคการเมืองแสดงนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาบุหรี่เถื่อนเพื่อช่วยเหลือร้านค้าอย่างเร่งด่วน” นางสาวธัญญศรัณ กล่างทิ้งท้าย 

อ่านต่อ
ข่าวเด่น
...
จับตานโยบายเชิงรุก สมาคมการค้ายาสูบไทย แก้ไขปัญหาแบบตรงเป้า
ข่าวเด่น

ปัญหายาสูบเป็นความท้าทายที่มีมาช้านานของอุตสาหกรรมยาสูบที่เป็นเสมือนไม้เบื่อไม้เมาให้กับเศรษฐกิจของไทย แน่นอนว่ายาสูบเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญในการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐ ขณะที่ยาสูบก็เป็นตัวปัญหาที่ก่อเกิดปัญหาด้านสุขภาพให้กับประชากรของประเทศ อีกทั้งธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องก็ล้วนแล้วแต่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกกับนโยบาย กฎระเบียบที่บังคับใช้จนขาดความสามารถในการแข่งขัน อีกทั้งยังเป็นแรงผลักดันให้เกิดการทะลักเข้าของบุหรี่เถื่อนเนื่องจากการกำหนดราคาขายที่สูงขึ้นตามข้อกฎหมาย เหล่านี้เป็นปัญหาที่ไม่ต่างจากปัญหาไก่กับไข่ ประเด็นนี้ TheReporterAsia จะพาไปรู้จักกับแนวคิดของการทำงานเชิงรุกเพื่อไขปัญหาที่กล่าวมา จาก “พี่ณี” หรือ นางสาวธัญญศรัณ แสงทอง ผู้อำนวยการ สมาคมการค้ายาสูบไทย หญิงคนใหม่ นางสาวธัญญศรัณ แสงทอง ผู้อำนวยการบริหารสมาคมการค้ายาสูบไทย กล่าวว่า หลังจากที่เข้ามารับตำแหน่ง ด้วยความที่มีพื้นฐานมาจากสภาหอการค้าอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายภาษีและกฎระเบียบ ทำให้เมื่อเข้ามารับตำแหน่งในสมาคมการค้ายาสูบไทย จึงต้องการเน้นไปที่การประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ ในการผลักดันปัญหาต่าง ๆ ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม อีกทั้งยังจะนำประสบการณ์กว่า 30 ปี ที่เกี่ยวข้องกับด้านกฎหมายภาษีเข้ามาช่วยผลักดันให้ปัญหาลุล่วง โดยจะนำแนวนโยบายต่าง ๆ ที่เคยจัดทำให้กับ สภาหอการค้าอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในภาคอุตสาหกรรมใหญ่ ทั้งส่วนของอุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ และไม่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงยาสูบด้วย ซึ่งก็จะได้นำแนวนโยบายดังกล่าวมาสานต่อเมื่อมาอยู่ที่สมาคมการค้ายาสูบไทย ก็คาดว่าจะสามารถประสบผลสำเร็จได้ตามเป้าหมาย ครึ่งปีที่ผ่านมา เราเห็นว่าในส่วนของยาสูบยังมีปัญหาที่ท้าทายและน่าศึกษาเชิงลึก พอเราศึกษาเชิงลึกในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาสูบโดยเฉพาะ เราจะเห็นว่ามีส่วนของการควบคุม ผ่านทาง พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ซึ่งเราจะต้องศึกษาดูว่า พรบ.ฉบับนี้มีความเกี่ยวโยง และมีความสำคัญที่เราจะต้องตระหนักถึงอะไรบ้าง ซึ่งหลัก ๆ ที่เราเห็นตอนนี้ คือเรื่องบุหรี่เถื่อน ที่ค่อยข้างมีความรุนแรงมากขึ้นพอสมควร ทำให้ในปีนี้เราจะต้องมีการผลักดันเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องจากที่มีการทำอยู่แล้วในช่วงปีที่ผ่านมา กลยุทธ์เชิงรุก แก้ปัญหาการลักลอบค้าบุหรี่เถื่อนในปีนี้ ส่วนแรกเราจะผลักดันและประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐในเชิงรุก จากที่เคยทำเพียงแค่ส่งหนังสือเข้าไปยังองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เราจะปรับรูปแบบในการเข้าไปพบปะพูดคุยในเชิงรุก