จับตานโยบายเชิงรุก สมาคมการค้ายาสูบไทย แก้ไขปัญหาแบบตรงเป้า

ปัญหายาสูบเป็นความท้าทายที่มีมาช้านานของอุตสาหกรรมยาสูบที่เป็นเสมือนไม้เบื่อไม้เมาให้กับเศรษฐกิจของไทย แน่นอนว่ายาสูบเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญในการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐ ขณะที่ยาสูบก็เป็นตัวปัญหาที่ก่อเกิดปัญหาด้านสุขภาพให้กับประชากรของประเทศ อีกทั้งธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องก็ล้วนแล้วแต่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกกับนโยบาย กฎระเบียบที่บังคับใช้จนขาดความสามารถในการแข่งขัน อีกทั้งยังเป็นแรงผลักดันให้เกิดการทะลักเข้าของบุหรี่เถื่อนเนื่องจากการกำหนดราคาขายที่สูงขึ้นตามข้อกฎหมาย เหล่านี้เป็นปัญหาที่ไม่ต่างจากปัญหาไก่กับไข่ ประเด็นนี้ TheReporterAsia จะพาไปรู้จักกับแนวคิดของการทำงานเชิงรุกเพื่อไขปัญหาที่กล่าวมา จาก “พี่ณี” หรือ นางสาวธัญญศรัณ แสงทอง ผู้อำนวยการ สมาคมการค้ายาสูบไทย หญิงคนใหม่
นางสาวธัญญศรัณ แสงทอง ผู้อำนวยการบริหารสมาคมการค้ายาสูบไทย กล่าวว่า หลังจากที่เข้ามารับตำแหน่ง ด้วยความที่มีพื้นฐานมาจากสภาหอการค้าอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายภาษีและกฎระเบียบ ทำให้เมื่อเข้ามารับตำแหน่งในสมาคมการค้ายาสูบไทย จึงต้องการเน้นไปที่การประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ ในการผลักดันปัญหาต่าง ๆ ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม อีกทั้งยังจะนำประสบการณ์กว่า 30 ปี ที่เกี่ยวข้องกับด้านกฎหมายภาษีเข้ามาช่วยผลักดันให้ปัญหาลุล่วง
โดยจะนำแนวนโยบายต่าง ๆ ที่เคยจัดทำให้กับ สภาหอการค้าอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในภาคอุตสาหกรรมใหญ่ ทั้งส่วนของอุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ และไม่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงยาสูบด้วย ซึ่งก็จะได้นำแนวนโยบายดังกล่าวมาสานต่อเมื่อมาอยู่ที่สมาคมการค้ายาสูบไทย ก็คาดว่าจะสามารถประสบผลสำเร็จได้ตามเป้าหมาย
ครึ่งปีที่ผ่านมา เราเห็นว่าในส่วนของยาสูบยังมีปัญหาที่ท้าทายและน่าศึกษาเชิงลึก พอเราศึกษาเชิงลึกในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาสูบโดยเฉพาะ เราจะเห็นว่ามีส่วนของการควบคุม ผ่านทาง พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ซึ่งเราจะต้องศึกษาดูว่า พรบ.ฉบับนี้มีความเกี่ยวโยง และมีความสำคัญที่เราจะต้องตระหนักถึงอะไรบ้าง ซึ่งหลัก ๆ ที่เราเห็นตอนนี้ คือเรื่องบุหรี่เถื่อน ที่ค่อยข้างมีความรุนแรงมากขึ้นพอสมควร ทำให้ในปีนี้เราจะต้องมีการผลักดันเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องจากที่มีการทำอยู่แล้วในช่วงปีที่ผ่านมา
กลยุทธ์เชิงรุก แก้ปัญหาการลักลอบค้าบุหรี่เถื่อน
