ชี้ปัญหาใต้พรมของการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่

ในโอกาสวันงดสูบบุหรี่โลก วันที่ 31 พฤษภาคม ในปีนี้ ขอขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่และการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับอันตรายจากควันยาสูบเพื่อพัฒนาสุขภาวะของผู้สูบบุหรี่ บุคคลรอบข้าง รวมถึงผู้ไม่สูบบุหรี่ในประเทศไทยผ่านมาตรการที่เข้มงวดเสมอมา เพราะบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นตัวแปรสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (Non-Communicable Disease หรือ NCD) ที่คร่าชีวิตคนไทยปีละกว่า 72,000 คน โดยโรคที่เป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญ

อันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพที่เห็นเป็นที่ประจักษ์นี้ทำให้มาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบได้รับการยอมรับและถูกบังคับใช้อย่างเข้มงวด โดยเฉพาะกับบุหรี่มวนที่ผลิตจากโรงงานทั้งในประเทศและผ่านการนำเข้าอย่างถูกกฎหมายจากผู้ผลิตต่างชาติ ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ที่มีผลให้บุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานต้องปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์และมีภาพคำเตือนเกี่ยวกับอันตรายด้านสุขภาพ รวมถึงห้ามมีการสื่อสารและโฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบ ในส่วนของร้านค้าปลีก มีการกำหนดอายุผู้ซื้อและผู้ขาย การตั้งแสดงผลิตภัณฑ์ยาสูบที่หน้าร้านและการแบ่งมวนขายแบบในอดีตก็ไม่สามารถทำได้อีกต่อไป นอกจากนี้ยังมีมาตรการที่มุ่งเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้สูบบุหรี่ เช่น การห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ การให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของบุหรี่ และตัวผู้สูบเองก็ต้องแบกรับภาระด้านราคาที่เพิ่มสูงขึ้นจากการปรับขึ้นภาษีอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลจากการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร ปี 2564 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่าในประเทศไทยมีผู้บริโภคยาสูบที่อายุ 15 ปีขึ้นไปทั้งหมดกว่า 9.9 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้บริโภคยาเส้น 4,608,837 คน คิดเป็นกว่าครึ่งของจำนวนทั้งหมด ซึ่งยาเส้นนั้นมีอันตรายไม่ต่างจากบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานเพราะจำเป็นต้องมีการจุดไฟเผาเพื่อการบริโภคอยู่ แต่มาตรการต่างๆ ที่มีต่อผู้ผลิต ผู้นำเข้า ร้านค้าปลีก รวมถึงผู้บริโภคบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานกลับไม่ได้ถูกนำไปใช้กับยาเส้นในมาตรฐานเดียวกัน

ยาเส้นถูกจัดเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย ทำให้มีการเก็บภาษีต่ำกว่าบุหรี่มาก ราคาของยาเส้นจึงถูกกว่าบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานมาก และมีการวางขายได้ทั่วไปอย่างอิสระตามร้านค้าชุมชนเพราะความเข้มงวดของกฎระเบียบยังไม่เท่าเทียมกับบุหรี่มวน สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มุ่งจะยกระดับสุขภาวะของคนไทยถูกบังคับใช้กับการบริโภคยาสูบเพียง 50% ของประเทศเท่านั้น

นอกจากนี้ ตามรายงานประจำปีฉบับล่าสุดของการยาสูบแห่งประเทศไทยปี 2565 ระบุว่าจำนวนบุหรี่ผิดกฎหมายในตลาดเพิ่มขึ้นถึง 70% โดยคิดเป็นสัดส่วนการบริโภคกว่า 10.3% ในปี 2564 ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากบุหรี่เถื่อนจะถูกพบได้ทั่วไปตามหน้าร้านที่ไม่ได้มีใบอนุญาตแล้ว ยังแพร่ระบาดบนเว็บไซต์ออนไลน์ และโซเชียลมีเดียด้วย โดยการสำรวจในเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2565 ที่ผ่านมา พบบทสนทนาเกี่ยวกับการซื้อขายบุหรี่เถื่อนบนโซเชียลมีเดียโตขึ้นถึง 97% ซึ่งการแพร่ระบาดของบุหรี่เถื่อนนี้เป็นบ่อนทำลายประสิทธิผลของมาตรการควบคุมยาสูบทั้งมาตรการด้านภาษีและมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี

ชัดเจนว่ามาตรการควบคุมที่เข้มงวดกับบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานอย่างถูกกฎหมายและร้านค้าที่ขายบุหรี่อย่างถูกกฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้เลยกับยาเส้นและบุหรี่ที่ผิดกฎหมาย ตอกย้ำถึงปัญหาที่ซ่อนเร้นของมาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ไม่ตอบโจทย์ภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน

ปัญหาบุหรี่เถื่อนไม่ได้เป็นความท้าทายต่ออุตสาหกรรมยาสูบไทยเพียงประเทศเดียว แต่เป็นความท้าทายต่อนานาประเทศที่ใช้กลไกด้านภาษีมาลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ตามแนวทางที่ได้รับจากกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (Framework Conventional on Tobacco Control: FCTC) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เช่นกัน โดยในปีนี้จะมีการจัดประชุมรัฐภาคี (Conference of the Parties หรือ COP) ของกรอบอนุสัญญาครั้งที่ 10 ขึ้นที่ประเทศปานามา รวมถึงการประชุมประเทศสมาชิกของพิธีสารเพื่อกำจัดการค้าที่ผิดกฎหมายในผลิตภัณฑ์ยาสูบ ครั้งที่ 3 เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการปราบปรามบุหรี่เถื่อนให้มีประสิทธิภาพด้วย

การเลือกประเทศปานามาเป็นสถานที่จัดประชุมระดับโลกครั้งนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่นที่จะนำปัญหาบุหรี่เถื่อนขึ้นมาถกเถียงกันอย่างเปิดเผยเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายหลักในการลดจำนวนผู้สูบบุหรี่อย่างเป็นรูปธรรมให้กับกรอบอนุสัญญาฯ มากกว่าการลงนามที่ไม่มีข้อผูกมัดเช่นในอดีต La Estrella สื่อท้องถิ่นของปานามารายงานว่าปานามาเปรียบเสมือนศูนย์กลางของการส่งออกบุหรี่เถื่อนไปสู่ตลาดใต้ดินทั่วโลก ในปี 2022 การบริโภคยาสูบกว่า 92% ของปานามาเป็นการบริโภคบุหรี่เถื่อน ซึ่งคิดเป็น 9 ใน 10 ส่วนของการบริโภคยาสูบทั้งหมดของประเทศ นอกจากนี้ปานามายังส่งออกบุหรี่เถื่อนไปยังประเทศเพื่อนบ้านในทวีปอเมริกาและประเทศอื่นๆ ถึงกว่า 8 พันล้านมวนต่อปี

เมื่อมีการขับเคลื่อนจากองค์กรระดับโลกแล้วก็คงถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องตอบรับและปรับมาตรการควบคุมยาสูบให้เหมาะกับบริบทภายในประเทศด้วยมาตรฐานที่เท่าเทียมกับทุกผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มีความอันตรายไม่ต่างกัน รวมถึงขยายการบังคับใช้สู่บุหรี่เถื่อนที่มีสัดส่วนการบริโภคมากกว่า 10% ด้วย เพราะชัดเจนแล้วว่าการบังคับใช้มาตรการแบบสองมาตรฐานส่งผลเสียกับการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานเท่านั้น ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งของอุตสาหกรรมไม่ได้อยู่ภายใต้มาตรการควบคุมใดๆ และไม่เคยถูกหยิบยกขึ้นมานำเสนอแม้จะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้จำนวนผู้บริโภคยาสูบของไทยคงที่มานาน การลงนามในพิธีสารเกี่ยวกับการต่อต้านการค้าบุหรี่ผิดกฎหมาย หรือความพยายามในการสร้างระบบแกะรอยติดตามจึงอาจจะยังไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด เพราะเป็นการบังคับใช้แต่ผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบ ขณะที่การลักลอบค้าบุหรี่ผิดกฎหมายไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายใดๆ แต่สามารถตีตลาดของการยาสูบแห่งประเทศไทยได้อย่างง่ายดาย เมื่อไม่พูดถึงปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่ใต้พรมก็คงไม่อาจบรรลุเป้าหมายทางสาธารณสุขของประเทศในระยะยาวได้

ขอบคุณที่มา: https://www.khaosod.co.th/

ข่าวน่าสนใจ
...
วันนวมินทรมหาราช
วันสำคัญ

13 ตุลาคม "วันนวมินทรมหาราช" วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สถิตในใจตราบนิจนิรันดร์ น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม  ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สมาคมการค้ายาสูบไทย

อ่านต่อ
...
ถึงเวลาแล้วที่เราต้องช่วยกัน .... แจ้งเบาะแส “การซื้อขายบุหรี่ผิดกฎหมาย”
ข่าวสารเพื่อสมาชิก