ซึ่งคาดว่าน่าจะได้ผลลัพธ์ที่มากกว่า เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันด้านการปราบปรามการลักลอบค้าบุหรี่เถื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น แนวทางการขึ้นภาษีบุหรี่ ทำให้บุหรี่ถูกฎหมายมีราคาที่สูงขึ้น เมื่อราคาสูงขึ้น ผู้สูบจึงนิยมไปสูบในราคาที่ถูกกว่า ซึ่งก็คือบุหรี่เถื่อน และส่งผลให้ยอดขายบุหรี่ถูกกฎหมายลดลง และส่งผลกระทบต่อไปยังเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบที่ขายใบยาสูบได้ในปริมาณที่ลดลง ซึ่งเมื่อศึกษาดูข้อมูลแล้ว เจตนารมณ์ของกฎหมายการเพิ่มภาษียาสูบแล้วจะเห็นว่าเป็นการมุ่งเน้นเรื่องของสุขภาพเป็นหลัก ขณะที่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตยาสูบนั้น เมื่อทำถูกฎหมายแล้วแต่กลับถูกลดทอนความสามารถในการแข่งขันด้านราคากับบุหรี่เถื่อนเป็นอย่างมาก ซึ่งก็ทำให้บางร้านอาจจะมีการตัดสินใจลักลอบนำบุหรี่เถื่อนเข้ามาจำหน่าย ในขณะที่บางร้านก็เกรงกลัวและไม่กล้าที่จะนำเข้ามาขาย กลายเป็นปัญหาต่อเนื่องที่เกิดขึ้นตามมา ประเด็นแรกในความตั้งใจของเราจึงเป็นความมุ่งมั่นที่จะทำงานในเชิงรุก เพื่อประสานไปยังหน่วยงานปราบปรามและส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการกวดขันและจับกุมบุหรี่เถื่อนที่เพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากการผลักดันที่เราได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนนี้จะเป็นหัวใจสำคัญที่เราจะผลักดัน ประเด็นที่สอง เป็นส่วนของโครงการที่ช่วยรณรงค์ให้เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี หลีกเลี่ยงในการสูบบุหรี่ ซึ่งจะเป็นการรณรงค์ผ่านแคมเปญ “โชว์การ์ด” เพื่อรณรงค์ของความร่วมมือผ่านเพื่อนร้านค้าสมาชิก ในการที่จะไม่จำหน่ายบุหรี่ให้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ปัญหาการสูบบุหรี่ในเด็กและเยาวชนยังเป็นเรื่องที่สังคมไทยมีความกังวล จากผลสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร ปี 2564 พบว่ายังมีเยาวชนอายุระหว่าง 15-19 ปีกว่า 260,000 คน หรือประมาณ ร้อยละ 6.2 ของประชากรที่มีอายุมากกว่า 15 ปีในประเทศไทยเป็นผู้สูบบุหรี่ แน่นอนว่าคนในสังคมส่วนหนึ่งก็มองมาที่ร้านค้าว่าเป็นต้นเหตุที่ปล่อยให้มีการขายบุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกประเภทให้กับกลุ่มเยาวชนได้ โดยช่วงที่ผ่านมา เราได้ออกพบปะสมาชิกสมาคมฯ เพื่อทำความเข้าใจในการงดจำหน่ายบุหรี่ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งจากการสำรวจกลุ่มสมาชิกพันกว่าราย พบว่ามีความเข้าใจในการทำได้ถูกต้องตามกฎหมายราว 80% ขณะที่อีกราว 20% ก็อาจจะยังไม่มีความเข้าสักเท่าไหร่ ซึ่งก็จะดำเนินการรณรงค์ต่อไปในปี 2566 นี้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การสำรวจยังพบว่ากลุ่มร้านค้าทั่วไป ยังไม่มีความเข้าใจในส่วนของวิชาการ กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้ายาสูบมากนัก ซึ่งเราก็จะพยายามส่งเสริมและให้ความรู้เพื่อให้ผู้ค้ามีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในการจำหน่ายยาสูบต่อไป ทั้งนี้ในอุตสาหกรรมยาสูบ ส่วนใหญ่จะเป็นการขับเคลื่อนด้วยร้านค้าปลีก ร้านค้ารายย่อยทั่วไปเป็นหลัก ซึ่งเขาก็อาจจะไม่มีความสนใจในด้านความรู้ จุดนี้เราจึงต้องประสานกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อสนับสนุนให้ร้านค้าเกิดการตระหนักรู้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดความมั่นคงด้านการค้ายาสูบมากขึ้นตามไปด้วย "เราพยายามจะทำให้แตกต่างจากที่ผ่านมา โดยการเข้าพบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกระตุ้นให้เกิดรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น" การค้ายาสูบไม่ว่าจะเป็นรายใหญ่หรือรายย่อย ควรได้รับการสนับสนุนเหมือนกับภาคธุรกิจอื่น ๆ แต่เนื่องจากในธุรกิจยาสูบมีรายย่อย ๆ เยอะ นอกจากการที่ความรู้ความเข้าใจด้านการทำธุรกิจยาสูบที่ถูกต้องยังมีอยู่น้อยแล้ว การที่เราจะเข้าไปพบปะหารือกับรายย่อย ๆ ตลอดจนการรวบรวมประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นก็ดี ทำให้เรายังไม่เข้าใจได้ลึกซึ้งมากพอ ซึ่งยังมีความไม่เข้าใจของร้านค้าทำให้เราไม่ได้รับข้อมูลที่แท้จริงจากร้านค้าที่เราจะต้องเข้าไปแก้ปัญหา ทำให้สัดส่วนในประเด็นปัญหาที่เราได้จากทั้งรายใหญ่ที่มีเข้ามาเยอะ และรายย่อยที่ยังมีไม่มากพอ ในฐานะที่เรามาจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการค้าส่ง-ค้าปลีก ของสภาหอการค้าฯ ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนด้านการค้าในภาพใหญ่ของประเทศไทย ในฐานะที่เราเป็นสมาชิกทำให้เราสามารถส่งต่อประเด็นปัญหาต่าง ๆ ผ่านไปยังคณะกรรมการชุดดังกล่าว เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยเราผลักดันประเด็นปัญหาที่เรามี และอาจจะมีการเข้าร่วมการประชุมกับคณะกรรมการชุดดังกล่าว ตลอดจนการทำหนังสือนำส่งปัญหาเสนอต่อประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยต่อไปในอนาคต อนึ่ง การจำแนก บุหรี่เถื่อน แบ่งออกเป็น 3 ประเภทที่สำคัญ 1 บุหรี่ที่ผลิตในต่างประเทศแต่ลักลอบนำเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ไม่ผ่านขึ้นตอนทางภาษี ทำให้ต้นทุนต่ำ แต่เสี่ยงความเสียหายระหว่างการขนส่ง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายกับผู้สูบได้จากการปนเปื้อนเชื้อที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บรักษาและขนส่งผิดวิธี 2 บุหรี่ที่มีการหิ้วเข้ามาจากต่างประเทศ ผ่านกระบวนการทางภาษีได้ตามที่กฎหมายกำหนด โดย 1 คนไทยสามารถหิ้วบุหรี่กลับเข้ามาในราชอาณาจักรไทยได้ไม่เกิน200มวนหรือ 1 คอตตอน และ 3 บุหรี่ที่ผลิตขึ้นมาแบบผิดกฎหมาย หรือไม่ผ่านขึ้นตอนการผลิตมาตรฐานแต่อย่างใด ซึ่งนับว่าเป็นประเภทยาสูบที่มีความอันตรายต่อผู้สูบมากที่สุด ขณะที่โครงสร้างการจัดเก็บภาษีบุหรี่ มีด้วยกัน 2 อัตรา แบ่งเป็นบุหรี่ที่มีการจำหน่ายไม่เกินซองละ 72 บาท คิดภาษีเพิ่มในอัตราร้อยละ 25 และบุหรี่ที่มีราคาจำหน่ายเกิน 72 บาท จะต้องจ่ายภาษีเพิ่มในอัตราร้อยละ 42 โดยเริ่มมีการจัดเก็บมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 โดยคาดว่าจะมีการกำหนดโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่ราวต้นปี 2566 เพื่อพิจารณาการจัดเก็บที่รอบด้านมากขึ้น สะท้อนด้านการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ สุขภาพประชาชน ตลอดจนการแก้ไขปัญหาบุหรี่เถื่อนที่ทะลักเข้ามาจากราคาบุหรี่ที่แพงขึ้น ขอบคุณที่มา : https://thereporter.asia/2023/01/17/ttta/ 

