ค้นหา
ข่าวสารเพื่อสมาชิก
จับตานโยบายเชิงรุก สมาคมการค้ายาสูบไทย แก้ไขปัญหาแบบตรงเป้า
ข่าวเด่นวันนี้เราจะมาแชร์ความรู้เรื่อง 8 สิ่งที่ห้ามทำ ที่พ่อค้าแม่ค้าร้านโชห่วยบางคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน ว่าหากทำแบบนี้ถือว่าผิดกฎหมายหรืออาจโดนปรับได้ ดังนั้นรู้ก่อน ก็ป้องกันได้ก่อน มีอะไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ 1.ห้ามขายบุหรี่ให้กับผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ข้อปฏิบัติตามกฎหมาย สำหรับผู้ขายบุหรี่ ห้ามตั้งโชว์หรือวางแสดงบุหรี่ให้ผู้ซื้อหรือประชาชนมองเห็น หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท ห้ามขายบุหรี่ให้กับผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี *หากสงสัยอายุผู้ซื้อ ผู้ขายมีสิทธิ์ขอดูบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นที่ตรวจสอบอายุผู้ซื้อได้ และห้ามใช้ จ้าง วาน หรือยินยอมให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ขายบุหรี่ หากฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 30,000 บาท ห้ามแบ่งขาย ต้องขายบุหรี่ทั้งซอง หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท ห้ามโฆษณา ขายบุหรี่ ห้ามติดป้ายแสดงชื่อ และราคาขายบุหรี่ ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ ที่อาจจูงใจให้ซื้อหรือบริโภค ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 40,000 บาท และเร่ขาย ปรับไม่เกิน 20,000 บาท 2. ห้ามจำหน่ายเหล้า-เบียร์ เกินเวลาที่กำหนด ไม่ขายวันพระใหญ่ วันมาฆบูชา วิสาขบูชา อาสาฬบูชา เข้าพรรษา-ออกพรรษา ร้านค้าสามารถขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้สองช่วง คือ ช่วงกลางวัน เวลา 11.00-14.00 น. ช่วงเย็น เวลา 17.00-24.00 น. ไม่ส่งเสริมการขาย โดยการลดราคา แจก แถม ชิงรางวัล หรือจับฉลากให้หรือแลกกับสินค้าอื่น ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่บุคคล ซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ และบุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้ ซึ่งหากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3. ห้ามจำหน่ายตาชั่ง ตวง วัด หากไม่มีใบอนุญาต ในการจะจำหน่ายเครื่องชั่ง ตวงวัด จะต้องทำการขอหนังสือประกอบธุรกิจ จากสำนักชั่งตวงวัด ศูนย์ชั่งตวงวัด หรือสำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขต ที่มีอำนาจในจังหวัดที่สถานที่ประกอบธุรกิจตั้งอยู่ หากจําหน่ายโดยไม่ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท มาตรา ๖๘ ผู้ใดประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗ โดยไม่มีหนังสือรับรองการประกอบ ธุรกิจ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ 4. ห้ามจำหน่ายยาที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน ยาอันตรายที่ห้ามจำหน่ายในร้านของชำ ยาปฏิชีวนะ / ยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด ยาหยุดถ่าย ยาฆ่าพยาธิ ยาควบคุมพิเศษ หากขายโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี กลุ่มยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาเม็ดหรือยาน้ำลดกรดอะลูมินาแมกซีเนีย / ยาธาตุน้ำแดง / ทิงเจอร์มหาหิงคุ์ / ยาผงฟู่แก้ท้องอืด / ยาเม็ดหรือยาน้ำบรรเทาอาการเนื่องจากกรดไหลย้อน กลุ่มยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ท้องเสียผงน้ำตาลเกลือแร่ / ยาผงถ่านรักษาอาการท้องเสีย กลุ่มยาระบาย ยาระบายแมกนีเซีย / ยาระบายโซเดียมคลอไรด์ ชิดสวนทวาร กลุ่มยาบรรเทาอาการปวกกล้ามเนื้อ แมลงกัดต่อย ยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง กลุ่มยาแก้แพ้ลดน้ำมูก ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก คลอร์เฟนิรามีน กลุ่มยาแก้ไอขับเสมหะ ยาน้ำแก้ไอขับเสมหะ / ยาแก้ไอน้ำดำ กลุ่มยา ยาดมหรือ ทาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก ยาดมแก้คัดจมูก / ยาทาระเหยบรรเทาอาการคัดจมูก ชนิดขี้ผึ้ง กลุ่มยาแก้เมารถ เมาเรือ ยาเม็ดไดเมนไฮดริเนท กลุ่มยาสำหรับโรคปาก และลำคอ ยาอมบรรเทาอาการเจ็บคอ กลุ่มยาสำหรับโรคผิวหนัง ยารักษาหิดเหา / ยาทาแก้ผดผื่นตันคาลาไมน์ กลุ่มยาใส่แผล ล้างแผล ยาทิงเจอร์ไอโอดีน / แอลกอฮอล์ล้างแผล / น้ำเกลือล้างแผล กลุ่มยาบำรุงร่างกาย ยาเม็ดวิตามันซี / ยาเม็ดวิตามินรวม กลุ่มยาบรรเทาปวดลดไข้ ยาเม็ดพาราเซตามอล / พลาสเตอร์ติดบรรเทาอาการแก้ปวด 5. ห้ามจำหน่ายสินค้าไม่มี อย. มอก. เครื่องหมาย อย. หมายถึงผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้การผ่านเกณฑ์การตรวจสอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่คุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับ 6 ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน และวัตถุเสพติดที่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เครื่องหมาย มอก. คืออะไร ? มอก. ย่อมาจากคำว่า มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมายถึง ข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุดครอบคลุมสินค้า ได้แก่ สินค้าอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ สิ่งทอ และวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น หากจำหน่ายสินค้าที่ไม่ผ่าน มอก. มีโทษจำคุก 1 เดือน ปรับสูงถึง 50,000 บาท 6. ห้ามจำหน่ายน้ำมันขวดแบ่งขาย เกินปริมาณกำหนด ร้านจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงรายย่อย เป็นกิจการที่สามารถประกอบได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งหรือขออนุญาต แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542 มีหลักเกณฑ์ ดังนี้ร้านค้าที่หรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดสามารถจัดเก็บได้ปริมาณไม่เกินที่กำหนด น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ฯลฯ ร้านค้าจัดเก็บเพื่อจำหน่ายได้ไม่เกิน 40 ลิตร น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง ได้แก่ น้ำมันก๊าด น้ำมันเชื้อเพลิง ร้านค้าจัดเก็บเพื่อจำหน่ายได้ไม่เกิน ลิตร น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อย ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่น ฯลฯ ร้านค้าจัดเก็บเพื่อจำหน่ายได้ไม่เกิน 454 ลิตร 7. ห้ามจำหน่ายสินค้าหนีภาษี ผู้ที่ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาไปซื้อ รับจำนำ หรือรับของไว้ ซึ่งรู้ว่าเป็นของอันเนื่องด้วยความผิดฐานหลีกเลี่ยงอากรตามมาตรา 243 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ครึ่งเท่า แต่ไม่เกิน 4 เท่าของค่าอากรที่ต้องเสียเพิ่ม หรือทั้งจำทั้งปรับ 8. ห้ามจำหน่ายน้ำหอมขวดแก้วที่ไม่มีฉลาก การจำหน่ายสินค้าเครื่องสำอางปลอม เช่น น้ำหอมขวดแก้วที่ไม่มีฉลาก แล้วแปะสติ๊กเกอร์แบรนด์ดัง การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของแบรนด์นั้น จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท การเป็นเจ้าของธุรกิจที่ต้องดูแลร้านค้ามีสิ่งที่ต้องศึกษา ทำความเข้าใจ และข้อที่ควรระวัง หากไม่อยากโดนจับ หรือ โดนปรับกัน หวังว่าพ่อค้าแม่ค้าที่อ่านบทความนี้จะได้ความรู้ที่นำไปใช้ในการดูแลร้านค้าและระวังไม่ให้ทำผิดกฎหมายโดยที่ไม่รู้ตัวกัน แหล่งอ้างอิง https://db.oryor.comhttp://www.cbwmthai.org/scale.aspxhttps://www.doeb.go.th/knowledge/new_oil_law.htmแหล่งที่มา: https://www.rantiddao.com
อ่านต่อข่าวเด่น
จับตานโยบายเชิงรุก สมาคมการค้ายาสูบไทย แก้ไขปัญหาแบบตรงเป้า
ข่าวเด่นปัญหายาสูบเป็นความท้าทายที่มีมาช้านานของอุตสาหกรรมยาสูบที่เป็นเสมือนไม้เบื่อไม้เมาให้กับเศรษฐกิจของไทย แน่นอนว่ายาสูบเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญในการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐ ขณะที่ยาสูบก็เป็นตัวปัญหาที่ก่อเกิดปัญหาด้านสุขภาพให้กับประชากรของประเทศ อีกทั้งธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องก็ล้วนแล้วแต่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกกับนโยบาย กฎระเบียบที่บังคับใช้จนขาดความสามารถในการแข่งขัน อีกทั้งยังเป็นแรงผลักดันให้เกิดการทะลักเข้าของบุหรี่เถื่อนเนื่องจากการกำหนดราคาขายที่สูงขึ้นตามข้อกฎหมาย เหล่านี้เป็นปัญหาที่ไม่ต่างจากปัญหาไก่กับไข่ ประเด็นนี้ TheReporterAsia จะพาไปรู้จักกับแนวคิดของการทำงานเชิงรุกเพื่อไขปัญหาที่กล่าวมา จาก “พี่ณี” หรือ นางสาวธัญญศรัณ แสงทอง ผู้อำนวยการ สมาคมการค้ายาสูบไทย หญิงคนใหม่ นางสาวธัญญศรัณ แสงทอง ผู้อำนวยการบริหารสมาคมการค้ายาสูบไทย กล่าวว่า หลังจากที่เข้ามารับตำแหน่ง ด้วยความที่มีพื้นฐานมาจากสภาหอการค้าอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายภาษีและกฎระเบียบ ทำให้เมื่อเข้ามารับตำแหน่งในสมาคมการค้ายาสูบไทย จึงต้องการเน้นไปที่การประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ ในการผลักดันปัญหาต่าง ๆ ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม อีกทั้งยังจะนำประสบการณ์กว่า 30 ปี ที่เกี่ยวข้องกับด้านกฎหมายภาษีเข้ามาช่วยผลักดันให้ปัญหาลุล่วง โดยจะนำแนวนโยบายต่าง ๆ ที่เคยจัดทำให้กับ สภาหอการค้าอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในภาคอุตสาหกรรมใหญ่ ทั้งส่วนของอุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ และไม่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงยาสูบด้วย ซึ่งก็จะได้นำแนวนโยบายดังกล่าวมาสานต่อเมื่อมาอยู่ที่สมาคมการค้ายาสูบไทย ก็คาดว่าจะสามารถประสบผลสำเร็จได้ตามเป้าหมาย ครึ่งปีที่ผ่านมา เราเห็นว่าในส่วนของยาสูบยังมีปัญหาที่ท้าทายและน่าศึกษาเชิงลึก พอเราศึกษาเชิงลึกในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาสูบโดยเฉพาะ เราจะเห็นว่ามีส่วนของการควบคุม ผ่านทาง พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ซึ่งเราจะต้องศึกษาดูว่า พรบ.