ค้นหา
ข่าวสารเพื่อสมาชิก
...
จับตานโยบายเชิงรุก สมาคมการค้ายาสูบไทย แก้ไขปัญหาแบบตรงเป้า
ข่าวเด่น

วันนี้เราจะมาแชร์ความรู้เรื่อง 8 สิ่งที่ห้ามทำ ที่พ่อค้าแม่ค้าร้านโชห่วยบางคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน ว่าหากทำแบบนี้ถือว่าผิดกฎหมายหรืออาจโดนปรับได้ ดังนั้นรู้ก่อน ก็ป้องกันได้ก่อน มีอะไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ 1.ห้ามขายบุหรี่ให้กับผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี   ข้อปฏิบัติตามกฎหมาย สำหรับผู้ขายบุหรี่ ห้ามตั้งโชว์หรือวางแสดงบุหรี่ให้ผู้ซื้อหรือประชาชนมองเห็น หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท ห้ามขายบุหรี่ให้กับผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี *หากสงสัยอายุผู้ซื้อ ผู้ขายมีสิทธิ์ขอดูบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นที่ตรวจสอบอายุผู้ซื้อได้ และห้ามใช้ จ้าง วาน หรือยินยอมให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ขายบุหรี่ หากฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 30,000 บาท ห้ามแบ่งขาย ต้องขายบุหรี่ทั้งซอง หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท ห้ามโฆษณา ขายบุหรี่ ห้ามติดป้ายแสดงชื่อ และราคาขายบุหรี่ ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ ที่อาจจูงใจให้ซื้อหรือบริโภค ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 40,000 บาท และเร่ขาย ปรับไม่เกิน 20,000 บาท 2. ห้ามจำหน่ายเหล้า-เบียร์ เกินเวลาที่กำหนด ไม่ขายวันพระใหญ่ วันมาฆบูชา วิสาขบูชา อาสาฬบูชา เข้าพรรษา-ออกพรรษา ร้านค้าสามารถขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้สองช่วง คือ ช่วงกลางวัน เวลา 11.00-14.00 น. ช่วงเย็น เวลา 17.00-24.00 น. ไม่ส่งเสริมการขาย โดยการลดราคา แจก แถม ชิงรางวัล หรือจับฉลากให้หรือแลกกับสินค้าอื่น ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่บุคคล ซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ และบุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้ ซึ่งหากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3. ห้ามจำหน่ายตาชั่ง ตวง วัด หากไม่มีใบอนุญาต  ในการจะจำหน่ายเครื่องชั่ง ตวงวัด จะต้องทำการขอหนังสือประกอบธุรกิจ จากสำนักชั่งตวงวัด ศูนย์ชั่งตวงวัด หรือสำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขต ที่มีอำนาจในจังหวัดที่สถานที่ประกอบธุรกิจตั้งอยู่ หากจําหน่ายโดยไม่ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท มาตรา ๖๘ ผู้ใดประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗ โดยไม่มีหนังสือรับรองการประกอบ ธุรกิจ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ 4. ห้ามจำหน่ายยาที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน   ยาอันตรายที่ห้ามจำหน่ายในร้านของชำ ยาปฏิชีวนะ / ยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด ยาหยุดถ่าย ยาฆ่าพยาธิ ยาควบคุมพิเศษ หากขายโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี กลุ่มยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาเม็ดหรือยาน้ำลดกรดอะลูมินาแมกซีเนีย / ยาธาตุน้ำแดง / ทิงเจอร์มหาหิงคุ์ / ยาผงฟู่แก้ท้องอืด / ยาเม็ดหรือยาน้ำบรรเทาอาการเนื่องจากกรดไหลย้อน กลุ่มยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ท้องเสียผงน้ำตาลเกลือแร่ / ยาผงถ่านรักษาอาการท้องเสีย กลุ่มยาระบาย ยาระบายแมกนีเซีย / ยาระบายโซเดียมคลอไรด์ ชิดสวนทวาร กลุ่มยาบรรเทาอาการปวกกล้ามเนื้อ แมลงกัดต่อย ยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง กลุ่มยาแก้แพ้ลดน้ำมูก ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก คลอร์เฟนิรามีน กลุ่มยาแก้ไอขับเสมหะ ยาน้ำแก้ไอขับเสมหะ / ยาแก้ไอน้ำดำ กลุ่มยา ยาดมหรือ ทาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก ยาดมแก้คัดจมูก / ยาทาระเหยบรรเทาอาการคัดจมูก ชนิดขี้ผึ้ง กลุ่มยาแก้เมารถ เมาเรือ ยาเม็ดไดเมนไฮดริเนท กลุ่มยาสำหรับโรคปาก และลำคอ ยาอมบรรเทาอาการเจ็บคอ กลุ่มยาสำหรับโรคผิวหนัง ยารักษาหิดเหา / ยาทาแก้ผดผื่นตันคาลาไมน์ กลุ่มยาใส่แผล ล้างแผล ยาทิงเจอร์ไอโอดีน / แอลกอฮอล์ล้างแผล / น้ำเกลือล้างแผล กลุ่มยาบำรุงร่างกาย ยาเม็ดวิตามันซี / ยาเม็ดวิตามินรวม กลุ่มยาบรรเทาปวดลดไข้ ยาเม็ดพาราเซตามอล / พลาสเตอร์ติดบรรเทาอาการแก้ปวด 5. ห้ามจำหน่ายสินค้าไม่มี อย. มอก.   เครื่องหมาย อย. หมายถึงผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้การผ่านเกณฑ์การตรวจสอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่คุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับ 6 ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน และวัตถุเสพติดที่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เครื่องหมาย มอก. คืออะไร ? มอก. ย่อมาจากคำว่า มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมายถึง ข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุดครอบคลุมสินค้า ได้แก่ สินค้าอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ สิ่งทอ และวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น หากจำหน่ายสินค้าที่ไม่ผ่าน มอก. มีโทษจำคุก 1 เดือน ปรับสูงถึง 50,000 บาท 6. ห้ามจำหน่ายน้ำมันขวดแบ่งขาย เกินปริมาณกำหนด  ร้านจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงรายย่อย เป็นกิจการที่สามารถประกอบได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งหรือขออนุญาต แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542 มีหลักเกณฑ์ ดังนี้ร้านค้าที่หรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดสามารถจัดเก็บได้ปริมาณไม่เกินที่กำหนด น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ฯลฯ ร้านค้าจัดเก็บเพื่อจำหน่ายได้ไม่เกิน 40 ลิตร น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง ได้แก่ น้ำมันก๊าด น้ำมันเชื้อเพลิง ร้านค้าจัดเก็บเพื่อจำหน่ายได้ไม่เกิน ลิตร น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อย ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่น ฯลฯ ร้านค้าจัดเก็บเพื่อจำหน่ายได้ไม่เกิน 454 ลิตร 7. ห้ามจำหน่ายสินค้าหนีภาษี  ผู้ที่ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาไปซื้อ รับจำนำ หรือรับของไว้ ซึ่งรู้ว่าเป็นของอันเนื่องด้วยความผิดฐานหลีกเลี่ยงอากรตามมาตรา 243 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ครึ่งเท่า แต่ไม่เกิน 4 เท่าของค่าอากรที่ต้องเสียเพิ่ม หรือทั้งจำทั้งปรับ 8. ห้ามจำหน่ายน้ำหอมขวดแก้วที่ไม่มีฉลาก   การจำหน่ายสินค้าเครื่องสำอางปลอม เช่น น้ำหอมขวดแก้วที่ไม่มีฉลาก แล้วแปะสติ๊กเกอร์แบรนด์ดัง การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของแบรนด์นั้น จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท การเป็นเจ้าของธุรกิจที่ต้องดูแลร้านค้ามีสิ่งที่ต้องศึกษา ทำความเข้าใจ และข้อที่ควรระวัง หากไม่อยากโดนจับ หรือ โดนปรับกัน หวังว่าพ่อค้าแม่ค้าที่อ่านบทความนี้จะได้ความรู้ที่นำไปใช้ในการดูแลร้านค้าและระวังไม่ให้ทำผิดกฎหมายโดยที่ไม่รู้ตัวกัน แหล่งอ้างอิง https://db.oryor.comhttp://www.cbwmthai.org/scale.aspxhttps://www.doeb.go.th/knowledge/new_oil_law.htmแหล่งที่มา: https://www.rantiddao.com

