จับตานโยบายเชิงรุก สมาคมการค้ายาสูบไทย แก้ไขปัญหาแบบตรงเป้า

วันนี้เราจะมาแชร์ความรู้เรื่อง 8 สิ่งที่ห้ามทำ ที่พ่อค้าแม่ค้าร้านโชห่วยบางคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน ว่าหากทำแบบนี้ถือว่าผิดกฎหมายหรืออาจโดนปรับได้ ดังนั้นรู้ก่อน ก็ป้องกันได้ก่อน มีอะไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ

1.ห้ามขายบุหรี่ให้กับผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี

 

ข้อปฏิบัติตามกฎหมาย สำหรับผู้ขายบุหรี่

ห้ามตั้งโชว์หรือวางแสดงบุหรี่ให้ผู้ซื้อหรือประชาชนมองเห็น หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท

ห้ามขายบุหรี่ให้กับผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี *หากสงสัยอายุผู้ซื้อ ผู้ขายมีสิทธิ์ขอดูบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นที่ตรวจสอบอายุผู้ซื้อได้ และห้ามใช้ จ้าง วาน หรือยินยอมให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ขายบุหรี่ หากฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 30,000 บาท

ห้ามแบ่งขาย ต้องขายบุหรี่ทั้งซอง หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท

ห้ามโฆษณา ขายบุหรี่ ห้ามติดป้ายแสดงชื่อ และราคาขายบุหรี่ ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ ที่อาจจูงใจให้ซื้อหรือบริโภค ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 40,000 บาท และเร่ขาย ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

2. ห้ามจำหน่ายเหล้า-เบียร์ เกินเวลาที่กำหนด


ไม่ขายวันพระใหญ่ วันมาฆบูชา วิสาขบูชา อาสาฬบูชา เข้าพรรษา-ออกพรรษา

ร้านค้าสามารถขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้สองช่วง คือ ช่วงกลางวัน เวลา 11.00-14.00 น. ช่วงเย็น เวลา 17.00-24.00 น.

ไม่ส่งเสริมการขาย โดยการลดราคา แจก แถม ชิงรางวัล หรือจับฉลากให้หรือแลกกับสินค้าอื่น ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่บุคคล ซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ และบุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้ ซึ่งหากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. ห้ามจำหน่ายตาชั่ง ตวง วัด หากไม่มีใบอนุญาต

 
ในการจะจำหน่ายเครื่องชั่ง ตวงวัด จะต้องทำการขอหนังสือประกอบธุรกิจ จากสำนักชั่งตวงวัด ศูนย์ชั่งตวงวัด หรือสำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขต ที่มีอำนาจในจังหวัดที่สถานที่ประกอบธุรกิจตั้งอยู่ หากจําหน่ายโดยไม่ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท มาตรา ๖๘ ผู้ใดประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗ โดยไม่มีหนังสือรับรองการประกอบ ธุรกิจ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

4. ห้ามจำหน่ายยาที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน

 

ยาอันตรายที่ห้ามจำหน่ายในร้านของชำ

  • ยาปฏิชีวนะ / ยาแก้อักเสบ
  • ยาแก้ปวด
  • ยาหยุดถ่าย
  • ยาฆ่าพยาธิ
  • ยาควบคุมพิเศษ

หากขายโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี

กลุ่มยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาเม็ดหรือยาน้ำลดกรดอะลูมินาแมกซีเนีย / ยาธาตุน้ำแดง / ทิงเจอร์มหาหิงคุ์ / ยาผงฟู่แก้ท้องอืด / ยาเม็ดหรือยาน้ำบรรเทาอาการเนื่องจากกรดไหลย้อน

กลุ่มยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ท้องเสียผงน้ำตาลเกลือแร่ / ยาผงถ่านรักษาอาการท้องเสีย

กลุ่มยาระบาย ยาระบายแมกนีเซีย / ยาระบายโซเดียมคลอไรด์ ชิดสวนทวาร

กลุ่มยาบรรเทาอาการปวกกล้ามเนื้อ แมลงกัดต่อย ยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง

กลุ่มยาแก้แพ้ลดน้ำมูก ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก คลอร์เฟนิรามีน