อ่านต่อ
...
ชี้ปัญหาใต้พรมของการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่
ข่าวเด่น

ในโอกาสวันงดสูบบุหรี่โลก วันที่ 31 พฤษภาคม ในปีนี้ ขอขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่และการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับอันตรายจากควันยาสูบเพื่อพัฒนาสุขภาวะของผู้สูบบุหรี่ บุคคลรอบข้าง รวมถึงผู้ไม่สูบบุหรี่ในประเทศไทยผ่านมาตรการที่เข้มงวดเสมอมา เพราะบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นตัวแปรสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (Non-Communicable Disease หรือ NCD) ที่คร่าชีวิตคนไทยปีละกว่า 72,000 คน โดยโรคที่เป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญ อันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพที่เห็นเป็นที่ประจักษ์นี้ทำให้มาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบได้รับการยอมรับและถูกบังคับใช้อย่างเข้มงวด โดยเฉพาะกับบุหรี่มวนที่ผลิตจากโรงงานทั้งในประเทศและผ่านการนำเข้าอย่างถูกกฎหมายจากผู้ผลิตต่างชาติ ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ที่มีผลให้บุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานต้องปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์และมีภาพคำเตือนเกี่ยวกับอันตรายด้านสุขภาพ รวมถึงห้ามมีการสื่อสารและโฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบ ในส่วนของร้านค้าปลีก มีการกำหนดอายุผู้ซื้อและผู้ขาย การตั้งแสดงผลิตภัณฑ์ยาสูบที่หน้าร้านและการแบ่งมวนขายแบบในอดีตก็ไม่สามารถทำได้อีกต่อไป นอกจากนี้ยังมีมาตรการที่มุ่งเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้สูบบุหรี่ เช่น การห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ การให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของบุหรี่ และตัวผู้สูบเองก็ต้องแบกรับภาระด้านราคาที่เพิ่มสูงขึ้นจากการปรับขึ้นภาษีอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร ปี 2564 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่าในประเทศไทยมีผู้บริโภคยาสูบที่อายุ 15 ปีขึ้นไปทั้งหมดกว่า 9.9 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้บริโภคยาเส้น 4,608,837 คน คิดเป็นกว่าครึ่งของจำนวนทั้งหมด ซึ่งยาเส้นนั้นมีอันตรายไม่ต่างจากบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานเพราะจำเป็นต้องมีการจุดไฟเผาเพื่อการบริโภคอยู่ แต่มาตรการต่างๆ ที่มีต่อผู้ผลิต ผู้นำเข้า ร้านค้าปลีก รวมถึงผู้บริโภคบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานกลับไม่ได้ถูกนำไปใช้กับยาเส้นในมาตรฐานเดียวกัน ยาเส้นถูกจัดเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย ทำให้มีการเก็บภาษีต่ำกว่าบุหรี่มาก ราคาของยาเส้นจึงถูกกว่าบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานมาก และมีการวางขายได้ทั่วไปอย่างอิสระตามร้านค้าชุมชนเพราะความเข้มงวดของกฎระเบียบยังไม่เท่าเทียมกับบุหรี่มวน สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มุ่งจะยกระดับสุขภาวะของคนไทยถูกบังคับใช้กับการบริโภคยาสูบเพียง 50% ของประเทศเท่านั้น นอกจากนี้ ตามรายงานประจำปีฉบับล่าสุดของการยาสูบแห่งประเทศไทยปี 2565 ระบุว่าจำนวนบุหรี่ผิดกฎหมายในตลาดเพิ่มขึ้นถึง 70% โดยคิดเป็นสัดส่วนการบริโภคกว่า 10.3% ในปี 2564 ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากบุหรี่เถื่อนจะถูกพบได้ทั่วไปตามหน้าร้านที่ไม่ได้มีใบอนุญาตแล้ว ยังแพร่ระบาดบนเว็บไซต์ออนไลน์ และโซเชียลมีเดียด้วย โดยการสำรวจในเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2565 ที่ผ่านมา พบบทสนทนาเกี่ยวกับการซื้อขายบุหรี่เถื่อนบนโซเชียลมีเดียโตขึ้นถึง 