ปัญหาการลักลอบนำเข้าและจำหน่ายบุหรี่ผิดกฎหมาย ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังแก้ไม่ตก นอกจากรัฐบาลจะสูญเสียรายได้จากภาษีนำเข้าแล้ว ยังกระทบต่อรายได้ของร้านค้าปลีกที่ขายบุหรี่ถูกกฎหมาย  สมาคมการค้ายาสูบไทย (สคยท.) ได้เปิดช่องทางรับแจ้งเบาะแส “การซื้อขายบุหรี่ผิดกฎหมาย” ทั้งนี้ หากประชาชนท่านใดทราบเบาะแสหรือพบเห็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับ “การซื้อขายบุหรี่ผิดกฎหมาย” สามารถแจ้งเบาะแสผ่านช่องทางออนไลน์ที่ https://ttta.or.th/report-form ข้อมูลที่ประชาชนแจ้งเบาะแสเข้ามานั้น จะถูกนำไปประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขยายผล เพื่อนำไปสู่การจับกุมผู้กระทำความผิดในอนาคตต่อไป สำหรับช่องทางดังกล่าวถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทางสมาคมฯหวังว่าจะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของร้านค้าปลีกที่ขายบุหรี่ถูกกฎหมายลงได้ไม่มากก็น้อย 

อ่านต่อ
...
ปิดสวิตซ์บุหรี่เถื่อน! อุตสาหกรรมยาสูบผนึกกำลังร้องนายกเศรษฐาเร่งปราบปราม เผยบุหรี่เถื่อนสูงถึง 25% ทำรัฐเสียหายกว่า 3 หมื่นล้านบาท
ข่าวสารเพื่อสมาชิก

อุตสาหกรรมยาสูบผนึกกำลังร้องนายกรัฐมนตรีแก้ปัญหาบุหรี่เถื่อนโดยด่วน ชี้ตลาดตอนนี้เป็นบุหรี่เถื่อนไปแล้วกว่า 1 ใน 4 เดือดร้อนกันถ้วนหน้า ร้านค้า แรงงาน เกษตรกรทุกข์หนัก โอดต้องให้อดตายไร้หนทางทำกินก่อนหรือไม่รัฐบาลถึงจะรับรู้ปัญหา ขอใช้ 31 พฤษภาคมเป็นวันงดสูบบุหรี่เถื่อน เพื่อให้สังคมน่าอยู่และปลอดภัย สมาคมการค้ายาสูบไทย ร่วมกับภาคีเครือข่ายชาวไร่ยาสูบแห่งประเทศไทย และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจยาสูบ การยาสูบแห่งประเทศไทย จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “รวมพลังปราบปรามบุหรี่ผิดกฎหมาย: เศรษฐกิจมั่นคง สังคมปลอดภัย” ขึ้นในวันที่ 29 พฤษภาคม 2567 ยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลยกปัญหาบุหรี่เถื่อนเป็นวาระแห่งชาติ ประกาศแนวทางการปราบปรามและเพิ่มโทษให้รุนแรง เพราะกระทบความเป็นอยู่ชาวไร่ยาสูบมานานหลายปี ภายในงาน นายสุเทพ ทิมศิลป์ รักษาการประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจยาสูบได้เปิดเผยสถิติที่น่าตกใจจากการสำรวจการบริโภคบุหรี่ผิดกฎหมายล่าสุด ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2567 ที่แสดงว่าประเทศไทยมีสัดส่วนการบริโภคบุหรี่ผิดกฎหมายถึง 25.5% หรือ 1 ใน 4 ของตลาด สูงที่สุดเท่าที่เคยมีการสำรวจมา คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า 30,000 