กลุ่มยาแก้ไอขับเสมหะ ยาน้ำแก้ไอขับเสมหะ / ยาแก้ไอน้ำดำ

กลุ่มยา ยาดมหรือ ทาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก ยาดมแก้คัดจมูก / ยาทาระเหยบรรเทาอาการคัดจมูก ชนิดขี้ผึ้ง

กลุ่มยาแก้เมารถ เมาเรือ ยาเม็ดไดเมนไฮดริเนท

กลุ่มยาสำหรับโรคปาก และลำคอ ยาอมบรรเทาอาการเจ็บคอ

กลุ่มยาสำหรับโรคผิวหนัง ยารักษาหิดเหา / ยาทาแก้ผดผื่นตันคาลาไมน์

กลุ่มยาใส่แผล ล้างแผล ยาทิงเจอร์ไอโอดีน / แอลกอฮอล์ล้างแผล / น้ำเกลือล้างแผล

กลุ่มยาบำรุงร่างกาย ยาเม็ดวิตามันซี / ยาเม็ดวิตามินรวม

กลุ่มยาบรรเทาปวดลดไข้ ยาเม็ดพาราเซตามอล / พลาสเตอร์ติดบรรเทาอาการแก้ปวด

5. ห้ามจำหน่ายสินค้าไม่มี อย. มอก.

 

เครื่องหมาย อย. หมายถึงผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้การผ่านเกณฑ์การตรวจสอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่คุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับ 6 ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน และวัตถุเสพติดที่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน

เครื่องหมาย มอก. คืออะไร ?
มอก. ย่อมาจากคำว่า มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมายถึง ข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุดครอบคลุมสินค้า ได้แก่ สินค้าอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ สิ่งทอ และวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น หากจำหน่ายสินค้าที่ไม่ผ่าน มอก. มีโทษจำคุก 1 เดือน ปรับสูงถึง 50,000 บาท

6. ห้ามจำหน่ายน้ำมันขวดแบ่งขาย เกินปริมาณกำหนด

 
ร้านจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงรายย่อย เป็นกิจการที่สามารถประกอบได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งหรือขออนุญาต แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542 มีหลักเกณฑ์ ดังนี้ร้านค้าที่หรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดสามารถจัดเก็บได้ปริมาณไม่เกินที่กำหนด

น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ฯลฯ ร้านค้าจัดเก็บเพื่อจำหน่ายได้ไม่เกิน 40 ลิตร

น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง ได้แก่ น้ำมันก๊าด น้ำมันเชื้อเพลิง ร้านค้าจัดเก็บเพื่อจำหน่ายได้ไม่เกิน ลิตร

น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อย ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่น ฯลฯ ร้านค้าจัดเก็บเพื่อจำหน่ายได้ไม่เกิน 454 ลิตร

7. ห้ามจำหน่ายสินค้าหนีภาษี

 
ผู้ที่ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาไปซื้อ รับจำนำ หรือรับของไว้ ซึ่งรู้ว่าเป็นของอันเนื่องด้วยความผิดฐานหลีกเลี่ยงอากรตามมาตรา 243 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ครึ่งเท่า แต่ไม่เกิน 4 เท่าของค่าอากรที่ต้องเสียเพิ่ม หรือทั้งจำทั้งปรับ

8. ห้ามจำหน่ายน้ำหอมขวดแก้วที่ไม่มีฉลาก

 

การจำหน่ายสินค้าเครื่องสำอางปลอม เช่น น้ำหอมขวดแก้วที่ไม่มีฉลาก แล้วแปะสติ๊กเกอร์แบรนด์ดัง การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของแบรนด์นั้น จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท

การเป็นเจ้าของธุรกิจที่ต้องดูแลร้านค้ามีสิ่งที่ต้องศึกษา ทำความเข้าใจ และข้อที่ควรระวัง หากไม่อยากโดนจับ หรือ โดนปรับกัน หวังว่าพ่อค้าแม่ค้าที่อ่านบทความนี้จะได้ความรู้ที่นำไปใช้ในการดูแลร้านค้าและระวังไม่ให้ทำผิดกฎหมายโดยที่ไม่รู้ตัวกัน