97% ซึ่งการแพร่ระบาดของบุหรี่เถื่อนนี้เป็นบ่อนทำลายประสิทธิผลของมาตรการควบคุมยาสูบทั้งมาตรการด้านภาษีและมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี ชัดเจนว่ามาตรการควบคุมที่เข้มงวดกับบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานอย่างถูกกฎหมายและร้านค้าที่ขายบุหรี่อย่างถูกกฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้เลยกับยาเส้นและบุหรี่ที่ผิดกฎหมาย ตอกย้ำถึงปัญหาที่ซ่อนเร้นของมาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ไม่ตอบโจทย์ภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ปัญหาบุหรี่เถื่อนไม่ได้เป็นความท้าทายต่ออุตสาหกรรมยาสูบไทยเพียงประเทศเดียว แต่เป็นความท้าทายต่อนานาประเทศที่ใช้กลไกด้านภาษีมาลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ตามแนวทางที่ได้รับจากกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (Framework Conventional on Tobacco Control: FCTC) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เช่นกัน โดยในปีนี้จะมีการจัดประชุมรัฐภาคี (Conference of the Parties หรือ COP) ของกรอบอนุสัญญาครั้งที่ 10 ขึ้นที่ประเทศปานามา รวมถึงการประชุมประเทศสมาชิกของพิธีสารเพื่อกำจัดการค้าที่ผิดกฎหมายในผลิตภัณฑ์ยาสูบ ครั้งที่ 3 เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการปราบปรามบุหรี่เถื่อนให้มีประสิทธิภาพด้วย การเลือกประเทศปานามาเป็นสถานที่จัดประชุมระดับโลกครั้งนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่นที่จะนำปัญหาบุหรี่เถื่อนขึ้นมาถกเถียงกันอย่างเปิดเผยเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายหลักในการลดจำนวนผู้สูบบุหรี่อย่างเป็นรูปธรรมให้กับกรอบอนุสัญญาฯ มากกว่าการลงนามที่ไม่มีข้อผูกมัดเช่นในอดีต La Estrella สื่อท้องถิ่นของปานามารายงานว่าปานามาเปรียบเสมือนศูนย์กลางของการส่งออกบุหรี่เถื่อนไปสู่ตลาดใต้ดินทั่วโลก ในปี 2022 การบริโภคยาสูบกว่า 92% ของปานามาเป็นการบริโภคบุหรี่เถื่อน ซึ่งคิดเป็น 9 ใน 10 ส่วนของการบริโภคยาสูบทั้งหมดของประเทศ นอกจากนี้ปานามายังส่งออกบุหรี่เถื่อนไปยังประเทศเพื่อนบ้านในทวีปอเมริกาและประเทศอื่นๆ ถึงกว่า 8 พันล้านมวนต่อปี เมื่อมีการขับเคลื่อนจากองค์กรระดับโลกแล้วก็คงถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องตอบรับและปรับมาตรการควบคุมยาสูบให้เหมาะกับบริบทภายในประเทศด้วยมาตรฐานที่เท่าเทียมกับทุกผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มีความอันตรายไม่ต่างกัน รวมถึงขยายการบังคับใช้สู่บุหรี่เถื่อนที่มีสัดส่วนการบริโภคมากกว่า 10% ด้วย เพราะชัดเจนแล้วว่าการบังคับใช้มาตรการแบบสองมาตรฐานส่งผลเสียกับการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานเท่านั้น ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งของอุตสาหกรรมไม่ได้อยู่ภายใต้มาตรการควบคุมใดๆ และไม่เคยถูกหยิบยกขึ้นมานำเสนอแม้จะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้จำนวนผู้บริโภคยาสูบของไทยคงที่มานาน การลงนามในพิธีสารเกี่ยวกับการต่อต้านการค้าบุหรี่ผิดกฎหมาย หรือความพยายามในการสร้างระบบแกะรอยติดตามจึงอาจจะยังไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด เพราะเป็นการบังคับใช้แต่ผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบ ขณะที่การลักลอบค้าบุหรี่ผิดกฎหมายไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายใดๆ แต่สามารถตีตลาดของการยาสูบแห่งประเทศไทยได้อย่างง่ายดาย เมื่อไม่พูดถึงปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่ใต้พรมก็คงไม่อาจบรรลุเป้าหมายทางสาธารณสุขของประเทศในระยะยาวได้ ขอบคุณที่มา: https://www.khaosod.co.th/