ล้านบาทต่อปี สมาคมการค้ายาสูบไทย โดย นางสาวธัญญศรัณ แสงทอง ผู้อำนวยการบริหาร ชี้บุหรี่เถื่อนจะลดได้หากปิดช่องโหว่ของกฎหมาย เรียกร้องให้รัฐกวดขันกับ 3 ช่องทางลักลอบนำเข้าหลัก ได้แก่ 1) ช่องทางธรรมชาติตามแนวชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน และส่งต่อไปยังโกดังรวมของจุดใหญ่ ๆ ตามภูมิภาคผ่านรถและพัสดุไปรษณีย์ 2) ทางทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ขนถ่ายจากเรือใหญ่สู่เรือประมงขนาดเล็ก มีต้นทางหลักคือเวียดนาม กัมพูชา และอินโดนีเซีย และ 3) ขนส่งผ่านเขตฟรีโซน เช่น แหลมฉบัง อาศัยช่องว่างทางกฎหมายศุลกากร โดยระบุปลายทางสินค้าเป็นประเทศที่ 3 เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ และนำกลับเข้ามากระจายในประเทศไทย หากจัดการได้จะเป็นการลดการทุจริตภายในประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในท่อน้ำเลี้ยงของการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติในภูมิภาคอาเซียนด้วย ด้านภาคีเครือข่ายชาวไร่ยาสูบแห่งประเทศไทย กล่าวว่า พวกตนเรียกร้องให้รัฐจัดการบุหรี่ผิดกฎหมายมานานหลายปี เพราะชาวไร่ยาสูบเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับความเดือดร้อนโดนตัดโควตาการปลูกจากการยาสูบฯ แม้ในปัจจุบันจะได้โควตาคืนมาบ้าง แต่ก็ไม่มีอะไรการันตีได้เลยว่าการยาสูบฯ จะสามารถรับซื้อใบยาและปรับราคาเพิ่มได้เหมือนในฤดูกาลปลูกนี้อีก เพราะธุรกิจบุหรี่ซึ่งเป็นธุรกิจหลักได้ถูกบุหรี่ผิดกฎหมายช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดไปแล้วถึง 1 ใน 4 คิดเป็นกว่า 8,000 – 9,000 ล้านมวน หากเปลี่ยนเป็นบุหรี่ถูกกฎหมายจะเทียบเท่ากับใบยา กว่า 6.4 – 7.2 ล้านกิโลกรัม หรือกว่าครึ่งของใบยาที่เราขายให้กับการยาสูบฯ ในปัจจุบัน  “พวกเราประกอบอาชีพทำยามากว่า 3 ชั่วอายุคน ยาสูบทำให้ครอบครัวมีรายได้ที่มั่นคงมาตลอด แต่ยุคนี้เรามองไม่เห็นว่าอนาคตในอีก 3 ปี 5 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เพราะไม่มีแนวทางแน่ชัดอะไรจากรัฐบาลในการปราบปรามบุหรี่เถื่อนที่เป็นปัญหาหลักของอุตสาหกรรมตอนนี้นอกเหนือจากการไล่จับร้านค้ารายย่อย แต่ไม่เคยสาวไปถึงต้นตอของขบวนการ ไม่เคยจับได้คาตู้คอนเทนเนอร์  พวกเราเชื่อว่าบุหรี่เถื่อนลดได้หากทุกฝ่ายร่วมมือกัน แต่ควรมีนโยบายที่ชัดเจนจากนายกรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติเพื่อทำให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายปราบปรามอย่างจริงจัง และเร่งประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นต้นทางอีกด้วย”