อ่านต่อ
...
วันมีผลบังคับใช้ซองบุหรี่รูปแบบใหม่
ข่าวเด่น

ตามที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับใหม่ ซึ่งกำหนดให้ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าบุหรี่ซิกาแรตเพื่อขายในประเทศไทย ต้องปรับเปลี่ยนซองบุหรี่ซิกาแรตให้มีรูปแบบใหม่ตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับบุหรี่ซิกาแรตที่บรรจุอยู่ในซองหรือหีบห่อรูปแบบเก่ายังคงสามารถขายได้ต่อไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2565 เท่านั้น ทั้งนี้ สำหรับผู้ประกอบการร้านค้าปลีก ผู้จำหน่ายบุหรี่ซิกาแรตรายย่อย ที่ยังมีบุหรี่ที่บรรจุอยู่ในซองรูปแบบเก่าคงค้างอยู่ ร้านค้าปลีกยังสามารถขายได้ถึงวันที่ 10 เมษายน 2565 เท่านั้น หรือหากมีความกังวลว่า จะไม่สามารถขายหมดได้ตามกำหนดเวลา ขอให้ร้านค้าปลีกติดต่อตัวแทนผู้ค้าส่ง ผู้นำเข้า ผู้ผลิต เพื่อส่งคืนบุหรี่ซิกาแรตซองรูปแบบเก่าต่อไป   กรมควบคุมโรค ขอเน้นย้ำไปยังร้านค้าปลีกทั่วประเทศ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมาย โดยพนักงานเจ้าหน้าที่จะมีการลงตรวจบังคับใช้กฎหมายในทุกจังหวัดทั่วประเทศ หากพบร้านค้าฝ่าฝืนขายบุหรี่  ซิกาแรตซองรูปแบบเก่า หลังจากวันที่ 10 เมษายน 2565 จะมีความผิดฐานขายผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มิได้จัดให้มี  หีบห่อตามที่กฎหมายกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท ตามมาตรา 38 พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 กรณีมีข้อสงสัยเพิ่มเติมในการปฏิบัติตามกฎหมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค โทร. 02 590 3852 ข้อมูลจาก : กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค

อ่านต่อ
ข่าวเด่น
...
ชี้ปัญหาใต้พรมของการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่
ข่าวเด่น