ในปีนี้ ส่วนแรกเราจะผลักดันและประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐในเชิงรุก จากที่เคยทำเพียงแค่ส่งหนังสือเข้าไปยังองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เราจะปรับรูปแบบในการเข้าไปพบปะพูดคุยในเชิงรุก ซึ่งคาดว่าน่าจะได้ผลลัพธ์ที่มากกว่า เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันด้านการปราบปรามการลักลอบค้าบุหรี่เถื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
แนวทางการขึ้นภาษีบุหรี่ ทำให้บุหรี่ถูกฎหมายมีราคาที่สูงขึ้น เมื่อราคาสูงขึ้น ผู้สูบจึงนิยมไปสูบในราคาที่ถูกกว่า ซึ่งก็คือบุหรี่เถื่อน และส่งผลให้ยอดขายบุหรี่ถูกกฎหมายลดลง และส่งผลกระทบต่อไปยังเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบที่ขายใบยาสูบได้ในปริมาณที่ลดลง ซึ่งเมื่อศึกษาดูข้อมูลแล้ว เจตนารมณ์ของกฎหมายการเพิ่มภาษียาสูบแล้วจะเห็นว่าเป็นการมุ่งเน้นเรื่องของสุขภาพเป็นหลัก
ขณะที่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตยาสูบนั้น เมื่อทำถูกฎหมายแล้วแต่กลับถูกลดทอนความสามารถในการแข่งขันด้านราคากับบุหรี่เถื่อนเป็นอย่างมาก ซึ่งก็ทำให้บางร้านอาจจะมีการตัดสินใจลักลอบนำบุหรี่เถื่อนเข้ามาจำหน่าย ในขณะที่บางร้านก็เกรงกลัวและไม่กล้าที่จะนำเข้ามาขาย กลายเป็นปัญหาต่อเนื่องที่เกิดขึ้นตามมา
ประเด็นแรกในความตั้งใจของเราจึงเป็นความมุ่งมั่นที่จะทำงานในเชิงรุก เพื่อประสานไปยังหน่วยงานปราบปรามและส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการกวดขันและจับกุมบุหรี่เถื่อนที่เพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากการผลักดันที่เราได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนนี้จะเป็นหัวใจสำคัญที่เราจะผลักดัน ประเด็นที่สอง เป็นส่วนของโครงการที่ช่วยรณรงค์ให้เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี หลีกเลี่ยงในการสูบบุหรี่ ซึ่งจะเป็นการรณรงค์ผ่านแคมเปญ “โชว์การ์ด” เพื่อรณรงค์ของความร่วมมือผ่านเพื่อนร้านค้าสมาชิก ในการที่จะไม่จำหน่ายบุหรี่ให้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
ปัญหาการสูบบุหรี่ในเด็กและเยาวชนยังเป็นเรื่องที่สังคมไทยมีความกังวล จากผลสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร ปี 2564 พบว่ายังมีเยาวชนอายุระหว่าง 15-19 ปีกว่า 260,000 คน หรือประมาณ ร้อยละ 6.2 ของประชากรที่มีอายุมากกว่า 15 ปีในประเทศไทยเป็นผู้สูบบุหรี่ แน่นอนว่าคนในสังคมส่วนหนึ่งก็มองมาที่ร้านค้าว่าเป็นต้นเหตุที่ปล่อยให้มีการขายบุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกประเภทให้กับกลุ่มเยาวชนได้