ฉบับนี้มีความเกี่ยวโยง และมีความสำคัญที่เราจะต้องตระหนักถึงอะไรบ้าง ซึ่งหลัก ๆ ที่เราเห็นตอนนี้ คือเรื่องบุหรี่เถื่อน ที่ค่อยข้างมีความรุนแรงมากขึ้นพอสมควร ทำให้ในปีนี้เราจะต้องมีการผลักดันเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องจากที่มีการทำอยู่แล้วในช่วงปีที่ผ่านมา กลยุทธ์เชิงรุก แก้ปัญหาการลักลอบค้าบุหรี่เถื่อนในปีนี้ ส่วนแรกเราจะผลักดันและประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐในเชิงรุก จากที่เคยทำเพียงแค่ส่งหนังสือเข้าไปยังองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เราจะปรับรูปแบบในการเข้าไปพบปะพูดคุยในเชิงรุก ซึ่งคาดว่าน่าจะได้ผลลัพธ์ที่มากกว่า เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันด้านการปราบปรามการลักลอบค้าบุหรี่เถื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น แนวทางการขึ้นภาษีบุหรี่ ทำให้บุหรี่ถูกฎหมายมีราคาที่สูงขึ้น เมื่อราคาสูงขึ้น ผู้สูบจึงนิยมไปสูบในราคาที่ถูกกว่า ซึ่งก็คือบุหรี่เถื่อน และส่งผลให้ยอดขายบุหรี่ถูกกฎหมายลดลง และส่งผลกระทบต่อไปยังเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบที่ขายใบยาสูบได้ในปริมาณที่ลดลง ซึ่งเมื่อศึกษาดูข้อมูลแล้ว เจตนารมณ์ของกฎหมายการเพิ่มภาษียาสูบแล้วจะเห็นว่าเป็นการมุ่งเน้นเรื่องของสุขภาพเป็นหลัก ขณะที่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตยาสูบนั้น เมื่อทำถูกฎหมายแล้วแต่กลับถูกลดทอนความสามารถในการแข่งขันด้านราคากับบุหรี่เถื่อนเป็นอย่างมาก ซึ่งก็ทำให้บางร้านอาจจะมีการตัดสินใจลักลอบนำบุหรี่เถื่อนเข้ามาจำหน่าย ในขณะที่บางร้านก็เกรงกลัวและไม่กล้าที่จะนำเข้ามาขาย กลายเป็นปัญหาต่อเนื่องที่เกิดขึ้นตามมา ประเด็นแรกในความตั้งใจของเราจึงเป็นความมุ่งมั่นที่จะทำงานในเชิงรุก เพื่อประสานไปยังหน่วยงานปราบปรามและส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการกวดขันและจับกุมบุหรี่เถื่อนที่เพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากการผลักดันที่เราได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนนี้จะเป็นหัวใจสำคัญที่เราจะผลักดัน ประเด็นที่สอง เป็นส่วนของโครงการที่ช่วยรณรงค์ให้เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี หลีกเลี่ยงในการสูบบุหรี่ ซึ่งจะเป็นการรณรงค์ผ่านแคมเปญ “โชว์การ์ด” เพื่อรณรงค์ของความร่วมมือผ่านเพื่อนร้านค้าสมาชิก ในการที่จะไม่จำหน่ายบุหรี่ให้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ปัญหาการสูบบุหรี่ในเด็กและเยาวชนยังเป็นเรื่องที่สังคมไทยมีความกังวล จากผลสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร ปี 2564 พบว่ายังมีเยาวชนอายุระหว่าง 15-19 ปีกว่า 260,000 คน หรือประมาณ ร้อยละ 6.2 ของประชากรที่มีอายุมากกว่า 15 ปีในประเทศไทยเป็นผู้สูบบุหรี่ แน่นอนว่าคนในสังคมส่วนหนึ่งก็มองมาที่ร้านค้าว่าเป็นต้นเหตุที่ปล่อยให้มีการขายบุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกประเภทให้กับกลุ่มเยาวชนได้ โดยช่วงที่ผ่านมา เราได้ออกพบปะสมาชิกสมาคมฯ เพื่อทำความเข้าใจในการงดจำหน่ายบุหรี่ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งจากการสำรวจกลุ่มสมาชิกพันกว่าราย พบว่ามีความเข้าใจในการทำได้ถูกต้องตามกฎหมายราว 80% ขณะที่อีกราว 20% ก็อาจจะยังไม่มีความเข้าสักเท่าไหร่ ซึ่งก็จะดำเนินการรณรงค์ต่อไปในปี 2566 นี้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การสำรวจยังพบว่ากลุ่มร้านค้าทั่วไป ยังไม่มีความเข้าใจในส่วนของวิชาการ กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้ายาสูบมากนัก ซึ่งเราก็จะพยายามส่งเสริมและให้ความรู้เพื่อให้ผู้ค้ามีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในการจำหน่ายยาสูบต่อไป ทั้งนี้ในอุตสาหกรรมยาสูบ ส่วนใหญ่จะเป็นการขับเคลื่อนด้วยร้านค้าปลีก ร้านค้ารายย่อยทั่วไปเป็นหลัก