อ่านต่อ
...
สมาคมการค้ายาสูบไทย ขอแจ้งเลื่อนการประชุมใหญ่สามัญประจำปี เป็นวันอังคาร ที่ 23 เมษายน 2567 เวลา 13.00น. โดยทางออนไลน์ผ่าน Zoom และ Onsite
ข่าวเด่น

ตามที่สมาคมฯได้เรียนเชิญสมาชิกเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี เมื่อวันอังคาร ที่ 9 เมษายน 2567 เวลา 13.00 น. ผ่าน Zoom แอพพลิเคชั่น นั้น เนื่องจากมีสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุมตามที่กำหนด ทำให้ไม่สามารถดำเนินการประชุมต่อไปได้ สมาคมฯจึงขอเลื่อนการประชุมฯและเรียนเชิญสมาชิกเข้าร่วมประชุม ตามวัน เวลา ผ่านระบบออนไลน์ Zoomสามารถดาวน์โหลดรายละเอียดต่าง ๆ  ได้ที่ลิงก์นี้ (เอกสารขอเชิญเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 (ครั้งที่ 2)) หรือ ตามคิวอาร์โค้ด หากมีข้อสงสัยสอบถามโทร 094 172 4419, 094 285 9448

อ่านต่อ
...
สมาคมโชห่วยยาสูบหนุนสรรพสามิตลุยปราบบุหรี่หนีภาษี เผยบุหรี่เถื่อนยังชุกหนัก ลามขึ้นภาคใต้ตอนบน
ข่าวเด่น