ในโอกาสวันงดสูบบุหรี่โลก วันที่ 31 พฤษภาคม ในปีนี้ ขอขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่และการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับอันตรายจากควันยาสูบเพื่อพัฒนาสุขภาวะของผู้สูบบุหรี่ บุคคลรอบข้าง รวมถึงผู้ไม่สูบบุหรี่ในประเทศไทยผ่านมาตรการที่เข้มงวดเสมอมา เพราะบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นตัวแปรสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (Non-Communicable Disease หรือ NCD) ที่คร่าชีวิตคนไทยปีละกว่า 72,000 คน โดยโรคที่เป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญ อันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพที่เห็นเป็นที่ประจักษ์นี้ทำให้มาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบได้รับการยอมรับและถูกบังคับใช้อย่างเข้มงวด โดยเฉพาะกับบุหรี่มวนที่ผลิตจากโรงงานทั้งในประเทศและผ่านการนำเข้าอย่างถูกกฎหมายจากผู้ผลิตต่างชาติ ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ที่มีผลให้บุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานต้องปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์และมีภาพคำเตือนเกี่ยวกับอันตรายด้านสุขภาพ รวมถึงห้ามมีการสื่อสารและโฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบ ในส่วนของร้านค้าปลีก มีการกำหนดอายุผู้ซื้อและผู้ขาย การตั้งแสดงผลิตภัณฑ์ยาสูบที่หน้าร้านและการแบ่งมวนขายแบบในอดีตก็ไม่สามารถทำได้อีกต่อไป นอกจากนี้ยังมีมาตรการที่มุ่งเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้สูบบุหรี่ เช่น การห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ การให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของบุหรี่ และตัวผู้สูบเองก็ต้องแบกรับภาระด้านราคาที่เพิ่มสูงขึ้นจากการปรับขึ้นภาษีอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร ปี 2564 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่าในประเทศไทยมีผู้บริโภคยาสูบที่อายุ 15 ปีขึ้นไปทั้งหมดกว่า 9.9 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้บริโภคยาเส้น 4,608,837 คน คิดเป็นกว่าครึ่งของจำนวนทั้งหมด ซึ่งยาเส้นนั้นมีอันตรายไม่ต่างจากบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานเพราะจำเป็นต้องมีการจุดไฟเผาเพื่อการบริโภคอยู่ แต่มาตรการต่างๆ ที่มีต่อผู้ผลิต ผู้นำเข้า ร้านค้าปลีก รวมถึงผู้บริโภคบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานกลับไม่ได้ถูกนำไปใช้กับยาเส้นในมาตรฐานเดียวกัน ยาเส้นถูกจัดเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย ทำให้มีการเก็บภาษีต่ำกว่าบุหรี่มาก ราคาของยาเส้นจึงถูกกว่าบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานมาก และมีการวางขายได้ทั่วไปอย่างอิสระตามร้านค้าชุมชนเพราะความเข้มงวดของกฎระเบียบยังไม่เท่าเทียมกับบุหรี่มวน สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มุ่งจะยกระดับสุขภาวะของคนไทยถูกบังคับใช้กับการบริโภคยาสูบเพียง 50% ของประเทศเท่านั้น นอกจากนี้ ตามรายงานประจำปีฉบับล่าสุดของการยาสูบแห่งประเทศไทยปี 2565 ระบุว่าจำนวนบุหรี่ผิดกฎหมายในตลาดเพิ่มขึ้นถึง 70% โดยคิดเป็นสัดส่วนการบริโภคกว่า 10.3% ในปี 2564 ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากบุหรี่เถื่อนจะถูกพบได้ทั่วไปตามหน้าร้านที่ไม่ได้มีใบอนุญาตแล้ว ยังแพร่ระบาดบนเว็บไซต์ออนไลน์ และโซเชียลมีเดียด้วย โดยการสำรวจในเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2565 ที่ผ่านมา พบบทสนทนาเกี่ยวกับการซื้อขายบุหรี่เถื่อนบนโซเชียลมีเดียโตขึ้นถึง 