แหล่งอ้างอิง

https://db.oryor.com
http://www.cbwmthai.org/scale.aspx
https://www.doeb.go.th/knowledge/new_oil_law.htm


แหล่งที่มา: https://www.rantiddao.com

ข่าวน่าสนใจ
...
วิกฤตบุหรี่เถื่อน เมื่อนโยบายผิดพลาด เปิดช่องตลาดมืด
ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อน

นโยบายการปราบปรามบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเข้มข้นของรัฐบาล โดยให้เหตุผลเรื่องสุขภาพและการป้องกันเยาวชน แม้จะได้ใจประชาชนอยู่บ้าง แต่ก็กำลังสร้างปัญหาใหม่ที่ใหญ่กว่า นั่นคือการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของการค้าบุหรี่เถื่อน ซึ่งไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายมหาศาลต่อรายได้ภาษีของรัฐ แต่ยังเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนทั่วประเทศ เพราะการปราบปรามบุหรี่ไฟฟ้าคือการผลักดันให้ผู้บริโภคจำนวนมากที่ต้องการนิโคติน หันกลับไปหา "บุหรี่มวน" แต่ไม่ใช่บุหรี่มวนที่ถูกกฎหมาย หากแต่เป็น "บุหรี่เถื่อนราคาถูก" ที่หาซื้อได้ง่ายขึ้นอย่างน่าตกใจ แถมยังมีกลิ่นและรสชาติที่ตรงใจผู้สูบบุหรี่มากกว่า ข้อมูลการสำรวจซองบุหรี่เปล่าประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2568 ที่เปิดเผยโดยสมาคมการค้ายาสูบไทยชี้ให้เห็นว่าสัดส่วนการบริโภคบุหรี่เถื่อนเพิ่มขึ้นเป็น 28.1% เมื่อเทียบกับการสำรวจครั้งก่อนหน้าเมื่อไตรมาส 3 ปี 2567 ที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 25.4% โดย สตูล สงขลา พัทลุง ภูเก็ต และนครศรีธรรมราช ยังคงครองแชมป์จังหวัดที่มีการบริโภคบุหรี่เถื่อนสูงสุดในประเทศ การแพร่ระบาดของบุหรี่เถื่อนส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากบุหรี่เหล่านี้ไม่ได้เสียภาษีสรรพสามิต ส่งผลให้รัฐสูญเสียรายได้ภาษีมหาศาลมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท ที่ควรนำมาพัฒนาประเทศและดูแลสุขภาวะของประชาชน นอกจากนี้ บุหรี่เถื่อนมักไม่มีการควบคุมคุณภาพการผลิต ทำให้มีสารพิษเจือปนในปริมาณที่สูงกว่าบุหรี่ถูกกฎหมายหลายเท่า ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้สูบและผู้ใกล้ชิดในระยะยาว ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสาธารณสุขที่รุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต สิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่งคือ การค้าบุหรี่เถื่อนในปัจจุบันได้ย้ายฐานมาสู่แพลตฟอร์มออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ไลน์ หรือแม้กระทั่งแอปพลิเคชันซื้อขายสินค้าทั่วไป ผู้ค้าสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านจริง และหลบเลี่ยงการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ได้ค่อนข้างสะดวก รูปแบบการซื้อขายที่หลากหลายและราคาที่ถูกกว่าบุหรี่ถูกกฎหมาย บวกกับการเติบโตของแพลตฟอร์มผู้ให้บริการรับ-ส่งสินค้า ที่เข้ามาเสริมเรื่องความสะดวกสบายในการส่งของให้ถึงหน้าบ้าน ทำให้บุหรี่เถื่อนแพร่กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนที่เข้าถึงช่องทางออนไลน์เหล่านี้ได้อย่างง่ายดาย เป็นที่น่าตั้งคำถามอย่างยิ่งว่า ในขณะที่กระทรวงสาธารณสุขแสดงบทบาทอย่างแข็งขันในการปราบปรามบุหรี่ไฟฟ้า แต่กลับดูเหมือนจะละเลยและมองข้ามปัญหาการค้าบุหรี่เถื่อนที่กำลังเติบโตอย่างน่าเป็นห่วง และเช่นเดียวกันกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ที่มีหน้าที่ดูแลและปิดกั้นเนื้อหาผิดกฎหมายบนโลกออนไลน์ ก็ดูเหมือนจะยังไม่มีมาตรการที่เด็ดขาดและเป็นรูปธรรมในการจัดการกับเว็บไซต์และบัญชีโซเชียลมีเดียที่ลักลอบค้าบุหรี่เถื่อนเหล่านี้ การเพิกเฉยต่อปัญหานี้เท่ากับการปล่อยให้ตลาดมืดเติบโตอย่างเสรี และเป็นการบั่นทอนความพยายามในการควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศ สถานการณ์เช่นนี้ไม่สามารถปล่อยทิ้งไว้ได้อีกต่อไป จึงถึงเวลาแล้วที่ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะผู้กุมบังเหียนการดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศ และยังคงได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งเพื่อสานงานภายในกระทรวงอย่างต่อเนื่อง จะต้องเร่งดำเนินการอย่างจริงจังและเด็ดขาด ด้วยการปิดกั้นเว็บไซต์และบัญชีโซเชียลมีเดียที่ใช้ในการค้าบุหรี่เถื่อนอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง ทำงานร่วมกับบริษัทโซเชียลมีเดียและผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อให้มีการจัดการกับบัญชีและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการค้าบุหรี่เถื่อนอย่างจริงจัง รวมถึงชี้แจงถึงมาตรการที่ดำเนินการไปแล้ว และรายงานผลความคืบหน้าในการปราบปรามบุหรี่เถื่อนออนไลน์ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างโปร่งใส เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา การแก้ไขปัญหาบุหรี่เถื่อนเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการอย่างเป็นองค์รวม ไม่ใช่เพียงแค่การปราบปรามบุหรี่ไฟฟ้าเท่านั้น เพราะหากละเลยปัญหานี้ต่อไป ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะรุนแรงเกินกว่าที่ใครจะคาดคิด และจะกลายเป็นวิกฤตสาธารณสุขและเศรษฐกิจที่ยากจะแก้ไข ขอบคุณที่มา: https://siamrath.co.th