โดยช่วงที่ผ่านมา เราได้ออกพบปะสมาชิกสมาคมฯ เพื่อทำความเข้าใจในการงดจำหน่ายบุหรี่ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งจากการสำรวจกลุ่มสมาชิกพันกว่าราย พบว่ามีความเข้าใจในการทำได้ถูกต้องตามกฎหมายราว 80% ขณะที่อีกราว 20% ก็อาจจะยังไม่มีความเข้าสักเท่าไหร่ ซึ่งก็จะดำเนินการรณรงค์ต่อไปในปี 2566 นี้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การสำรวจยังพบว่ากลุ่มร้านค้าทั่วไป ยังไม่มีความเข้าใจในส่วนของวิชาการ กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้ายาสูบมากนัก ซึ่งเราก็จะพยายามส่งเสริมและให้ความรู้เพื่อให้ผู้ค้ามีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในการจำหน่ายยาสูบต่อไป
ทั้งนี้ในอุตสาหกรรมยาสูบ ส่วนใหญ่จะเป็นการขับเคลื่อนด้วยร้านค้าปลีก ร้านค้ารายย่อยทั่วไปเป็นหลัก ซึ่งเขาก็อาจจะไม่มีความสนใจในด้านความรู้ จุดนี้เราจึงต้องประสานกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อสนับสนุนให้ร้านค้าเกิดการตระหนักรู้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดความมั่นคงด้านการค้ายาสูบมากขึ้นตามไปด้วย
"เราพยายามจะทำให้แตกต่างจากที่ผ่านมา โดยการเข้าพบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกระตุ้นให้เกิดรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น"
การค้ายาสูบไม่ว่าจะเป็นรายใหญ่หรือรายย่อย ควรได้รับการสนับสนุนเหมือนกับภาคธุรกิจอื่น ๆ แต่เนื่องจากในธุรกิจยาสูบมีรายย่อย ๆ เยอะ นอกจากการที่ความรู้ความเข้าใจด้านการทำธุรกิจยาสูบที่ถูกต้องยังมีอยู่น้อยแล้ว การที่เราจะเข้าไปพบปะหารือกับรายย่อย ๆ ตลอดจนการรวบรวมประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นก็ดี ทำให้เรายังไม่เข้าใจได้ลึกซึ้งมากพอ ซึ่งยังมีความไม่เข้าใจของร้านค้าทำให้เราไม่ได้รับข้อมูลที่แท้จริงจากร้านค้าที่เราจะต้องเข้าไปแก้ปัญหา ทำให้สัดส่วนในประเด็นปัญหาที่เราได้จากทั้งรายใหญ่ที่มีเข้ามาเยอะ และรายย่อยที่ยังมีไม่มากพอ
ในฐานะที่เรามาจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการค้าส่ง-ค้าปลีก ของสภาหอการค้าฯ ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนด้านการค้าในภาพใหญ่ของประเทศไทย ในฐานะที่เราเป็นสมาชิกทำให้เราสามารถส่งต่อประเด็นปัญหาต่าง ๆ ผ่านไปยังคณะกรรมการชุดดังกล่าว เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยเราผลักดันประเด็นปัญหาที่เรามี และอาจจะมีการเข้าร่วมการประชุมกับคณะกรรมการชุดดังกล่าว ตลอดจนการทำหนังสือนำส่งปัญหาเสนอต่อประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยต่อไปในอนาคต
อนึ่ง การจำแนก บุหรี่เถื่อน แบ่งออกเป็น 3 ประเภทที่สำคัญ 1 บุหรี่ที่ผลิตในต่างประเทศแต่ลักลอบนำเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ไม่ผ่านขึ้นตอนทางภาษี ทำให้ต้นทุนต่ำ แต่เสี่ยงความเสียหายระหว่างการขนส่ง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายกับผู้สูบได้จากการปนเปื้อนเชื้อที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บรักษาและขนส่งผิดวิธี 2 บุหรี่ที่มีการหิ้วเข้ามาจากต่างประเทศ ผ่านกระบวนการทางภาษีได้ตามที่กฎหมายกำหนด โดย 1 คนไทยสามารถหิ้วบุหรี่กลับเข้ามาในราชอาณาจักรไทยได้ไม่เกิน200มวนหรือ 1 คอตตอน และ 3 บุหรี่ที่ผลิตขึ้นมาแบบผิดกฎหมาย หรือไม่ผ่านขึ้นตอนการผลิตมาตรฐานแต่อย่างใด ซึ่งนับว่าเป็นประเภทยาสูบที่มีความอันตรายต่อผู้สูบมากที่สุด