นางสาวธัญญศรัณ แสงทอง ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมการค้ายาสูบไทย เปิดเผยหลังทราบข่าว ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต ประกาศเป้าหมายการทำงานของกรมฯ ในปีงบประมาณ 2566 โดยจะให้ความสำคัญกับปราบปรามกระบวนการลักลอบเลี่ยงภาษีว่า สมาคมฯ รู้สึกยินดีที่ทราบว่าการแก้ไขปัญหาบุหรี่เถื่อนเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของกรมสรรพสามิต และอยากขอบคุณเจ้าหน้าที่สรรพสามิตร่วมกับศุลกากรและตำรวจสอบสวนกลางที่บุกทลายโกดังเก็บบุหรี่เถื่อนใน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ได้เมื่อเร็วๆ นี้ จนสามารถยึดบุหรี่เถื่อนกว่า 3.5 แสนซอง ซึ่งบุหรี่เถื่อนเหล่านี้หากหลุดมาขายในตลาดได้ ก็เท่ากับรัฐบาลต้องสูญเสียรายได้ภาษีไปกว่า 22 ล้านบาท จากสถิติการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตทั่วประเทศ พบว่าปัญหาบุหรี่เถื่อนมีความรุนแรงมากขึ้น การจับกุมคดียาสูบในปีงบประมาณ 2565 (ตุลาคม 2564 – สิงหาคม 2565) มี้ทั้งสิ้น 8,534 คดี จำนวน 3.3 ล้านซอง คิดเป็นค่าปรับ 230.48 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2564 จำนวนคดีการจับกุมเพิ่มขึ้นกว่า 32% และจำนวนซองที่จับกุมได้มีมากขึ้นถึง 460%  "บุหรี่เถื่อนไม่ได้สร้างปัญหาแค่รายได้ภาษีของรัฐที่หายไป แต่ร้านค้าที่ขายบุหรี่อย่างถูกกฎหมายก็ได้รับผลกระทบด้วย ที่ผ่านมาสมาชิกของสมาคมฯ บางรายแทบจะขายสินค้าไม่ได้ กำไรก็น้อยลง แถมต้นทุนยังจมเพราะขายบุหรี่สู้กับบุหรี่เถื่อนซึ่งราคาถูกกว่าถึง 2-3 เท่าไม่ไหว โดยเฉพาะร้านค้าในจังหวัดสงขลา สตูล พัทลุง ที่เป็นศูนย์กลางของบุหรี่เถื่อน ยังไม่รวมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะที่ตากใบ นราธิวาสที่จับรายใหญ่ได้บ่อยครั้งแต่ไม่ค่อยได้ผู้ต้องหา" ทั้งนี้ล่าสุด สมาคมฯ ได้รับทราบจากสมาชิกว่าตอนนี้ความรุนแรงของบุหรี่เถื่อนเริ่มขยายตัวไปยังจังหวัดภาคใต้ตอนบน เช่น นครศรีธรรมราช มีร้านค้าบุหรี่เถื่อนแบบสแตนด์อะโลน (stand alone) คือเปิดหน้าร้านขายบุหรี่หนีภาษีอย่างเดียวเพิ่มขึ้นทวีคูณ และร้านค้าบุหรี่เถื่อนเหล่านี้ยังทำไดเร็คเซลแบบเย้ยกฎหมาย เช่นจัดโปรโมชั่นลดราคา แจกโบรชัวร์แนะนำสินค้า และส่งพนักงานเซลล์มาเสนอบุหรี่เถื่อนให้โชห่วยรับไว้ขาย อย่างไรก็ตามสมาคมฯ อยากวอนให้เจ้าหน้าที่ระดมกวาดล้างและจับกุมบุหรี่เถื่อนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นทางคือเครือข่ายลักลอบนำเข้าตามแนวตะเข็บชายแดน และทางทะเลจากประเทศเพื่อนบ้านไปจนถึงปลายทาง รวมทั้งบุหรี่ปลอมแสตมป์ยาสูบของสรรพสามิตที่ทะลักเข้ามาทางภาคตะวันออกจากประเทศเพื่อนบ้านด้านตะวันออก รวมทั้งตรวจสอบจับกุมพวกร้านค้าที่เปิดหน้าร้านขายอย่างผิดกฎหมายเช่นที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และร้านค้าออนไลน์ต่างๆ ซึ่งร้านพวกนี้กระทำผิดซ้ำซาก โดนจับแล้วก็ยังกลับมาเปิดขายได้อีก ซึ่งจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือกฎระเบียบ แนวทางการปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐจับกุมหรือปราบปรามให้เข้มงวด ร้านค้าผิดกฎหมายเหล่านี้จะได้เกรงกลัวต่อกฎหมายมากขึ้น

อ่านต่อ

สมัครสมาชิก

สำหรับผู้ประกอบกิจการการค้าผลิตภัณฑ์ยาสูบ และ หรือวิสาหกิจ ในทางการค้าอื่นที่เกี่ยวข้องกับการค้า ผลิตภัณฑ์ยาสูบโดยตรง อัตราค่าลงทะเบียนแรกเข้า 200 บาท และค่าบำรุงสมาคม 100 บาท / 2 ปี (ปีละ 50 บาท เก็บทุกๆ สองปี)

สมาชิกประเภทวิสามัญ สำหรับผู้มีความสนใจหรือมีความรู้เกี่ยวกับยาสูบหรือ ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือ ผู้ประกอบวิสาหกิจในทางการค้า อุตสาหกรรม หรือการเงิน การขนส่งยาสูบ หรือผลิตภัณฑ์ยาสูบ หรือธุรกิจใดๆ อันเกี่ยวเนื่องกับยาสูบ หรือ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ อัตราค่าลงทะเบียนแรกเข้า 1,000 บาท และค่าบำรุงสมาคม 1,000 ต่อปี

แจ้งเบาะแสบุหรี่ผิดกฎหมาย

พบเห็นการซื้อขายบุหรี่ผิดกฎหมาย สามารถแจ้งผ่านช่องทางออนไลน์ของทางสมาคม และสมาคมจะนำข้อมูลเหล่านี้ยื่นต่อหน่อยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ผู้ที่แจ้งเบาะแสสามารถติดตามผลการแจ้งได้โดยใส่รหัสอ้างอิงที่ได้รับ

แจ้ง
เบาะแส