อ่านต่อ
...
บุหรี่เถื่อนทะลักพุ่งกว่า 28% 5 จังหวัดภาคใต้ครองแชมป์ วอนรบ.เร่งปราบ ส.ค้าบุหรี่จับตาปิดด่านเขมร เปลี่ยนวิธีขน
ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อน

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม สมาคมการค้ายาสูบไทย เปิดเผยตัวเลขบุหรี่ผิดกฎหมายในประเทศไทยพุ่งสูงถึง 28.1% สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ภาคใต้ 5 จังหวัดยังครองแชมป์บุหรี่เถื่อนสูงสุด เรียกร้องรัฐบาลดำเนินมาตรการแข็งกร้าว เช่นเดียวกับที่ปราบบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อช่วยเหลือร้านค้าโชห่วยภาคใต้ กรุงเทพฯ ปริมณฑล ชาวไร่ยาสูบในภาคเหนือและภาคอีสานซึ่งอยู่ต้นน้ำ และทวงคืนเงินภาษีที่หายไป ทั้งนี้จากการสำรวจซองบุหรี่เปล่าของอุตสาหกรรมยาสูบ พบว่า อัตราการบริโภคบุหรี่ผิดกฎหมายของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2568 อยู่ที่ 28.1% เพิ่มขึ้น 2.7% จากการสำรวจครั้งก่อนที่ 25.4% คิดเป็นมูลค่าความเสียหายต่อเศรษฐกิจรวมประมาณ 30,000 ล้านบาท จังหวัดที่มีความชุกชุมของบุหรี่ผิดกฎหมายมากที่สุดยังอยู่ในภาคใต้ตอนล่าง โดยพบมากที่สุดในจังหวัด สตูล (94.4%) สงขลา (90.8%) พัทลุง (82.3%) ภูเก็ต (73.3%) และนครศรีธรรมราช (61.1%) อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่พื้นที่ชายแดนเท่านั้น เพราะแม้แต่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เช่น นนทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงและพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ ยังคงติดอยู่ใน 10 อันดับแรกของจังหวัดที่มีการบริโภคบุหรี่ผิดกฎหมายสูงสุดต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 แม้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2568 กรมสรรพสามิตจะปราบปรามผู้กระทำผิดได้มากขึ้น นางสาวธัญญศรัณ แสงทอง ผู้อำนวยการบริหารสมาคมการค้ายาสูบไทย กล่าวว่า สิ่งที่น่ากังวลอีกคือ การสำรวจครั้งนี้พบบุหรี่เถื่อนจากประเทศกัมพูชาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งบุหรี่เหล่านี้มีต้นทุนต่ำ เมื่อถูกลักลอบนำเข้ามาขายในราคาถูก ก็ทำให้ร้านค้าถูกกฎหมายสู้ไม่ได้ เพราะบุหรี่เถื่อนสามารถทำได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแบ่งขาย โฆษณา ลดราคา หรือสั่งออนไลน์และส่งพัสดุตรงถึงบ้าน ผิดกับร้านค้าที่มีต้นทุนตั้งแต่การขอใบอนุญาตขายบุหรี่อย่างถูกต้องในทุกๆ ปี   “สัดส่วนการบริโภคบุหรี่เถื่อน 28.1% นี้ คิดเป็นปริมาณบุหรี่ประมาณ 8,000 ล้านมวน มีมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจประมาณ 30,000 ล้านบาท ที่สูญหายไปกับการขาดรายได้ของชาวไร่ยาสูบมากกว่า 260 ล้านบาท รายได้ภาษีสรรพสามิตและภาษีอื่นๆ เกือบ 25,000 ล้านบาท และการขาดรายได้ของร้านค้ายาสูบที่ถูกกฎหมายอีกประมาณ 2,300 ล้านบาท” น.ส.ธัญญศรัณกล่าวว่า สมาคมการค้ายาสูบไทยตั้งข้อสังเกตว่า ต้องจับตาดูผลกระทบของการปิดชายแดนกัมพูชาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากบุหรี่เถื่อนเหล่านี้มักถูกขนส่งเข้ามาผ่านจุดผ่อนปรน ช่องทางธรรมชาติทั้งทางบกและทางทะเลตลอดแนวชายแดน จันทบุรี ตราด และสระแก้ว แล้วส่งผ่านไปรษณีย์ไทยหรือขนส่งเอกชนกระจายไปทั่วประเทศ การปิดชายแดนอาจทำให้ขบวนการลักลอบปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อลักลอบนำสินค้าเข้าสู่ประเทศ” “สมาคมขอเรียกร้องให้รัฐบาลสั่งการปราบปรามบุหรี่เถื่อนอย่างเด็ดขาดและจริงจัง เพื่อช่วยปกป้องผู้ค้าที่ทำถูกกฎหมายกว่า 400,000 รายทั่วประเทศที่เป็นของไทย โดยมีผลงานที่เป็นรูปธรรม เนื่องจากเป็นอาชญากรรมข้ามชาติที่กระทบต่อพี่น้องประชาชนแต่ยังไม่ได้รับความสนใจจากรัฐบาล ทำให้ผู้กระทำผิดไม่เกรงกลัวต่อการบังคับใช้กฎหมาย เพราะตัวเลขที่ออกมาบอกชัดเจนว่าปัญหาถึงจุดวิกฤตแล้ว และเรารอต่อไปไม่ได้”   ขอบคุณที่มา https://www.matichon.co.th/

อ่านต่อ
...
สรรพสามิตบุกจับร้านจำหน่ายบุหรี่เถื่อนในจังหวัดชลบุรี พบของกลางกว่า 26,000 ซอง ประมาณการค่าปรับกว่า 19 ล้านบาท พร้อมเผยผลปราบปรามรอบ 8 เดือน ปีงบประมาณ 2568
ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อน