ขณะที่โครงสร้างการจัดเก็บภาษีบุหรี่ มีด้วยกัน 2 อัตรา แบ่งเป็นบุหรี่ที่มีการจำหน่ายไม่เกินซองละ 72 บาท คิดภาษีเพิ่มในอัตราร้อยละ 25 และบุหรี่ที่มีราคาจำหน่ายเกิน 72 บาท จะต้องจ่ายภาษีเพิ่มในอัตราร้อยละ 42 โดยเริ่มมีการจัดเก็บมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 โดยคาดว่าจะมีการกำหนดโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่ราวต้นปี 2566 เพื่อพิจารณาการจัดเก็บที่รอบด้านมากขึ้น สะท้อนด้านการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ สุขภาพประชาชน ตลอดจนการแก้ไขปัญหาบุหรี่เถื่อนที่ทะลักเข้ามาจากราคาบุหรี่ที่แพงขึ้น
ขอบคุณที่มา : https://thereporter.asia/2023/01/17/ttta/
ข่าวน่าสนใจ

สมาคมการค้ายาสูบไทย การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2568
ข่าวสารเพื่อสมาชิกเรื่อง ขอเชิญประชุมใหญ่สามัญประจำปี เรียน สมาชิกสมาคมการค้ายาสูบไทยทุกท่าน ตามข้อบังคับที่ 27 และ 28 หมวด 7 ของสมาคมการค้ายาสูบไทย กำหนดให้มีการประชุมใหญ่สำหรับสมาชิกทุกระยะเวลา 12 เดือน ซึ่งเรียกว่า “การประชุมใหญ่สามัญประจำปี” นั้น สมาคมการค้ายาสูบไทยจึงขอเรียนเชิญสมาชิกทุกท่านเข้าร่วมการประชุมใหญ่สามัญประจำปีในวันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2568 ตั้งแต่เวลา 11:00 – 12:00 น. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่สมาชิก สมาคมฯ จะจัดการประชุมในรูปแบบออนไลน์ผ่านทาง Zoom โดยท่านสามารถดาวน์โหลดรายละเอียดต่าง ๆ ได้ที่ เอกสารการประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือสแกนผ่านคิวอาร์โค้ดที่แนบมาพร้อมกันนี้ จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และขอความกรุณาท่านเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน จะเป็นพระคุณยิ่ง
อ่านต่อ
ร่วมต้านบุหรี่เถื่อน! กรมสรรพสามิตรับหนังสือแจ้งเบาะแสบุหรี่ผิดกฎหมายจากสมาคมการค้ายาสูบไทย
ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อนสมาคมการค้ายาสูบไทย ทำหนังสือถึงกรมสรรพสามิจต เพื่อส่งมอบเอกสารหลักฐานการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการจำหน่ายบุหรี่ผิดกฎหมายที่ได้รับผ่านทางเว็บไซต์ของสมาคมฯ ในเดือนมกราคม 2568 จำนวน 35 รายงาน ซึ่งทุกๆ การรายงานเบาะแสเข้ามาจะไม่มีการเปิดเผยตัวตนผู้เจ้งเบาะแส ขอให้สมาชิกวางใจ ร่วมกันส่งเบาะแสมาได้เสมอ สมาคมฯ จะดำเนินการสรุปและส่งข้อมูลให้กรมสรรพสามิต รวมถึงหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นๆ เป็นประจำทุกเดือน บุหรี่เถื่อนส่งผลกระทบโดยตรงต่อร้านค้าปลีกที่จำหน่ายบุหรี่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้สูญเสียรายได้ อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเข้าถึงของเยาวชน และส่งผลต่อรายได้จากภาษีของรัฐที่ใช้พัฒนาประเทศ ทางสมาคมการค้ายาสูบไทยจึงเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินมาตรการเข้มงวดเพื่อปราบปรามปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง และพร้อมให้ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการเพื่อปราบปรามบุหรี่เถื่อน และบรรเทาความเดือดร้อนของร้านค้ายาสูบที่ถูกกฎหมาย หากร้านค้าหรือประชาชนท่านใดทราบเบาะแส หรือ พบเห็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับบุหรี่เถื่อน สามารถแจ้งได้ที่กรมสรรพสามิต หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศหรือสายด่วน 1713 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ อีเมล์ excise_hotline@excise.go.th หรือ ช่องทางออนไลน์ของสมาคมการค้ายาสูบไทย https://ttta.or.th/report-form
อ่านต่อ
บุหรี่เถื่อนยังรุนแรง! สหภาพยาสูบวอนรัฐซีลชายแดน จับเข่าคุยประเทศต้นทาง
ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อนผลการสำรวจซองบุหรี่เปล่า ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 เพื่อดูแนวโน้มอัตราการบริโภคบุหรี่ผิดกฎหมายของประเทศไทยพบว่า อัตราการบริโภคบุหรี่ที่มิได้เสียภาษีอยู่ที่ 25.4% ซึ่งทรงตัวจากการสำรวจในไตรมาสที่ 1 ของปีเดียวกันที่อยู่ที่ 25.5% โดยพบว่า จังหวัดที่มีอัตราการบริโภคบุหรี่ที่มิได้เสียภาษีสูงที่สุดในประเทศไทยยังคงกระจุกตัวอยู่ในภาคใต้ตอนล่าง พบมากที่สุดใน จังหวัดสตูล (97%) สงขลา (88%) พัทลุง (78%) ภูเก็ต (72%) นครศรีธรรมราช (68%) ระนอง (65%) ตามด้วยจังหวัดในภาคกลางอย่าง นนทบุรี (49%) สมุทรปราการ (43%) กรุงเทพมหานคร (39%) "สตูล"แชมป์อันดับหนึ่งบุหรี่เถื่อนสูงสุด การสำรวจในครั้งนี้พบว่าจังหวัดสตูลมีการเติบโตของการบริโภคบุหรี่ผิดกฎหมายที่รุนแรงมากขึ้น โดยขยับแซงหน้าสงขลาขึ้นมาครองอันดับหนึ่งพื้นที่ที่มีการบริโภคบุหรี่ผิดกฎหมายที่สูงที่สุดของประเทศไทย และยังพบการเติบโตอย่างต่อเนื่องในพื้นที่เมืองหลวงและเขตพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งมีการกระจายตัวของการบริโภคบุหรี่ผิดกฎหมายที่เข้มข้นอยู่ สิ่งที่น่าสนใจของการสำรวจในครั้งนี้คือ การทะลักของบุหรี่ผิดกฎหมายในภาคตะวันตกของประเทศไทย โดยการสำรวจพบว่าจังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี มีแนวโน้มการบริโภคบุหรี่จากต่างประเทศที่มิได้เสียภาษีเพิ่มมากขึ้นกว่า 300% จากการสำรวจครั้งก่อน นายสุเทพ ทิมศิลป์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจยาสูบ กล่าวว่า ขอเป็นตัวแทนอุตสาหกรรมยาสูบขอบคุณหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานที่ปราบปรามบุหรี่ผิดกฎหมายอย่างเข้มข้นตลอดปี 2567 แม้ผลที่ออกมาจะยังทรงตัวและบุหรี่ที่มิได้เสียภาษียังอยู่ในระดับที่สูงมาก