ซึ่งเขาก็อาจจะไม่มีความสนใจในด้านความรู้ จุดนี้เราจึงต้องประสานกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อสนับสนุนให้ร้านค้าเกิดการตระหนักรู้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดความมั่นคงด้านการค้ายาสูบมากขึ้นตามไปด้วย "เราพยายามจะทำให้แตกต่างจากที่ผ่านมา โดยการเข้าพบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกระตุ้นให้เกิดรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น" การค้ายาสูบไม่ว่าจะเป็นรายใหญ่หรือรายย่อย ควรได้รับการสนับสนุนเหมือนกับภาคธุรกิจอื่น ๆ แต่เนื่องจากในธุรกิจยาสูบมีรายย่อย ๆ เยอะ นอกจากการที่ความรู้ความเข้าใจด้านการทำธุรกิจยาสูบที่ถูกต้องยังมีอยู่น้อยแล้ว การที่เราจะเข้าไปพบปะหารือกับรายย่อย ๆ ตลอดจนการรวบรวมประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นก็ดี ทำให้เรายังไม่เข้าใจได้ลึกซึ้งมากพอ ซึ่งยังมีความไม่เข้าใจของร้านค้าทำให้เราไม่ได้รับข้อมูลที่แท้จริงจากร้านค้าที่เราจะต้องเข้าไปแก้ปัญหา ทำให้สัดส่วนในประเด็นปัญหาที่เราได้จากทั้งรายใหญ่ที่มีเข้ามาเยอะ และรายย่อยที่ยังมีไม่มากพอ ในฐานะที่เรามาจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการค้าส่ง-ค้าปลีก ของสภาหอการค้าฯ ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนด้านการค้าในภาพใหญ่ของประเทศไทย ในฐานะที่เราเป็นสมาชิกทำให้เราสามารถส่งต่อประเด็นปัญหาต่าง ๆ ผ่านไปยังคณะกรรมการชุดดังกล่าว เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยเราผลักดันประเด็นปัญหาที่เรามี และอาจจะมีการเข้าร่วมการประชุมกับคณะกรรมการชุดดังกล่าว ตลอดจนการทำหนังสือนำส่งปัญหาเสนอต่อประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยต่อไปในอนาคต อนึ่ง การจำแนก บุหรี่เถื่อน แบ่งออกเป็น 3 ประเภทที่สำคัญ 1 บุหรี่ที่ผลิตในต่างประเทศแต่ลักลอบนำเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ไม่ผ่านขึ้นตอนทางภาษี ทำให้ต้นทุนต่ำ แต่เสี่ยงความเสียหายระหว่างการขนส่ง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายกับผู้สูบได้จากการปนเปื้อนเชื้อที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บรักษาและขนส่งผิดวิธี 2 บุหรี่ที่มีการหิ้วเข้ามาจากต่างประเทศ ผ่านกระบวนการทางภาษีได้ตามที่กฎหมายกำหนด โดย 1 คนไทยสามารถหิ้วบุหรี่กลับเข้ามาในราชอาณาจักรไทยได้ไม่เกิน200มวนหรือ 1 คอตตอน และ 3 บุหรี่ที่ผลิตขึ้นมาแบบผิดกฎหมาย หรือไม่ผ่านขึ้นตอนการผลิตมาตรฐานแต่อย่างใด ซึ่งนับว่าเป็นประเภทยาสูบที่มีความอันตรายต่อผู้สูบมากที่สุด ขณะที่โครงสร้างการจัดเก็บภาษีบุหรี่ มีด้วยกัน 2 อัตรา แบ่งเป็นบุหรี่ที่มีการจำหน่ายไม่เกินซองละ 72 บาท คิดภาษีเพิ่มในอัตราร้อยละ 25 และบุหรี่ที่มีราคาจำหน่ายเกิน 72 บาท จะต้องจ่ายภาษีเพิ่มในอัตราร้อยละ 42 โดยเริ่มมีการจัดเก็บมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 โดยคาดว่าจะมีการกำหนดโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่ราวต้นปี 2566 เพื่อพิจารณาการจัดเก็บที่รอบด้านมากขึ้น สะท้อนด้านการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ สุขภาพประชาชน ตลอดจนการแก้ไขปัญหาบุหรี่เถื่อนที่ทะลักเข้ามาจากราคาบุหรี่ที่แพงขึ้น ขอบคุณที่มา : https://thereporter.asia/2023/01/17/ttta/
อ่านต่อไม่มีใครอยากเห็นเด็กและเยาวชนสูบบุหรี่
ข่าวเด่นปัญหาการสูบบุหรี่ในเด็กและเยาวชนยังเป็นเรื่องที่สังคมไทยมีความกังวล จากผลสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร ปี 2564 พบว่ายังมีเยาวชนอายุระหว่าง 15-19 ปีกว่า 260,000 คน หรือประมาณ ร้อยละ 6.2 ของประชากรที่มีอายุมากกว่า 15 ปีในประเทศไทยเป็นผู้สูบบุหรี่ แน่นอนว่าคนในสังคมส่วนหนึ่งก็มองมาที่ร้านค้าว่าเป็นต้นเหตุที่ปล่อยให้มีการขายบุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกประเภทให้กับกลุ่มเยาวชนได้ ในฐานะร้านค้าบุหรี่ พวกเราจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยป้องกันเพื่อไม่ให้บุหรี่ตกอยู่ในมือของเด็กๆ ได้ การปกป้องจากการสูบบุหรี่นี้ นอกจากจะเป็นการช่วยยกระดับสังคมของเราให้ยิ่งน่าอยู่ยิ่งขึ้นแล้วนั้น ยังเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดอีกด้วย รวมทั้งยังเป็นการป้องกันความเสี่ยงของร้านค้าเราจากการกระทำผิด พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบซึ่ง พ.ศ.2560 มีบทลงโทษที่ค่อนข้างรุนแรง สมาคมฯ จึงได้ดำเนินโครงการ “โชว์การ์ด” เพื่อรณรงค์และขอความร่วมมือจากเพื่อน ๆ สมาชิกทุกท่าน ไม่ขายบุหรี่หรือผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกประเภทให้กับเยาวชนที่ยังมีอายุไม่ถึง 20 ปี ในการชกมวย การตั้งการ์ด ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการฝึกฝน เพราะการ์ดมวยจะเป็นตัวช่วยกำบังหมัดและป้องกันการโจมตีของคู่ต่อสู้ได้ เช่นเดียวกับกรณีการปกป้องเยาวชนให้ห่างไกลจากผลิตภัณฑ์ยาสูบ เราเองก็ต้องตั้งการ์ดอย่างมั่นคงเข้มแข็ง โดยเริ่มง่าย ๆ ด้วยการสังเกตอายุของผู้มาซื้อบุหรี่ว่าเกิน 20 ปีหรือไม่ และสำหรับผู้ขายก็มีข้อปฏิบัติด้วยเช่นกัน คือร้านค้าขายปลีกหรือบุคคลที่เป็นผู้ขายนั้น จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ จึงจะสามารถขายสินค้าประเภทยาสูบได้ การ “โชว์การ์ด” ยังหมายถึงการขอให้ผู้ซื้อบุหรี่แสดงบัตรประชาชน หรือ ไอดีการ์ด หากพวกเราซึ่งเป็นผู้ขายไม่แน่ใจในอายุของผู้ที่เข้ามาขอซื้อบุหรี่ และหากเป็นไปได้ อาจพูดหรือการอธิบายให้เยาวชนได้เข้าใจและตระหนักถึงความเหมาะสมต่อวัย ขอเชิญชวนเพื่อนสมาชิกร้านค้าปลีกทุกท่านปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย และร่วมกันเป็นด่านหน้าในการป้องกันเยาวชนลูกหลานของเราให้ห่างไกลจากสินค้ายาสูบไปด้วยกันนะคะ
อ่านต่อสมัครสมาชิก
สำหรับผู้ประกอบกิจการการค้าผลิตภัณฑ์ยาสูบ และ หรือวิสาหกิจ ในทางการค้าอื่นที่เกี่ยวข้องกับการค้า ผลิตภัณฑ์ยาสูบโดยตรง อัตราค่าลงทะเบียนแรกเข้า 200 บาท และค่าบำรุงสมาคม 100 บาท / 2 ปี (ปีละ 50 บาท เก็บทุกๆ สองปี)สมาชิกประเภทวิสามัญ สำหรับผู้มีความสนใจหรือมีความรู้เกี่ยวกับยาสูบหรือ ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือ ผู้ประกอบวิสาหกิจในทางการค้า อุตสาหกรรม หรือการเงิน การขนส่งยาสูบ หรือผลิตภัณฑ์ยาสูบ หรือธุรกิจใดๆ อันเกี่ยวเนื่องกับยาสูบ หรือ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ อัตราค่าลงทะเบียนแรกเข้า 1,000 บาท และค่าบำรุงสมาคม 1,000 ต่อปี
แจ้งเบาะแสบุหรี่ผิดกฎหมาย
พบเห็นการซื้อขายบุหรี่ผิดกฎหมาย สามารถแจ้งผ่านช่องทางออนไลน์ของทางสมาคม และสมาคมจะนำข้อมูลเหล่านี้ยื่นต่อหน่อยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ผู้ที่แจ้งเบาะแสสามารถติดตามผลการแจ้งได้โดยใส่รหัสอ้างอิงที่ได้รับแจ้ง
เบาะแส
©2024 Thai Tobacco Trade Association (TTTA). All right reserved.