97% ซึ่งการแพร่ระบาดของบุหรี่เถื่อนนี้เป็นบ่อนทำลายประสิทธิผลของมาตรการควบคุมยาสูบทั้งมาตรการด้านภาษีและมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี ชัดเจนว่ามาตรการควบคุมที่เข้มงวดกับบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานอย่างถูกกฎหมายและร้านค้าที่ขายบุหรี่อย่างถูกกฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้เลยกับยาเส้นและบุหรี่ที่ผิดกฎหมาย ตอกย้ำถึงปัญหาที่ซ่อนเร้นของมาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ไม่ตอบโจทย์ภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ปัญหาบุหรี่เถื่อนไม่ได้เป็นความท้าทายต่ออุตสาหกรรมยาสูบไทยเพียงประเทศเดียว แต่เป็นความท้าทายต่อนานาประเทศที่ใช้กลไกด้านภาษีมาลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ตามแนวทางที่ได้รับจากกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (Framework Conventional on Tobacco Control: FCTC) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เช่นกัน โดยในปีนี้จะมีการจัดประชุมรัฐภาคี (Conference of the Parties หรือ COP) ของกรอบอนุสัญญาครั้งที่ 10 ขึ้นที่ประเทศปานามา รวมถึงการประชุมประเทศสมาชิกของพิธีสารเพื่อกำจัดการค้าที่ผิดกฎหมายในผลิตภัณฑ์ยาสูบ ครั้งที่ 3 เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการปราบปรามบุหรี่เถื่อนให้มีประสิทธิภาพด้วย การเลือกประเทศปานามาเป็นสถานที่จัดประชุมระดับโลกครั้งนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่นที่จะนำปัญหาบุหรี่เถื่อนขึ้นมาถกเถียงกันอย่างเปิดเผยเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายหลักในการลดจำนวนผู้สูบบุหรี่อย่างเป็นรูปธรรมให้กับกรอบอนุสัญญาฯ มากกว่าการลงนามที่ไม่มีข้อผูกมัดเช่นในอดีต La Estrella สื่อท้องถิ่นของปานามารายงานว่าปานามาเปรียบเสมือนศูนย์กลางของการส่งออกบุหรี่เถื่อนไปสู่ตลาดใต้ดินทั่วโลก ในปี 2022 การบริโภคยาสูบกว่า 92% ของปานามาเป็นการบริโภคบุหรี่เถื่อน ซึ่งคิดเป็น 9 ใน 10 ส่วนของการบริโภคยาสูบทั้งหมดของประเทศ นอกจากนี้ปานามายังส่งออกบุหรี่เถื่อนไปยังประเทศเพื่อนบ้านในทวีปอเมริกาและประเทศอื่นๆ ถึงกว่า 8 พันล้านมวนต่อปี เมื่อมีการขับเคลื่อนจากองค์กรระดับโลกแล้วก็คงถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องตอบรับและปรับมาตรการควบคุมยาสูบให้เหมาะกับบริบทภายในประเทศด้วยมาตรฐานที่เท่าเทียมกับทุกผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มีความอันตรายไม่ต่างกัน รวมถึงขยายการบังคับใช้สู่บุหรี่เถื่อนที่มีสัดส่วนการบริโภคมากกว่า 10% ด้วย เพราะชัดเจนแล้วว่าการบังคับใช้มาตรการแบบสองมาตรฐานส่งผลเสียกับการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานเท่านั้น ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งของอุตสาหกรรมไม่ได้อยู่ภายใต้มาตรการควบคุมใดๆ และไม่เคยถูกหยิบยกขึ้นมานำเสนอแม้จะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้จำนวนผู้บริโภคยาสูบของไทยคงที่มานาน การลงนามในพิธีสารเกี่ยวกับการต่อต้านการค้าบุหรี่ผิดกฎหมาย หรือความพยายามในการสร้างระบบแกะรอยติดตามจึงอาจจะยังไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด เพราะเป็นการบังคับใช้แต่ผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบ ขณะที่การลักลอบค้าบุหรี่ผิดกฎหมายไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายใดๆ แต่สามารถตีตลาดของการยาสูบแห่งประเทศไทยได้อย่างง่ายดาย เมื่อไม่พูดถึงปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่ใต้พรมก็คงไม่อาจบรรลุเป้าหมายทางสาธารณสุขของประเทศในระยะยาวได้ ขอบคุณที่มา: https://www.khaosod.co.th/