กรมสรรพสามิตจับร้านจำหน่ายบุหรี่เถื่อน จ.ชลบุรี ยึดของกลางกว่า 26,000 ซอง คิดเป็นค่าปรับกว่า 19 ลบ. พร้อมเผยผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 รอบ 8 เดือน พบคดีบุหรี่เถื่อนเพิ่มสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 31 กรมสรรพสามิต โดยสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ชลบุรี 1 เดินหน้าปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายภาษีสรรพสามิต ภายใต้นโยบาย “Zero Tolerance : สินค้าหลีกเลี่ยงภาษีสรรพสามิตต้องเป็นศูนย์” บุกจับร้านจำหน่ายบุหรี่เถื่อนในจังหวัดชลบุรี ยึดของกลางกว่า 26,000 ซอง คิดเป็นค่าปรับกว่า 19 ล้านบาท พร้อมเผยผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รอบ 8 เดือน (1 ตุลาคม 2567 – 31 พฤษภาคม 2568) พบคดีบุหรี่เถื่อนเพิ่มสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 31.03        ดร.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2568 เจ้าหน้าที่สรรพสามิต สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ชลบุรี 1 ได้รับแจ้งเบาะแสว่ามีร้านค้าลักลอบขายส่งบุหรี่ที่ไม่ได้เสียภาษีสรรพสามิต ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี โดยมีการจัดส่งสินค้าผ่านบริษัทขนส่งเอกชนไปทั่วประเทศเจ้าหน้าที่จึงได้ลงพื้นที่ตรวจสอบพบร้านค้าแห่งหนึ่งมีพฤติการณ์ต้องสงสัยมีการจัดเตรียมและบรรจุกล่องพัสดุจำนวนมาก เจ้าหน้าที่จึงวางแผนล่อซื้อโดยแฝงตัวเข้าใช้บริการภายในร้านดังกล่าว พบผู้ต้องหากำลังทำการบรรจุพัสดุเพื่อเตรียมส่งให้ผู้ซื้อ ตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าเป็นบุหรี่ที่ไม่ได้เสียภาษีสรรพสามิต เจ้าหน้าที่จึงแสดงตัวพร้อมแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 จากการตรวจสอบภายในร้านพบกล่องพัสดุต้องสงสัยจำนวนมากภายในบรรจุบุหรี่ซิกาแรตที่ไม่ได้เสียภาษีรวมทั้งสิ้น 26,360 ซอง คิดเป็นค่าภาษีสรรพสามิต เป็นเงินจำนวน 1,279,850.86 บาท ประมาณการค่าปรับเป็นเงินจำนวน 19,197,762.90 บาท ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้แจ้งข้อกล่าวหาว่า "มีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าที่มิได้เสียภาษี" ตามมาตรา 204 และ "มีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้าที่มิได้เสียภาษี" ตามมาตรา 203 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 โดยได้ดำเนินการส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเสม็ด จังหวัดชลบุรี เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป        ดร. กุลยาฯ กล่าวต่อว่ากรมสรรพสามิตดำเนินงานภายใต้นโยบาย “Zero Tolerance : สินค้าหลีกเลี่ยงภาษีสรรพสามิตต้องเป็นศูนย์” ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญที่มุ่งเน้นการป้องกันและปราบปรามการลักลอบจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้เสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยได้ยกระดับการทำงานเชิงรุกในทุกมิติ ทั้งการปราบปรามและสืบค้น นำเทคโนโลยีมาใช้ในการตรวจสอบการกระทำผิดผ่านศูนย์ปราบปรามสินค้าออนไลน์ของกรมสรรพสามิต รวมถึงยังได้ผนึกกำลังกับหน่วยงานภายนอกเพื่อปราบปรามและจับกุมขบวนการผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 อย่างต่อเนื่อง ผลจากการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว ส่งผลให้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2568 (1 ตุลาคม 2567 – 31 พฤษภาคม 2568) กรมสรรพสามิตสามารถปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายได้รวมทั้งสิ้น 24,550 คดี เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.29  คิดเป็นค่าปรับ 568.98 ล้านบาท และประมาณการค่าปรับ 3,749.81 ล้านบาท แบ่งเป็น1. ยาสูบ จำนวน 10,966 คดี จำนวนของกลาง แบ่งเป็นยาสูบในประเทศ 382,680 ซอง และยาสูบต่างประเทศ 3,024,554 ซอง2. สุรา จำนวน 10,585 คดี จำนวนของกลาง แบ่งเป็นสุราในประเทศ 70,990.098 ลิตร และสุราต่างประเทศ 21,893.882 ลิตร3. น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 986 คดี จำนวนของกลาง 959,671.700 ลิตร4. รถจักรยานยนต์ จำนวน 846 คดี จำนวนของกลาง 3,661 คัน 5. ไพ่ จำนวน 392 คดี จำนวนของกลาง 19,119 สำรับ 6. เครื่องหอมและเครื่องสำอาง จำนวน 193 คดี จำนวนของกลาง 124,728 ขวด7. รถยนต์ จำนวน 187 คดี จำนวนของกลาง 951 คัน8. แบตเตอรี่ จำนวน 177 คดี จำนวนของกลาง 409,808 ก้อน9. เครื่องดื่ม จำนวน 141 คดี ของกลาง 56,324.092 ลิตร10. สินค้าอื่น ๆ จำนวน 77 คดีดร. กุลยาฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า กรมสรรพสามิตจะเดินหน้าในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้เสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง เพื่อขจัดปัญหาสินค้าหลีกเลี่ยงภาษีสรรพสามิต ภายใต้นโยบาย “Zero Tolerance : สินค้าหลีกเลี่ยงภาษีสรรพสามิตต้องเป็นศูนย์” เพื่อสร้างความเป็นธรรมทางภาษี และคุ้มครองประโยชน์ของรัฐ พร้อมทั้งขอความร่วมมือจากประชาชนและทุกภาคส่วนร่วมแจ้งเบาะแสการกระทำผิดเกี่ยวกับสินค้าที่ไม่ได้เสียภาษีสรรพสามิต สามารถแจ้งข้อมูลได้ที่กรมสรรพสามิต สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ทั่วประเทศ หรือโทรสายด่วน 1713 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือทางเว็บไซต์ www.excise.go.th โดยกรมสรรพสามิตจะเก็บรักษาข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสเป็นความลับ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าวบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไป ขอบคุณที่มา: https://www.thaigov.go.th/