อ่านต่อ
...
ส.ค้ายาสูบไทยหนุนรัฐขึ้นบัญชีผู้ค้า หลังพบ “บุหรี่เถื่อน” เกลื่อนออนไลน์ เพิ่มขึ้น 181% จี้รัฐจัดการภัยออนไลน์ และขยายผลเครือข่ายทั่วประเทศ
ข่าวเด่น

สมาคมการค้ายาสูบไทย จี้หน่วยงานภาครัฐและแพลตฟอร์มออนไลน์ขึ้นบัญชีเฝ้าระวังการกระทำผิดกฎหมายทางสื่อออนไลน์อย่างเข้มงวด เชื่อเทคโนโลยีสาวถึงต้นทางได้ หลังผลสำรวจบุหรี่เถื่อนออนไลน์ พบการสนทนาซื้อ-ขายเติบโตถึง 181% ในช่วง 6 เดือน ปัจจัยหลักเน้นที่ราคาถูก รสชาติดี มีลูกเล่น และหาซื้อง่าย ชี้ปัจจุบันร้านบุหรี่เถื่อนออนไลน์ทั้ง เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ ยูทูป เว็บบอร์ด เว็บไซต์ และขยายไปขายบน “ติ๊กต็อก” ตามเทรนด์ชาวเน็ตไทย หวั่นกระทบร้านค้าปลีกถูกกฎหมาย เยาวชนเข้าถึงง่าย ชี้การขายบุหรี่เถื่อนออนไลน์ได้ไม่คุ้มเสีย นางสาวธัญญศรัณ แสงทอง ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมการค้ายาสูบไทย กล่าวว่า การขายบุหรี่เถื่อนบนช่องทางออนไลน์มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะบน “X (ทวิตเตอร์)” ที่ผู้ขายมีการลงโพสต์สินค้าเพื่อสั่งซื้อผ่านข้อความส่วนตัว (Direct Message) และไลน์ นอกจากนี้ ร้านค้าเหล่านี้ยังระบุว่าได้ขยายหน้าร้านไปบน “ติ๊กต็อก” ด้วย แม้ว่าพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 จะห้ามขายทางช่องทางออนไลน์อย่างชัดเจน มีโทษทั้งจำทั้งปรับ “สมาคมฯ สำรวจพบบทสนทนาเกี่ยวกับบุหรี่เถื่อนบนช่องทางออนไลน์ ในระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - เดือนธันวาคม 2566 พบมีบทสนทนาเพิ่มขึ้นกว่า 181% โดยช่องทางที่พูดถึงเรื่องบุหรี่เถื่อนมากที่สุด คือ X (ทวิตเตอร์) 93% เฟซบุ๊ก 5% และยูทูป 2 % ตามลำดับ คีย์เวิร์ดที่ถูกใช้มากที่สุด ได้แก่ ราคาถูก กลิ่นและรสชาติ ลูกเล่นของสินค้า นอกจากนี้เว็บไซต์ขายบุหรี่เถื่อนยังถูกค้นหาบน Google มากที่สุดจากจังหวัดสมุทรปราการ นครราชสีมา นนทบุรี ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร สอดคล้องกับผลสำรวจการบริโภคบุหรี่เถื่อนของอุตสาหกรรมยาสูบ ไตรมาส 4 ปี 2566 ที่ระบุว่ามีอัตราการบริโภคบุหรี่เถื่อนที่เติบโตมากกว่าเท่าตัวในกรุงเทพและปริมณฑล” สำหรับปัจจัยด้านราคานั้นยังคงพบว่าราคาขายถูกกว่าบุหรี่ถูกกฎหมายมากสะท้อนให้เห็นว่าหน้าร้านออนไลน์มีผลอย่างยิ่งกับการบริโภคบุหรี่เถื่อนของคนไทย ที่ปัจจุบันในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 เพิ่มขึ้นถึง 22.6% แล้ว ที่สำคัญการซื้อบุหรี่เถื่อนบนโลกออนไลน์ ทำให้เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ผู้ขายก็ไม่มีการตรวจสอบอายุผู้ซื้อก่อนขายให้ “สมาคมฯ ขอเป็นตัวแทนร้านค้าบุหรี่ถูกกฎหมายกว่า 500,000 ร้านทั่วประเทศไทย เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงดิจิทัลฯ สำรวจและขึ้นบัญชีร้านค้าออนไลน์ และเร่งบังคับใช้กฎหมายกับการขายบุหรี่เถื่อนทั้งที่มีหน้าร้านและร้านค้าออนไลน์อย่างเข้มงวด รวมถึงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่ต้องมีนโยบายปกป้องสังคมจากการขายสินค้าผิดกฎหมาย เพราะร้านค้าบุหรี่ถูกกฎหมาย ไม่ควรจะมาสูญเสียรายได้ให้กับเครือข่ายบุหรี่เถื่อนออนไลน์ที่เติบโตอย่างมากทั่วประเทศ หากปล่อยไว้เช่นนี้จะทำให้ไม่สามารถปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชน ไม่สามารถลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ได้ และสะท้อนปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งการทุจริตคอรัปชันอีกด้วย”

อ่านต่อ

สมัครสมาชิก

สำหรับผู้ประกอบกิจการการค้าผลิตภัณฑ์ยาสูบ และ หรือวิสาหกิจ ในทางการค้าอื่นที่เกี่ยวข้องกับการค้า ผลิตภัณฑ์ยาสูบโดยตรง อัตราค่าลงทะเบียนแรกเข้า 200 บาท และค่าบำรุงสมาคม 100 บาท / 2 ปี (ปีละ 50 บาท เก็บทุกๆ สองปี)

สมาชิกประเภทวิสามัญ สำหรับผู้มีความสนใจหรือมีความรู้เกี่ยวกับยาสูบหรือ ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือ ผู้ประกอบวิสาหกิจในทางการค้า อุตสาหกรรม หรือการเงิน การขนส่งยาสูบ หรือผลิตภัณฑ์ยาสูบ หรือธุรกิจใดๆ อันเกี่ยวเนื่องกับยาสูบ หรือ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ อัตราค่าลงทะเบียนแรกเข้า 1,000 บาท และค่าบำรุงสมาคม 1,000 ต่อปี

แจ้งเบาะแสบุหรี่ผิดกฎหมาย

พบเห็นการซื้อขายบุหรี่ผิดกฎหมาย สามารถแจ้งผ่านช่องทางออนไลน์ของทางสมาคม และสมาคมจะนำข้อมูลเหล่านี้ยื่นต่อหน่อยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ผู้ที่แจ้งเบาะแสสามารถติดตามผลการแจ้งได้โดยใส่รหัสอ้างอิงที่ได้รับ

แจ้ง
เบาะแส