อ่านต่อ
...
ส.ค้ายาสูบไทยหนุนรัฐขึ้นบัญชีผู้ค้า หลังพบ “บุหรี่เถื่อน” เกลื่อนออนไลน์ เพิ่มขึ้น 181% จี้รัฐจัดการภัยออนไลน์ และขยายผลเครือข่ายทั่วประเทศ
ข่าวเด่น

สมาคมการค้ายาสูบไทย จี้หน่วยงานภาครัฐและแพลตฟอร์มออนไลน์ขึ้นบัญชีเฝ้าระวังการกระทำผิดกฎหมายทางสื่อออนไลน์อย่างเข้มงวด เชื่อเทคโนโลยีสาวถึงต้นทางได้ หลังผลสำรวจบุหรี่เถื่อนออนไลน์ พบการสนทนาซื้อ-ขายเติบโตถึง 181% ในช่วง 6 เดือน ปัจจัยหลักเน้นที่ราคาถูก รสชาติดี มีลูกเล่น และหาซื้อง่าย ชี้ปัจจุบันร้านบุหรี่เถื่อนออนไลน์ทั้ง เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ ยูทูป เว็บบอร์ด เว็บไซต์ และขยายไปขายบน “ติ๊กต็อก” ตามเทรนด์ชาวเน็ตไทย หวั่นกระทบร้านค้าปลีกถูกกฎหมาย เยาวชนเข้าถึงง่าย ชี้การขายบุหรี่เถื่อนออนไลน์ได้ไม่คุ้มเสีย นางสาวธัญญศรัณ แสงทอง ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมการค้ายาสูบไทย กล่าวว่า การขายบุหรี่เถื่อนบนช่องทางออนไลน์มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะบน “X (ทวิตเตอร์)” ที่ผู้ขายมีการลงโพสต์สินค้าเพื่อสั่งซื้อผ่านข้อความส่วนตัว (Direct Message) และไลน์ นอกจากนี้ ร้านค้าเหล่านี้ยังระบุว่าได้ขยายหน้าร้านไปบน “ติ๊กต็อก” ด้วย แม้ว่าพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 จะห้ามขายทางช่องทางออนไลน์อย่างชัดเจน มีโทษทั้งจำทั้งปรับ “สมาคมฯ สำรวจพบบทสนทนาเกี่ยวกับบุหรี่เถื่อนบนช่องทางออนไลน์ ในระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - เดือนธันวาคม 2566 พบมีบทสนทนาเพิ่มขึ้นกว่า 181% โดยช่องทางที่พูดถึงเรื่องบุหรี่เถื่อนมากที่สุด คือ X (ทวิตเตอร์) 93% เฟซบุ๊ก 5% และยูทูป 2 % ตามลำดับ คีย์เวิร์ดที่ถูกใช้มากที่สุด ได้แก่ ราคาถูก กลิ่นและรสชาติ ลูกเล่นของสินค้า นอกจากนี้เว็บไซต์ขายบุหรี่เถื่อนยังถูกค้นหาบน Google มากที่สุดจากจังหวัดสมุทรปราการ นครราชสีมา นนทบุรี ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร สอดคล้องกับผลสำรวจการบริโภคบุหรี่เถื่อนของอุตสาหกรรมยาสูบ ไตรมาส 4 ปี 2566 ที่ระบุว่ามีอัตราการบริโภคบุหรี่เถื่อนที่เติบโตมากกว่าเท่าตัวในกรุงเทพและปริมณฑล” สำหรับปัจจัยด้านราคานั้นยังคงพบว่าราคาขายถูกกว่าบุหรี่ถูกกฎหมายมากสะท้อนให้เห็นว่าหน้าร้านออนไลน์มีผลอย่างยิ่งกับการบริโภคบุหรี่เถื่อนของคนไทย ที่ปัจจุบันในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 เพิ่มขึ้นถึง 22.6% แล้ว ที่สำคัญการซื้อบุหรี่เถื่อนบนโลกออนไลน์ ทำให้เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ผู้ขายก็ไม่มีการตรวจสอบอายุผู้ซื้อก่อนขายให้ “สมาคมฯ ขอเป็นตัวแทนร้านค้าบุหรี่ถูกกฎหมายกว่า 500,000 ร้านทั่วประเทศไทย เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงดิจิทัลฯ สำรวจและขึ้นบัญชีร้านค้าออนไลน์ และเร่งบังคับใช้กฎหมายกับการขายบุหรี่เถื่อนทั้งที่มีหน้าร้านและร้านค้าออนไลน์อย่างเข้มงวด รวมถึงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่ต้องมีนโยบายปกป้องสังคมจากการขายสินค้าผิดกฎหมาย เพราะร้านค้าบุหรี่ถูกกฎหมาย ไม่ควรจะมาสูญเสียรายได้ให้กับเครือข่ายบุหรี่เถื่อนออนไลน์ที่เติบโตอย่างมากทั่วประเทศ หากปล่อยไว้เช่นนี้จะทำให้ไม่สามารถปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชน ไม่สามารถลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ได้ และสะท้อนปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งการทุจริตคอรัปชันอีกด้วย”

อ่านต่อ

สมัครสมาชิก

สำหรับผู้ประกอบกิจการการค้าผลิตภัณฑ์ยาสูบ และ หรือวิสาหกิจ ในทางการค้าอื่นที่เกี่ยวข้องกับการค้า ผลิตภัณฑ์ยาสูบโดยตรง อัตราค่าลงทะเบียนแรกเข้า 200 บาท และค่าบำรุงสมาคม 100 บาท / 2 ปี (ปีละ 50 บาท เก็บทุกๆ สองปี)

สมาชิกประเภทวิสามัญ สำหรับผู้มีความสนใจหรือมีความรู้เกี่ยวกับยาสูบหรือ ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือ ผู้ประกอบวิสาหกิจในทางการค้า อุตสาหกรรม หรือการเงิน การขนส่งยาสูบ หรือผลิตภัณฑ์ยาสูบ หรือธุรกิจใดๆ อันเกี่ยวเนื่องกับยาสูบ หรือ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ อัตราค่าลงทะเบียนแรกเข้า 1,000 บาท และค่าบำรุงสมาคม 1,000 ต่อปี

แจ้งเบาะแสบุหรี่ผิดกฎหมาย

พบเห็นการซื้อขายบุหรี่ผิดกฎหมาย สามารถแจ้งผ่านช่องทางออนไลน์ของทางสมาคม และสมาคมจะนำข้อมูลเหล่านี้ยื่นต่อหน่อยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ผู้ที่แจ้งเบาะแสสามารถติดตามผลการแจ้งได้โดยใส่รหัสอ้างอิงที่ได้รับ

แจ้ง
เบาะแส