แต่เชื่อว่าทุกหน่วยงานพร้อมจะเดินหน้าสู้กับบุหรี่เถื่อนไปด้วยกันต่อในปี 2568 นี้ ผลที่ออกมายืนยันได้อย่างหนึ่งว่าการปราบปรามในประเทศเพียงอย่างเดียวยังไม่พอ เพราะยังคงมีช่องว่างใหม่ๆ ที่ทำให้บุหรี่เถื่อนทะลักเข้ามาในประเทศไทยได้ วอนรัฐบาลซีลชายแดนอย่างเข้มข้น นายสุเทพ กล่าวเสริมว่ามีข้อมูลว่ามีการทะลักของบุหรี่เถื่อนตามแนวชายแดนภาคตะวันออกที่ติดกับประเทศกัมพูชา เช่น จันทบุรี ตราด สระแก้ว บุหรี่เถื่อนเข้ามาทางภาคใต้ และยังมีบุหรี่ผ่านแดนที่มาใช้ไทยเป็นทางผ่านไปประเทศที่สามแต่กลับนำสินค้าวกกลับเข้ามาขายในประเทศหลังผ่านพิธีการศุลกากรในภาคใต้ บุหรี่เถื่อนจึงเป็นเรื่องระดับภูมิภาค ใหญ่เกินกว่าที่เราจะจัดการเองในประเทศเพียงอย่างเดียว จึงอยากขอร้องรัฐบาลซีลชายแดนอย่างเข้มข้น ยกระดับการปรามปรามในประเทศอย่างจริงจัง และจัดการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐ เพื่อหยุดยั้งการทะลักของบุหรี่เถื่อนที่ไหลเวียนอยู่ในภูมิภาค เช่นเดียวกับกรณีแก็งค์คอลเซ็นเตอร์ที่มีฐานอยู่นอกประเทศ ขอบคุณที่มา บทความและภาพประกอบ https://www.bangkokbiznews.com
อ่านต่อ
เสียงสะท้อนจากโซเชียล ร้านค้าโชห่วยโอดของขายยากเพราะบุหรี่เถื่อนทะลัก
ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อนเพจโชห่วยเผยปัญหาบุหรี่เถื่อนระบาดหนักตลอดปี 2567 ทำยอดขายบุหรี่และสินค้าอื่นๆ ของร้านค้าบุหรี่ถูกกฎหมายทั่วไทย โดยเฉพาะร้านค้าขนาดเล็กและโชห่วยรายย่อย ลดฮวบ เนื่องจากผู้บริโภคหันไปซื้อบุหรี่เถื่อนจากร้านค้าออนไลน์ และร้านขายบุหรี่ผิดกฎหมายในท้องถิ่นที่มีราคาถูกกว่า สมาคมการค้ายาสูบไทยย้ำไม่ทอดทิ้งผู้ประกอบการรายย่อย วอนภาครัฐจัดการปัญหาบุหรี่เถื่อนเป็นวาระแห่งชาติ สมาคมการค้ายาสูบไทย สำรวจความคิดเห็นร้านค้าบุหรี่ถูกกฎหมายบนกลุ่มร้านค้า “รวมพลคนโชห่วย-ร้านของชำ” บน Facebook ที่มีสมาชิกกว่า 1.9 แสนคน เกี่ยวกับสถานการณ์บุหรี่เถื่อนพบว่าร้านค้าโชห่วยจำนวนมากแสดงความเห็นตรงกันว่าปัจจุบันบุหรี่ถูกกฎหมายขายได้ลดลงมาก เนื่องจากปัญหาการทะลักของบุหรี่หนีภาษีตลอดทั้งปีที่ผ่านมา และในท้องถิ่นต่างๆ ผู้บริโภคต่างทราบดีว่าสามารถหาซื้อได้จากที่ไหน จึงหันไปซื้อบุหรี่เถื่อนเพราะมีราคาถูกกว่าเป็นเท่าตัว และยังสามารถซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบาย ซ้ำร้าย ร้านค้าถูกกฎหมายบางร้านยังถูกร้านบุหรี่เถื่อนซัดทอดให้ถูกตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่รัฐด้วย เจ้าของบัญชีเฟซบุ๊กรายหนึ่ง แสดงความเห็นว่า “ตอนนี้ขายไม่ดีเหมือนกัน มีบุหรี่เถื่อนเข้ามาเยอะแยะวันนี้ก็มีลูกค้าเพิ่งซื้อเข้ามาก็เลยถามเขาซื้อมาเป็นคอตตอนเลย เขาบอก 280 ตกซองละ 28 บาทเองเราเลยแทบจะไม่ได้ขายเพราะเขาซื้อบุหรี่เถื่อนกันเยอะ” สอดคล้องกับร้านค้าอีกราย ที่ตั้งข้อสังเกตว่า “ตั้งแต่ครั้งปรับราคา บุหรี่เถื่อนก็ทะลักค่ะ แถวบ้านบอกปากต่อปากกัน (ได้ยินลูกค้าคุยกันหน้าร้าน) ราคาต่อซองยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของบุหรี่ที่เราขายด้วยซ้ำ เคยไปแจ้งความเด็กขโมยของ ส่องเฟสยังโพสขายเป็นคอตตอนบอกตำรวจก็ไม่รู้ว่าเขาดำเนินการอย่างไรมั้ยนะคะ” ด้านนางสาวธัญญศรัณ แสงทอง ผู้อำนวยการบริหารสมาคมการค้ายาสูบไทย แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า “สมาคมฯ เห็นใจผู้ประกอบการร้านค้าที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาบุหรี่เถื่อน เนื่องจากส่งผลกระทบต่ออาชีพการค้าขาย หลายคนตั้งคำถามถึงการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานภาครัฐในการปราบปรามบุหรี่เถื่อน เพราะร้านค้าไม่ทราบว่าผู้ขายบุหรี่เถื่อนมีโทษอย่างไร พวกเขาไม่เคยเห็นการดำเนินคดีอย่างเป็นรูปธรรมกับผู้กระทำผิดเหล่านี้ ตลอดปี 2567 สมาคมฯ ได้ประสานความร่วมมือไปยังทุกส่วนราชการแล้ว แต่ปัญหาก็ยังไม่ลดความรุนแรง “สมาคมฯ จึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายมีความชัดเจนในการปราบปรามและสืบสวนสอบสวน หาตัวผู้ผู้บงการ ผู้มีอิทธิพลรายใหญ่ที่อยู่เบื้องหลังขบวนการลักลอบนำเข้าและขายบุหรี่เถื่อนอย่างต่อเนื่อง พร้อมยกระดับปัญหาเป็นวาระแห่งชาติเพราะทำลายคนตัวเล็กๆ อย่างร้านโชห่วย เป็นการบ่อนทำลายเศรษฐกิจชองชาติและยังเป็นปัญหาเศรษฐกิจใต้ดินที่รัฐบาลประกาศว่าจะจัดการด้วย” การสำรวจของอุตสาหกรรมพบว่าอัตราการบริโภคบุหรี่เถื่อนในไทยยังคงตัวที่ราว 25.5% เพราะแม้จะมีการปราบปรามต่อเนื่อง แต่ช่องโหว่ของกฎหมายก็ยังมีอยู่และเปิดช่องให้เกิดการลักลอบนำเข้าได้เรื่อยๆ จนเป็นที่น่าสงสัยว่ามีการใช้ช่องว่างการเป็นสินค้าผ่านแดนและสินค้าเข้าเขตปลอดอากรที่เข้ามาในประเทศไทยหรือไม่ และภาครัฐควรเร่งแก้กฎหมายอุดช่องว่างเหล่านี้ ขอบคุณที่มา บทความและภพประกอบ https://siamrath.co.th/
อ่านต่อสมัครสมาชิก
สำหรับผู้ประกอบกิจการการค้าผลิตภัณฑ์ยาสูบ และ หรือวิสาหกิจ ในทางการค้าอื่นที่เกี่ยวข้องกับการค้า ผลิตภัณฑ์ยาสูบโดยตรง อัตราค่าลงทะเบียนแรกเข้า 200 บาท และค่าบำรุงสมาคม 100 บาท / 2 ปี (ปีละ 50 บาท เก็บทุกๆ สองปี)สมาชิกประเภทวิสามัญ สำหรับผู้มีความสนใจหรือมีความรู้เกี่ยวกับยาสูบหรือ ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือ ผู้ประกอบวิสาหกิจในทางการค้า อุตสาหกรรม หรือการเงิน การขนส่งยาสูบ หรือผลิตภัณฑ์ยาสูบ หรือธุรกิจใดๆ อันเกี่ยวเนื่องกับยาสูบ หรือ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ อัตราค่าลงทะเบียนแรกเข้า 1,000 บาท และค่าบำรุงสมาคม 1,000 ต่อปี
แจ้งเบาะแสบุหรี่ผิดกฎหมาย
พบเห็นการซื้อขายบุหรี่ผิดกฎหมาย สามารถแจ้งผ่านช่องทางออนไลน์ของทางสมาคม และสมาคมจะนำข้อมูลเหล่านี้ยื่นต่อหน่อยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ผู้ที่แจ้งเบาะแสสามารถติดตามผลการแจ้งได้โดยใส่รหัสอ้างอิงที่ได้รับแจ้ง
เบาะแส