อ่านต่อ
...
ยึดบุหรี่เถื่อนลักลอบขนจากประเทศเพื่อนบ้าน
ผลกระทบจากบุหรี่เถื่อน

การปราบปรามบุหรี่เถื่อนตามนโยบาย Zero Tolerance : สินค้าหลีกเลี่ยงภาษีสรรพสามิตต้องเป็นศูนย์”จับกุม ปราบปราม อย่างจริงจัง เป็นอีกนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล โดยกระทรวงการคลัง ที่บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการตรวจสอบเส้นทางการขนส่งสินค้า ล่าสุดตำรวจน้ำจังหวัดตราด ตรวจยึดบุหรี่ลักลอบขนข้ามแนวเทือกเขาบรรทัดจากประเทศเพื่อนบ้าน มูลค่าความเสียหายกว่า 3 ล้านบาท เร่งขยายผลหาตัวผู้ร่วมขบวนการ

อ่านต่อ

สมัครสมาชิก

สำหรับผู้ประกอบกิจการการค้าผลิตภัณฑ์ยาสูบ และ หรือวิสาหกิจ ในทางการค้าอื่นที่เกี่ยวข้องกับการค้า ผลิตภัณฑ์ยาสูบโดยตรง อัตราค่าลงทะเบียนแรกเข้า 200 บาท และค่าบำรุงสมาคม 100 บาท / 2 ปี (ปีละ 50 บาท เก็บทุกๆ สองปี)

สมาชิกประเภทวิสามัญ สำหรับผู้มีความสนใจหรือมีความรู้เกี่ยวกับยาสูบหรือ ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือ ผู้ประกอบวิสาหกิจในทางการค้า อุตสาหกรรม หรือการเงิน การขนส่งยาสูบ หรือผลิตภัณฑ์ยาสูบ หรือธุรกิจใดๆ อันเกี่ยวเนื่องกับยาสูบ หรือ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ อัตราค่าลงทะเบียนแรกเข้า 1,000 บาท และค่าบำรุงสมาคม 1,000 ต่อปี

แจ้งเบาะแสบุหรี่ผิดกฎหมาย

พบเห็นการซื้อขายบุหรี่ผิดกฎหมาย สามารถแจ้งผ่านช่องทางออนไลน์ของทางสมาคม และสมาคมจะนำข้อมูลเหล่านี้ยื่นต่อหน่อยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ผู้ที่แจ้งเบาะแสสามารถติดตามผลการแจ้งได้โดยใส่รหัสอ้างอิงที่ได้รับ

แจ้ง
เบาะแส